รู้จักกับ “รางน้ำฝน” เลือกแบบไหนให้เหมาะกับบ้าน

รางน้ำฝน อีกหนึ่งส่วนสำคัญหลักของบ้านทุกหลัง ที่จะทำให้บ้านของคุณ สามารถรับมือกับน้ำฝนที่ตกลงมาได้ดีมากขึ้น ซึ่งรางน้ำฝน หรือ รางน้ำ ที่ไว้รองรับฝน มีหลายประเภท KACHA จะพาไปดู วิธีเลือกรางน้ำฝน ให้เหมาะกับบ้านคุณ และวิธีการดูแลรักษา เพื่อให้พร้อมรับมือในช่วงหน้าฝน หรือช่วงฝนตกหนักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตามไปดูกันดีกว่า

ประเภทของ รางน้ำฝน มีอะไรบ้าง?

มารู้จักประเภทของรางน้ำฝนที่นิยมใช้กันว่า แต่ละประเภทมีความเหมาะสมกับที่เราจะเลือกใช้กันอย่างไร โดยแบ่งประเภทของรางน้ำฝนตามวัสดุที่ใช้ผลิต มีอยู่ 5 ประเภท คือ

  • รางน้ำสังกะสี เป็นเหล็กแผ่นเคลือบผิวสังกะสี การใช้งานจะตัดและพับขึ้นรูปได้ตามรูปแบบและขนาดที่ ต้องการ เชื่อมต่อด้วยตะกั่ว ติดตั้งง่าย และราคาไม่แพง แต่ จะผุง่าย และเป็นสนิมโดยเฉพาะบริเวณรอยต่อรอยเชื่อม
210515-Content-รางน้ำฝนเลือกแบบไหนให้เหมาะกับบ้าน02-edit
  • รางน้ำอะลูมิเนียม เป็นเหล็กแผ่นเคลือบผิวอลูซิงค์ หรือกัลวาไนซ์แล้วพ่นสีทับ การใช้งานจะตัดพับขึ้นรูป และต่อด้วยแคล้มรัด ซีลยาง ต่อการกัดกร่อนสูง มีน้ำหนักเบา ราคาสูงกว่าสังกะสี
  • รางน้ำสเตนเลส ส่วนมากจะเป็นสเตนเลสเกรด 304 พับขึ้นรูปเช่นเดียวกับสังกะสี การใช้งานจะเชื่อมต่อด้วยตะกั่ว หรืออาร์กอน เป็นรางน้ำที่มีความทนทานสูง ไม่เป็นสนิม อายุการใช้งานนาน แต่เป็นสนิมโดยเฉพาะบริเวณรอยต่อรอยเชื่อม และราคาสูงเมื่อเทียบกับรางน้ำประเภทอื่น
210515-Content-รางน้ำฝนเลือกแบบไหนให้เหมาะกับบ้าน03-edit
  • รางน้ำไวนิล ผลิตมาจากโพลีเมอร์สังเคราะห์ เป็นรางน้ำสำเร็จรูป ติดตั้งง่าย รวดเร็วมีความแข็งแรง ไม่เป็นสนิม ไม่ลามไฟ ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี การใช้งานจะเชื่อมต่อด้วยกาว หรือซิลิโคน แต่การติดตั้งต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญ
210515-Content-รางน้ำฝนเลือกแบบไหนให้เหมาะกับบ้าน04-edit
  • รางน้ำไฟเบอร์กลาส ผลิตมาจากไฟเบอร์กลาส เป็นรางน้ำสำเร็จรูป นิยมติดตั้งกับโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี ไม่เกิดการผุกร่อน หรือเป็นสนิม การใช้งานจะเชื่อมต่อด้วยน้ำยาเชื่อมไฟเบอร์ แต่การติดตั้งต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญ ใยไฟเบอร์เป็นพิษต่อร่างกาย เมื่อสูดดม คันเมื่อสัมผัส จึงต้องมีการเปลี่ยนทันทีที่สีร่อน ผุ กรอบ แตก

ประโยขน์ของรางน้ำฝน

รางน้ำฝนเป็นรางน้ำที่ติดอยู่รอบชายคา หน้าที่หลัก ๆ ก็คือ รองรับน้ำฝนจากหลังคาให้ไหลไปยังท่อระบายน้ำ หรือจุดที่แต่ละบ้านกำหนด หรือหากเป็นสมัยก่อนก็จะมีการกักเก็บไว้ในตุ่มเพื่อรับประทาน หรือใช้สอยเพื่อประหยัดน้ำประปา รางน้ำฝนจึงมีส่วนช่วยให้น้ำฝนไหลรวมจากรางน้ำและไหลลงสู่ด้านล่างอย่างเป็นระเบียบนั่นเอง การมีรางน้ำฝนยังมีประโยชน์กับบ้านอีกหลายด้าน ดังนี้

  1. ป้องกันสวน หรือต้นไม้ในบ้านจากน้ำฝน หากภายในบริเวณบ้านมีการปลูกสนามหญ้า หรือต้นไม้สวยงาม หากไม่มีรางน้ำฝนช่วยป้องกันน้ำที่ไหลจากหลังคา จะทำให้น้ำไหลลงสู่พื้นหญ้าและสวนต้นไม้โดยตร อาจทำให้ต้นไม้เสียหายหรือตายได้ และยังทำให้ดินกลายเป็นหลุมน้ำขังอีกด้วย
  2. ป้องกันผนังและเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านเปรอะเปื้อน หากน้ำฝนไหลลงมาจากหลังคาโดยตรง จะกระแทกโดนพื้นทำให้เศษดินกระเด็นมาโดนผนัง หรือเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านเปรอะเปื้อนได้ หากมีรางน้ำฝนก็จะแก้ปัญหาจุดนี้ได้
  3. ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้าน น้ำฝนจากหลังคาอาจกระเด็นข้ามไปรบกวนเพื่อนบ้านได้ หากไม่มีรางน้ำฝน ทำให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านภายหลังนั่นเอง แต่การติดตั้งรางน้ำฝนก็ต้องระวังไม่ให้ล้ำเขตไปยังพื้นที่เพื่อนบ้าน หรือจุดที่ปล่อยน้ำด้านล่างจะไปรบกวนเพื่อนบ้านด้วย

เลือกประเภทรางน้ำฝนให้เหมาะกับบ้าน

หากต้องการเลือกรางน้ำฝน เพื่อนำมาใช้งานที่บ้าน จะต้องทำการพิจารณาหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้เหมาะสมกับบ้าน และไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน รวมถึงสมาชิกให้มากที่สุด มีหลักการพิจารณาง่าย ๆ ดังนี้

  • งบประมาณเหมาะสม สิ่งแรกที่หลายคนใช้พิจารณาเป็นอันดับแรก ซึ่งรวมถึงค่ารางน้ำฝน และค่าติดตั้ง ลองสำรวจราคาจากร้านที่รับติดตั้งรางน้ำ ทั้งค่าวัสดุและค่าติดตั้งดูว่าแบบไหน ถึงเหมาะกับงบประมาณมากที่สุด
  • ความคุ้มค่า ควรพิจารณาจากวัสดุของรางน้ำฝนเป็นอันดับแรก โดยปัจจุบันมีให้เลือกหลายประเภท และหลายขนาด หากมองหาความคุ้มค่า ควรเลือกรางน้ำอะลูมิเนียม ซึ่งมีอายุการใช้งานนานกว่ารางน้ำฝนประเภทอื่น
  • ขนาดพื้นที่หลังคา หากหลังคามีขนาดใหญ่ ควรเลือกขนาดรางน้ำให้เหมาะสม โดยปัจจุบันขนาดรางน้ำมีให้เลือกทั้งขนาด 4, 5 และ 6 นิ้ว หากหลังคาขนาดใหญ่ควรเลือกขนาด 5 นิ้วขึ้นไป และหากหลังคามีความยาวมาก ควรเพิ่มรูระบายน้ำหลาย ๆ จุด เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้ทัน
  • การติดตั้ง โดยปกติรางน้ำฝน จะติดตั้งกับเชิงชาย หรือไม้ปีกนก โดยการใช้ตะปู หรือน็อต หรือรางน้ำบางประเภท เช่น รางน้ำฝนสังกะสี จะใช้การแขวนกับจันทัน การติดตั้งรางน้ำหากเป็นการติดตั้งบริเวณหลังคาโรงจอดรถ หรือหลังคาครัวไทยหลังบ้าน หากอุปกรณ์ครบก็สามารถติดตั้งเองได้ แต่หากเป็นบ้านเดี่ยว หรือทาวน์โฮม 2 ชั้น ควรใช้บริการช่างจะดีกว่า เพราะบางวัสดุ เช่น รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาสต้องใช้ช่างเฉพาะทางมาติดตั้ง
  • ความสวยงาม หากต้องการเลือกรางน้ำฝนที่เข้ากับสีสันของหลังคา หรือตัวบ้าน ควรเลือกรางน้ำฝนที่มีสีให้เลือกหลายสี เช่น รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส หรือรางน้ำฝนอะลูมิเนียม แทนรางน้ำฝนสังกะสี

วิธีการติดตั้งรางน้ำฝนที่ถูกต้อง

วิธีการติดตั้งรางน้ำฝนแต่ละประเภทจะมีการติดตั้งที่ต่างกันออกไป โดยวิธีการติดตั้งรางน้ำฝนเบื้องต้น มีดังนี้

  • สำรวจพื้นที่ที่จะติดตั้งรางน้ำฝน เช็กความแข็งแรงของบริเวณเชิงชาย หรือปีกนกที่จะติดรางน้ำ หากมีการรื้อรางน้ำเก่าออกก่อน ระวังอย่าให้กระทบกับโครงสร้างหลังคา
  • วัดระดับน้ำระหว่างหัวท้ายของรางน้ำ เพื่อวัดความลาดเอียงของรางน้ำ จากนั้นทำการตีเต๊าหรือเชือกตีแนว เพื่อสร้างแนวเส้นที่จะติดตั้งรางน้ำ
  • ติดตั้งตะขอแขวนราง ตามระยะที่เหมาะสมกับประเภทรางน้ำ ซึ่งแต่ละประเภทมีระยที่เหมาะสมไม่เท่ากัน โดยทั่วไปจะเว้นระยะห่างประมาณ 60-80 เซนติเมตร หากเป็นรางน้ำฝนไวนิลจะต้องใช้ซิลิโคนในการช่วยเชื่อมระหว่างรอยต่อ
  • ติดตั้งรางน้ำฝนกับผนังหรือเสาด้วยตัวยึด
  • เช็กการทำงานของรางน้ำฝน ด้วยการทดลองฉีดน้ำบนหลังคา หากน้ำไหลเป็นปกติก็เป็นอันเรียบร้อย
210515-Content-รางน้ำฝนเลือกแบบไหนให้เหมาะกับบ้าน06

วิธีการบำรุงรักษารางน้ำฝน

การรักษารางน้ำฝน หรือ รางน้ำให้ใช้งานได้ดีตลอดเวลา สำหรับวิธีการบำรุงรักษาให้ยังคงสภาพการใช้งานที่ดีอยู่นั้นทำได้ไม่ยาก มีวิธีการ ดังนี้

  • หมั่นตรวจสอบการทำงานของรางน้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีฝนตก หรืออาจทดลองฉีดน้ำบนหลังคา แล้วสังเกตว่ามีการรั่ว หรือซึมที่ส่วนไหนของรางน้ำฝนหรือไม่ เพื่อดำเนินซ่อมแซม ก่อนช่วงที่ฝนตกหนัก สังเกตตะขอแขวนรางว่ายังคงมั่นอยู่หรือไม่ หากน้ำฝนปริมาณมาก จะได้ไม่มีปัญหารางน้ำหล่นมาพังเสียหาย
  • ทำความสะอาดรางน้ำฝนเป็นประจำ ปัญหาที่มักพบกับรางน้ำฝน คือ หลังจากห่างหายจากหน้าฝนมาสักระยะเจ้าของบ้าน หรือผู้อยู่อาศัยมักหลงลืมการทำความสะอาดรางน้ำ ทำให้มีเศษใบไม้หรือเศษต่าง ๆ ตกค้างอยู่ในรางน้ำ ทำให้เกิดการอุดตัน หรือหากเศษต่าง ๆ มีน้ำหนักมากเกินไปอาจทำให้รางน้ำพังเสียหายได้

ค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการติดตั้งรางน้ำฝนแต่ละประเภท

สำหรับรางน้ำฝนแต่ละแบบนั้น มีราคาที่ต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกันออกไปตามราคาค่าติดตั้ง หรือเกรดวัสดุ โดยมีข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้

  • รางน้ำฝนไวนิล ความยาวมากกว่า 20 เมตร ราคาประมาณ 750 บาทต่อเมตร
  • รางน้ำฝนสแตนเลส ขนาด 6 นิ้ว ความยาวมากกว่า 20 เมตร ราคาประมาณ 1,000 บาทต่อเมตร
  • รางน้ำฝนอลูมิเนียม ราคาประมาณ 1,000 บาทต่อเมตร
  • รางน้ำฝนแบบสังกะสี ราคาประมาณ 300 บาทต่อเมตร
  • รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส ราคาประมาณ 800 บาทต่อเมตร

เห็นกันใช่แล้วไหมว่า รางน้ำฝนถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้บ้านของคุณมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และป้องกันปัญหาต่าง ๆ นานาที่อาจเกิดขึ้นกับเม็ดฝนเม็ดเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายของต้นไม้ สนามหญ้า หรือปัญหากับเพื่อนบ้าน ดังนั้นควรเลือกใหเหมาะสมกับบ้านของเราด้วย ????????

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย