❝ อย่างที่รู้กันว่า คอนกรีต คือ วัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก คอนกรีตประกอบด้วยส่วนผสม 2 ส่วน คือ วัสดุประสาน ได้แก่ ปูนซีเมนต์กับน้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ผสมกับวัสดุผสม ได้แก่ ทราย หิน หรือกรวด เมื่อนำมาผสมกัน จะเป็นสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง พอนำไปเทลงในแบบหล่อที่มีรูปร่างตามต้องการ หลังจากนั้น ก็จะแปรสภาพเป็นของแข็ง มีความแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้นนั่นเอง และ คอนกรีตผสมเสร็จ ที่เราเคยได้ยินนั้น คืออะไร? และใช้งานอย่างไร? ❞

บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ คอนกรีตผสมเสร็จ ให้มากขึ้นกัน ????????


คอนกรีตผสมเสร็จ คืออะไร?

คอนกรีต เป็นวัสดุก่อสร้างที่นิยมใช้กันมานานจวบจนปัจจุบัน ซึ่งในอดีตนั้น ถ้าจะใช้คอนกรีตในงานก่อสร้าง ผู้รับเหมาจะต้องเริ่มตั้งแต่การสั่งซื้อ หิน ทราย ปูนซีเมนต์ และน้ำยาผสมคอนกรีตมา แล้วจึงจัดการหาเครื่องผสมปูนและทีมงาน แต่ในปัจจุบันสะดวกขึ้นมาก เพราะใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งก็คือ คอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน และนำใส่รถ เพื่อเตรียมจัดส่งให้หน่วยงานก่อสร้าง ได้เข้ามาทดแทนการใช้คอนกรีตผสมโม่เล็กด้วย สิ่งสำคัญที่ทำให้เปลี่ยนมาใช้คอนกรีตผสมเสร็จ คือ

  1. เวลา และสถานที่ในการก่อสร้างมีขนาดที่จำกัด
  2. แรงงาน หรือทีมงานในการผสมหายากขึ้น
  3. วงการก่อสร้างมีความต้องการคอนกรีตที่มีคุณภาพสูงขึ้น
210717-Content-คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร-ก่อนใช้งานควรดูอะไรบ้าง-02


กระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เป็นอย่างไร?

การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จที่ได้มาตรฐานนั้น จะเริ่มจากการตรวจสอบคุณสมบัติของส่วนผสมต่าง ๆ ได้แก่ หิน ทราย เลือกมาจากแหล่งที่มีคุณภาพดีถูกต้องตามมาตรฐาน นำมากองและเก็บไว้ไม่ให้ผสมกัน ส่วนปูนซีเมนต์ จะถูกบรรจุไว้ในไซโลอย่างมิดชิด และน้ำยาผสมคอนกรีต จะถูกบรรจุในภาชนะพิเศษเฉพาะอย่างมิดชิดเช่นกัน วัตถุดิบทั้งหมด จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป

กระบวนการผลิตเริ่มจากการนำหิน ทราย และปูนซีเมนต์ ไปชั่งน้ำหนักโดยเครื่องชั่ง ซึ่งต้องได้น้ำหนักถูกต้องตามที่กำหนดไว้ และสิ่งสำคัญ คือ ต้องคำนึงถึงความชื้นของหิน กับทรายด้วย เพราะหินกับทราย อาจจะไม่อยู่ในสภาพที่กำหนดไว้ หรือสภาพอิ่มตัวผิวแห้ง (SSD) ซึ่งจะต้องปรับน้ำหนักหิน กับทราย และน้ำให้ถูกต้อง ในส่วนของน้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต จะนำไปวัดปริมาตร แล้วค่อยนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกันในเครื่องผสมคอนกรีต ซึ่งจะผสมคอนกรีตตามเวลาที่กำหนดด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติที่ให้ความแม่นยำ สม่ำเสมอ และรวดเร็ว คอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะถูกลำเลียงลงสู่รถผสมคอนกรีต เพื่อนำไปยังหน่วยงานก่อสร้างต่าง ๆ ต่อไปนั่นเอง


ข้อดีของคอนกรีตผสมเสร็จ

การใช้คอนกรีต ได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากคอนกรีตชนิดนี้ มีข้อดีอยู่หลายประการ ดังนี้

  • ได้คุณภาพมาตรฐานเหมือนกันทุกครั้ง

เพราะในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ จะมีการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ และขั้นตอนการผลิตที่เหมือนกันทุกครั้ง จึงทำให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

  • ประหยัดเวลา

ในการกวนคอนกรีตให้เข้ากันนั้น หากใช้แรงงานคนจะต้องเสียเวลามาก แต่หากสั่งคอนกรีตผสมเสร็จจากโรงงานมาใช้ เมื่อคอนกรีตมาถึงหน้างาน ก็สามารถใช้ได้ทันที ไม่ต้องรอให้เสียเวลา จึงช่วยลดระยะเวลาในการทำงานได้

  • ประหยัดแรงงานคน

เนื่องจากไม่ต้องใช้แรงงานในการผสมคอนกรีต จึงประหยัดแรงงานในส่วนนี้ ทำให้ลดต้นทุนในการก่อสร้างได้

  • ประหยัดค่าใช้จ่าย

การสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้ สามารถระบุจำนวนที่ต้องการใช้ให้พอดีกับพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสม จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าคอนกรีตลงได้

  • ประหยัดพื้นที่

การผสมคอนกรีตใช้เอง จำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับผสม ซึ่งพื้นที่ก่อสร้างบางแห่งไม่เพียงพอ ดังนั้น การสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้ จึงช่วยลดปัญหาพื้นที่ได้ เพราะไม่ต้องมีพื้นที่ในการผสมคอนกรีตนั่นเอง

ถึงแม้คอนกรีตผสมเสร็จ จะเป็นคอนกรีตที่ได้มาตรฐาน แต่ผู้รับเหมาเอง ต้องมีความรู้ความสามารถในการควบคุมงาน และมีความรู้ในเรื่องของคอนกรีตมากพอ เพื่อที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือเมื่อคอนกรีตเกิดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ด้วย มีทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคอนกรีตที่ถูกต้องเพื่อให้งานออกมาดี และสมบูรณ์แบบที่สุด


ตารางความแข็งแรงของคอนกรีต

ภาพ กําลังอัด (KSC) ขนาดปูน (กก./ลบ.ม.)
ลูกบาศก์ ทรง กระบอก
C14.5/18 180 140 250
C17/21 210 180 275
C19.5/24 240 210 300
C23/28 280 240 325
C25/30 300 250 335
C27/32 320 280 350
C30/35 350 300 375
C33/38 380 320 400
C35/40 400 350 420
C37/42 420 280 450
C40/45 450 400 475


ประเภทของ คอนกรีต มีอะไรบ้าง?

ประเภทของคอนกรีต สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้

  1. คอนกรีตล้วน (Plain Concrete) คือ คอนกรีตที่ไม่มีส่วนผสมอย่างอื่น มีแต่ส่วนผสมหลักอย่าง ซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำเท่านั้น
  2. คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการใช้เหล็กในไว้ระหว่างกลาง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของคอนกรีตให้มากขึ้น
  3. คอนกรีตอัดแรง (Pre-stress Concrete) คือ คอนกรีตที่ใช้เทคนิคพิเศษในการดึงลวดเข้าไป จึงได้คอนกรีตที่มีความต้านทานสูง
  4. คอนกรีตเบา (Lightweight Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการออกแบบให้มีน้ำหนักน้อยกว่าคอนกรีตทั่วไป
  5. คอนกรีตหล่อสำเร็จรูป (Precast Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการขึ้นรูปเป็นชิ้นงานที่พร้อมใช้งานจากโรงงานแล้ว สมัยก่อนหากต้องการใช้คอนกรีตในงานก่อสร้าง ช่างจะต้องนำส่วนผสมด้วยมือ หรือเครื่องผสมที่หน้างานก่อสร้าง


จะเห็นว่า คอนกรีตผสมเสร็จ เป็นนวัตกรรมของงานก่อสร้างที่ออกแบบมาได้เหมาะกับยุคสมัย และการใช้งานในปัจจุบัน ดังนั้น หากต้องการคอนกรีตที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานแล้ว การใช้คอนกรีตผสมเสร็จถือเป็นตัวเลือกที่มั่นใจได้

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<