อย่างที่เห็นกันว่าการวาง ท่อระบายน้ำ หรือ ท่อระบายน้ำคอนกรีต เป็นการฝังท่อดินเผาในอดีต หรือการฝังท่อคอนกรีต เป็นแนวในดิน ซึ่งเป็นการระบายน้ำที่เป็นการนำเอาน้ำที่เกินความต้องการ หรือน้ำส่วนเกินออกจากพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเข้าทางท่อบริเวณที่มีการวางท่อเอาไว้ เพื่อให้พื้นที่นั้น มีความสะดวกต่อการใช้งานในระยะยาวต่อไป หรือให้เหมาะสมต่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ ท่อระบายน้ำ???? ในปัจจุบัน มีการออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานในหลากหลายรูปแบบตามความต้องการใช้งาน และความสามารถในการรองรับน้ำหนักต่าง ๆ นั่นเอง
บทความนี้ KACHA ขอพาไปรู้จัก ท่อระบายน้ำ แต่ละประเภทกันดีกว่า
ลักษณะของท่อระบายน้ำ มีอะไรบ้าง?
ท่อระบายน้ำคอนกรีต มีการออกแบบอยู่ 2 รูปแบบ ทั้งแบบทรงกลม และทรงสี่เหลี่ยม ตามลักษณะการนำไปใช้งานเป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ท่อกลม
|
|
|
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
2. ท่อเหลี่ยม
ท่อเหลี่ยม หรือท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบสี่เหลี่ยม (Box Culvert) ท่อระบายน้ำรูปแบบนี้ มักถูกออกแบบมาสำหรับงานระบายน้ำในปริมาณที่มาก เน้นความแข็งแรงคงทน และรองรับน้ำหนักมากได้ดี ส่วนใหญ่ นิยมนำมาใช้กับงานระบายน้ำในพื้นที่คมนาคมตามทางเท้า หรือผิวทางจราจร เช่น ถนนทางหลวง และพื้นที่ลำคลอง
ประเภทของ ท่อระบายน้ำคอนกรีต มีอะไรบ้าง?
งานวางท่อระบายน้ำคอนกรีต ต้องคำนึงถึงประเภท และชนิดของท่อที่ใช้ให้เหมาะสมกับงานเป็นหลัก โดยประเภทของท่อระบายน้ำคอนกรีต สามารถแบ่งได้ ดังนี้
- ท่อระบายน้ำคอนกรีต ท่อคอนกรีต หรือท่อ ค.ม.ล. ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันตามการใช้งาน หรือวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ เหมาะสำหรับงานเดินท่อใต้ดิน ทั้งท่อน้ำทิ้ง และท่อส่งน้ำ โดยจะมีความแข็งแรง 2 ระดับด้วยกัน คือ Standard และ Extra strength สำหรับท่อคอนกรีต เหมาะกับงานก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร, งานสวนสาธารณะ, ลานถนนคอนกรีต และบริเวณที่มีรถวิ่งผ่านไม่มาก สำหรับท่อคอนกรีตประเภทนี้ เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ทางเดินเท้า บริเวณสวนที่ไม่มีรถวิ่งผ่าน เป็นต้น
- ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือท่อ ค.ส.ล. คือ ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมแรงรูปแบบหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักด้วยการนำเอาเหล็กมาเป็นตัวช่วย เนื่องจากเหล็ก มีความสามารถในการรับแรงดึงได้สูง ส่วนตัวคอนกรีต มีความสามารถในการรับแรงดึงต่ำ เมื่อนำคอนกรีตและเหล็กมารวมเข้าไว้ด้วยกัน จะทำให้เกิดการถ่ายแรงระหว่างกันภายใน จึงช่วยให้มีความสามารถในการรับแรง หรือน้ำหนักของวัตถุมากขึ้น หรืออธิบายง่าย ๆ คือ คอนกรีตจะทำหน้าที่รับแรงอัด ส่วนเหล็กจะช่วยเสริมแรงดึงนั่นเอง
ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ยังมีการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่า ท่อ มอก. โดยมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของวัสดุ ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ปูน, มวลผสม, เถ้าลอย, สารเพิ่มเติม, เหล็กเสริม และน้ำ เป็นต้น รวมทั้งกำหนดเกณฑ์การทำและคุณลักษณะต่าง ๆ ของท่อ เช่น ความหนา ความต้านแรงอัด เป็นต้น โดยมีเครื่องหมาย และฉลากกำกับเอาไว้ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพด้านการใช้งาน และความปลอดภัยจากการนำไปใช้ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแข็งแรงทนทาน และรองรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น งานก่อสร้างถนน หรือบริเวณที่มีรถใหญ่วิ่งผ่าน โดยสามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก 4 แบบ ตามความแข็งแรง ตามความสามารถในการรับแรงต้านทาน และแรงกดสูงสุดที่แตกต่างกันในแต่ละชั้น ได้แก่
|
|
|
|
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
เลือกท่อระบายน้ำอย่างไร? ให้เหมาะกับสถานที่
การเลือกใช้ ท่อระบายน้ำ ให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ต้องการใช้งาน ซึ่งวิศวกรจะเป็นคนที่คำนวณให้ และจะต้องใช้จำนวนมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่โดยรอบ เนื่องจากบริเวณสำหรับตั้งบ่อพัก ที่ใช้ควบคู่กับท่อระบายน้ำนั้น มักตั้งชิดกับรั้ว หรือริมเขตพื้นที่ และติดตั้งในบริเวณที่มีการหักฉาก หักมุมต่าง ๆ รวมถึงติดตั้งบ่อพักใกล้ ๆ กับตัวบ้านอีก 1 บ่อ ซึ่งนิยมตั้งห่าง ๆ กันในระยะไม่เกิน 6-8 เมตร เพื่อจะทำความสะอาดได้ง่าย และเป็นช่วงที่พอดีกับความยาวมาตรฐานของท่อระบายน้ำ ซึ่งถ้าวางบ่อพักมีระยะห่างเกินไป เมื่อมีปริมาณน้ำมาก น้ำจะไม่สามารถไหลได้ทัน อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้
การวางท่อระบายน้ำที่ดีนั้น จะต้องวาดให้ตัวท่อมีความลาดเอียง โดยให้ทุก ๆ ความยาวของท่อขนาด 2 เมตร จะมีความต่างระหว่างปากท่อ และปลายท่อ ต่ำลง 1 ซม. เสมอ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เหมาะสำหรับการไหลของน้ำทิ้ง ปัจจุบันมีท่อระบายน้ำหลากหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 ซม., 40 ซม., 60 ซม., 80 ซม., 100 ซม. ไปจนถึง 120 ซม. โดยใช้งานร่วมกับบ่อพักคอนกรีต ที่จะต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมต่อการใช้งาน และพอดีกัน เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ
การออกแบบระบบท่อไม่ใช่แค่การกำหนดขนาดท่อให้เหมาะสมเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบด้านอื่นด้วย เช่น ท่อต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอในการส่งผ่านของเหลวไปด้วยความดันที่ไม่ต้องสูญเสีย ในขณะที่ต้องไม่ใหญ่จนทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป ท่อมีมาตรฐานหรือไม่ อุปกรณ์เสริมท่อต้องเป็นแบบไหน การกำหนดแนว หรือเส้นทางวางท่อเป็นอย่างไร และมีวิธีการติดตั้งที่เหมาะสมกับแผนงาน หรือโครงที่ออกแบบไว้หรือไม่ ที่สำคัญควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยรอบด้วย