เครื่องมือวัด สำหรับงานช่าง งานอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง?

เครื่องมือวัด หรืออุปกรณ์การวัดประเภทต่าง ๆ สำหรับใช้ในการวัด เพื่อบ่งชี้บอกระยะ ขนาดในการกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ เรียกได้ว่า เป็นเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในงานอุตสาหกรรม หรืองานที่เกี่ยวช้อง เพื่อช่วยให้ทำงานสะดวกยิ่งขึ้น วันนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับเครื่องมือวัด กันให้มากขึ้นกัน จะมีกี่ประเภท? มีอะไรบ้าง? ตามไปดูกันเลย

เครื่องมือวัดพื้นฐาน มีอะไรบ้าง?

เครื่องมือวัด ในภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัด ที่มีความถูกต้อง และมีความเที่ยงตรง เมื่อนำไปใช้งาน ค่าที่ต้องการ หรือค่าที่แสดงออกมา เป็นตัวเลข บนเครื่องมือวัด จะต้องมีความเชื่อถือได้

210921-Content-เครื่องมือวัดสำหรับงานช่าง-งานอุตสาหกรรม-มีอะไรบ้าง02

ในปัจจุบัน เครื่องมือวัด ถูกพัฒนาให้มีการแสดงค่าโดยใช้สเกล และมีเข็มชี้ เรียกว่า เครื่องวัดระบบอนาล็อก และได้ถูกพัฒนาต่อ จนกลายมาเป็นค่าระบบตัวเลข บนหน้าจอระบบดิจิทัล นั่นเอง

เลือกซื้อเครื่องมือวัดอย่างไร? ให้เหมาะสมกับงาน

สำหรับการเลือกซื้อเครื่องมือวัดโดยพื้นฐานแล้ว ต้องคำนึงถึงการใช้งานก่อน  เครื่องมือวัดชนิดใด เหมาะกับงานของคุณบ้าง ดังนี้

  • ลักษณะของงานที่ต้องการวัด ผู้ใช้งานต้องระบุลักษณะของงานให้ได้ว่าจะใช้กับงานประเภทไหน ลักษณะงานเป็นอย่างไร เมื่อรู้ลักษณะหน้างานแล้ว จะสามารถเลือกเครื่องมือง่ายขึ้น
  • ลักษณะตัวเครื่อง ผู้ใช้งานต้องรู้ว่า ต้องการใช้งานแบบไหน เช่น แบบพกพาได้ หรือแบบตั้งโต๊ะ
  • ช่วงการวัด ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากเราเลือกลักษณะของงานที่ต้องการวัด และลักษณะตัวเครื่องถูกต้องแล้ว หากเลือกช่วงการวัดที่ไม่ครอบคลุมการใช้งาน เครื่องมือนั้น ๆ ก็ไม่สามารถใช้งานได้ ควรเลือกช่วงการวัดเหมาะสมโดยควรเผื่อช่วงที่ใช้งาน เพราะเครื่องมือวัด ในแต่ละรุ่น ที่วัดค่าในพารามิเตอร์เดียวกัน แต่อาจจะมีช่วงการวัดที่ต่างกัน
  • ความละเอียดในการวัด จะคล้องจองกับค่าที่แสดงบนหน้าจอ ผู้ใช้งานควรเลือกค่าความละเอียดที่ต้องการ ซึ่งค่ายิ่งละเอียดน้อย ๆ จะยิ่งเป็นค่าที่ดีสำหรับการนำผลไปวิเคราะห์ เพื่อใช้งานต่อไป
  • ค่าความแม่นยำในการวัด ความแม่นยำในการวัด หรือค่าความผิดพลาด ที่อาจจะเกิดขึ้นของเครื่องมือวัด ผู้ใช้งานควรเลือกเครื่องที่มีความแม่นยำดีที่สุด หรือความแม่นยำอยู่ในเกณฑ์ที่ลูกค้าสามารถรับได้ เพื่อให้ได้ผลการวัดที่ถูกต้องที่สุด
  • ใบรับรองคุณภาพสินค้า และความปลอดภัย จะต้องมีใบรับรองมาจากโรงงานผู้ผลิต เพื่อยืนยันคุณภาพของเครื่องมือนั้น ๆ ควรเลือกสินค้าที่มีการรับรองจากผู้ผลิต หรือสินค้าที่ผ่านมาตรฐาน เพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดจากความผิดพลาดของตัวอุปกรณ์ด้วย

แนะนำ 7 เครื่องมือวัดพื้นฐาน ที่ควรมีในภาคอุตสาหกรรม

  • ฟีลเลอร์เกจ

ใช้ในงานยนต์ เป็นเครื่องมือช่างวัดความหนาของช่องว่างต่าง ๆ เช่น ระยะห่างของวาล์วไอดี เเละไอเสีย วัดได้อย่างละเอียด มีทั้งการวัดเป็นเเบบนิ้ว เเละมิลลิเมตร

210921-Content-เครื่องมือวัด03-1
  • ตลับเมตร

ตลับเมตร ใช้ในการวัดขนาด เเละระยะ ได้สะดวก และแม่นยำ สเกลบนสายวัด มีคุณสมบัติที่สามารถใช้บ่งบอกขนาดความกว้าง ความยาว ความสูง หรือความหนา ให้เป็นหน่วยวัดได้ทั้ง 2 ระบบ ได้แก่ ระบบเมตริก คือ มิลลิเมตร เซนติเมต, เมตร และระบบอิมพีเรียล คือ นิ้ว ฟุต ส่วนใหญ่ใช้งานงานก่อสร้างบ้าน โครงการ เเละใช้วัดสำหรับงานทั่วไป

210921-Content-เครื่องมือวัด03-2
  • ไมโครมิเตอร์

เป็นเครื่องมือวัดความละเอียด มี 2 ชนิด ได้แก่ ไมโครมิเตอร์ ระบบสเกล และไมโครมิเตอร์ ระบบดิจิทัล วัดได้ทั้งความกว้าง ยาว ความหนาของวัตถุ ที่มีขนาดเล็ก และต้องการความละเอียดสูง โดยเคลื่อนที่ตามเส้นรอบวงของเกลียว แล้วแสดงผลจากระยะที่เคลื่อนไปได้ ออกมาเป็นตัวเลขของขนาดวัตถุ ที่ทำการวัดนั่นเอง

210921-Content-เครื่องมือวัด03
  • คาลิปเปอร์

เป็นเครื่องมือวัดพื้นฐาน มี 3 ชนิด ได้แก่ เวอร์เนียคาลิปเปอร์, ไดอัลคาลิปเปอร์ และดิจิทัลคาลิปเปอร์ ใช้สำหรับวัดขนาดทางด้านมิติ ที่ให้ความละเอียดในการวัด เป็นค่าตัวเลข ออกมาเป็นหน่วยมิลลิเมตร และนิ้ว ทำความรู้จักกับ เวอร์เนีย คาลิปเปอร์ คืออะไร? ใช้งานอย่างไร? ได้ที่นี่

  • ไฮเกจ

เป็นเครื่องมือวัดขนาดความสูง สำหรับงานร่างแบบ ก่อนทำการผลิตจริง มี 3 ชนิด ได้แก่ เวอร์เนียไฮเกจ, ไดอัลไฮเกจ และดิจิทัลไฮเกจ โดยที่ผู้ทำการวัด สามารถขีดรอย เพื่อกำหนดระยะ ขนาด ความสูง บนผิวงานได้ด้วยเหล็กบาก

210921-Content-เครื่องมือวัด05
  • ไดอัลเกจ

เป็นเครื่องมือวัด ที่มีหน้าปัดคล้ายนาฬิกา แสดงค่าการวัด จากการเคลื่อนที่ของเข็ม เมื่อวางหัวสัมผัสของเครื่องวัดบนวัตถุ ที่อยู่บนหน้าปัด มีอยู่ 2 ชนิด คือ ไดอัลเกจ ระบบสเกลอนาล็อก และไดอัลเกจ ระบบดิจิทัล ใช้สำหรับวัดความเป็นระนาบ ความขนาน และระยะเยื้องศูนย์

210921-Content-เครื่องมือวัด06Edited
  • ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์

มักใช้ในงานงานวัดแบบเปรียบเทียบพื้นที่แคบ มีหัวสัมผัสวัด และแกนวัด ลักษณะคานยื่นออกมาจากชุดนาฬิกาวัด เพื่อทำการวัด ตรวจสอบ มีค่าความละเอียด และความถูกต้องสูง เหมาะกับงาน ตรวจสอบความเรียบ ความขนาน ความเยื้องศูนย์ และวัดขนาด

210921-Content-เครื่องมือวัด07Edited

จบไปแล้วกับ เครื่องมือวัด ต่าง ๆ ที่เรานำมาฝากกัน คุณสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ การเลือกใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน ควรคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับของเครื่องมือวัด ที่ให้ผลลัพธ์การวัดที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้ด้วย

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก sumipol.com, toolwalks.com, legatool.com