พียูโฟม คืออะไร?
โพลียูริเทนโฟม (Polyurethane Foam ) หรือ พียูโฟม (P.U. Foam) เป็นสารเคมีโพลียูริเทนชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะของเนื้อโพลิเมอร์ไม่แน่น ผลิตจากโพลิอีเทอร์ และไดไอโซไซยาเนต โดยมีน้ำ และแคตทาลิสต์ เช่น แอมีน และออร์แกโนทิน ทำให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น และแทรกอยู่ในเนื้อของโพลิเมอร์ระหว่างโพลิเมอไรเซชัน บางครั้งใช้แก๊ส หรือวัสดุระเหยง่ายชนิดอื่นเป็นโบลอิงเอเจนต์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เฟล็กซิเบิลโฟม และริจิดโฟม
|
|
คุณสมบัติของฉนวน พียูโฟม
1. ฉนวน PU FOAM ป้องกันความร้อน-เย็น (Most Efficient)
สามารถลดการแผ่รังสี และการนำความร้อนได้มากกว่า 95 % ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนที่ต่ำที่สุด รองจากสูญญากาศ (K Factor = 0.017-0.023 W/mk) หรือค่าต้านทานความร้อนสูงสุด (R-Value7.296Btu. /f2 /h. 0F) ใช้เป็นฉนวนได้เป็นอย่างดีในงานที่มีช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ -85 0C ถึง 100 0C
2. ฉนวน PU FOAM ลดเสียงดัง กั้นเสียงเข้า- ออก (Noise Inhibiting)
มีโครงสร้างของเนื้อโฟมแบบ Closed Cells จึงสามารถ ดูดซับเสียง ป้องกันเสียงรบกวน เสียงก้อง หรือเสียงทะลุทะลวง ผ่านจากภายในสู่ภายนอก หรือจากภายนอกเข้าสู่ภายใน ได้เป็นอย่างดี หรือปัญหาเสียงดังจากหลังคาที่มุงด้วยสังกะสี หรือเหล็ก Metal Sheet หรืองานห้องสตูดิโอ สถานบันเทิงต่าง ๆ
3. ฉนวน PU FOAM ทนต่อกรดและด่าง (Acid & Base Resistant)
จึงป้องกันการกัดกร่อน หรือการเกิดสนิมที่ผิวหลังคา หรือผนัง ที่เกิดจากไอกรดลอยไปตกกระทบได้ หรือสารเคมีจากภายนอกที่ลอยมากับลมและฝน
4. ฉนวน PU FOAM ไม่ลามไฟ (Fire Retardant)
เนื่องจากมีส่วนผสมสารกันไฟ 15% จะไหม้เฉพาะที่โดนเปลวไฟโดยตรงเท่านั้น แต่ไม่ลามไปส่วนอื่น ๆ ยกเว้นกรณีเหตุสุดวิสัย ที่มีเชื้อไฟรุนแรงต่อเนื่อง หรือลมแรงจนพัดสารกันไฟไม่อาจคลุมไฟได้
5. ฉนวน PU FOAM น้ำหนักเบา และแข็งแรง (Light weight & Strength)
มีน้ำหนักเพียง 1.2 กิโลกรัม /ตารางเมตร มีความทนทาน สามารถรับแรงกดได้ ถึง 2.2 กิโลกรัก /ตารางเซ็นติเมตร (ความหนาแน่น Density 35- 40kg /m3) จึงไม่ยุบตัว อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าอายุตัวอาคาร
6. ฉนวน PU FOAM ป้องกันการรั่วซึม (Water Leaking)
ตัววัสดุเองเป็นกาวในตัว เมื่อพ่นจะเกาะยึดติดได้แน่น ประสานเข้ากันได้ดี กับผิววัสดุทุกชนิด เช่น กระดาษ ไม้อัด คอนกรีต กระเบื้อง สังกะสี อะลูมิเนียม หรือ หลังคาเหล็ก โดยไม่มีช่องว่าง หรือโพรงอากาศ จึงสามารถกันรั่วกันซึม และป้องกันการเกิดสนิมกับโครงสร้างที่เป็นโลหะได้เป็นอย่างดี
7. ฉนวน PU FOAM ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (Condensation control)
ช่วยป้องกันการเกิดการกลั่นตัว หรือควบแน่น รวมตัวกันเป็นหยดน้ำของความชื้นในฤดูหนาว ใต้หลังคาโรงงาน โรงเรือน อาคารที่มุงด้วยสังกะสี หรือแผ่นเหล็ก Metal sheet หรือใต้พื้น Slab คอนกรีตที่วางเครื่องทำความเย็น พื้นห้องเย็น พื้นห้องเครื่องส่งสัญญาณสื่อสาร พื้นห้องศูนย์คอมพิวเตอร์ พื้นห้องผ่าตัด ห้องที่มีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยในโรงพยาบาล ซึ่งต้องการควบคุมอุณหภูมิให้เย็นตลอดเวลา
8. ฉนวน PU FOAM ติดตั้งง่าย (Easy to install)
ในการพ่นฉนวนใช้เวลาเซ็ตตัวเพียง 2-3 วินาที และเป็น Varsatile Cellular Plastic จึงมีความคงทนแข็งแรง น้ำหนักเบา ไม่เสื่อมสภาพตลอดอายุการใช้งาน ไม่หลุดร่อน ไม่มีรอยต่อ ติดเป็นเนื้อเดียวกันตลอด และสามารถกำหนดความหนาของวัสดุได้ตามอุณหภูมิที่ต้องการใช้งาน เพื่อการประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง
9. ฉนวน PU FOAM ปลอดภัยจากสัตว์และแมลง (Vermin Resistant)
ฉนวนไม่เป็นอาหารของ มด มอด ปลวก หรือแมลงต่าง ๆ และไม่สามารถเกิดเป็นเชื้อราขึ้นได้ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์เคมีที่ผลิตมาจากปิโตรเลียมโดยตรง
10. ฉนวน PU FOAM กับงานรูปทรงเชิงสถาปัตยกรรม (Architectural Shapes)
ตัวฉนวนเองสามารถนำมาตกแต่งดัดแปลงพ่นสร้างเป็น ปฏิมากรรม ในงาน ต่าง ๆ เช่น ฉากหนัง, ฉากละครเวที, พ่นสร้างเป็นภูเขา, ก้อนหิน, น้ำตก, หุ่นยนต์, ถ้ำ, อุโมงค์, ผนัง และตัวสัตว์ต่าง ๆ
11. ฉนวน PU FOAM ไม่มีสารพิษเจือปน (Non Toxic /Irritant)
ไม่มีส่วนผสมของใยหิน (Asbestos) และใยแก้ว (Fiber Glass) หรือสารอื่นที่ทำให้ระคายเคือง เกิดอาการแพ้เมื่อสัมผัส ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ไม่มีสารก่อมะเร็ง
12. ฉนวน PU FOAM เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า (Worth for Investment)
เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติด้านวิศวกรรมที่เท่า ๆ กัน จะพบว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ใช้ฉนวนกันความร้อน PU FOAM จะถูกว่าฉนวนชนิดอื่น ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ อายุการใช้งานในระยะยาว ประโยชน์ที่จะได้รับทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งฉนวนชนิดอื่นทำไม่ได้
เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อดีต่าง ๆ ของการติดตั้งฉนวนกันความร้อน พียูโฟม (PU Foam) ที่หลังคาโรงงาน หรือโกดังคลังสินค้า หากท่านกำลังมองหาฉนวนกันความร้อน สำหรับหลังคาที่มีคุณภาพสูง กันความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีข้อดีด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ช่วยลดเสียงดังเวลาฝนตก ป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝนทางหลังคา เพิ่มความทนทานให้หลังคา อีกทั้งยังไม่ติดไฟง่าย ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับการนำมาใช้ในโรงงาน และคลังสินค้า จากข้อดีต่าง ๆ เหล่านี้ ฉนวนกันความร้อน PU Foam จึงเป็นวัสดุที่เราเลือกใช้ และแนะนำในการติดตั้ง เพื่อกันความร้อนนั่นเอง