หลายคนคงคุ้นกับชื่อของ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือ (Variable Frequency Drive : VFD) เป็นอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ ที่มีศักยภาพช่วยลดการใช้พลังงานต่อหน่วยสูง สามารถใช้งานควบคู่ได้กับมอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป เช่น กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบปั้มน้ำ พัดลม และระบบปรับอากาศขนาดใหญ่
โดยปัจจุบันแนวโน้มการใช้งานมีมากขึ้น ทั้งในระบบอุตสาหกรรมและอาคาร อีกทั้งตัวผลิตภัณฑ์ยังได้รับ “ฉลากประสิทธิภาพสูง” จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษี โดยผู้ขอรับสิทธิ์จะได้รับการยกเว้นภาษีเงิน ได้เป็นจำนวนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพราะในระยะยาวแล้วอินเวอร์เตอร์ จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องของค่าไฟได้มากถึง 30-50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
ตาม KACHA ไปทำความรู้จักกับ อินเวอร์เตอร์ ให้มากขึ้นกันดีกว่า…
อินเวอร์เตอร์(Inverter) คืออะไร?
อินเวอร์เตอร์คือ อุปกรณ์ทางไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าตรง เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ โดยไฟฟ้ากระแสตรง ที่จะนำมาทำการเปลี่ยนนั้นมาจาก แบตเตอรี่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง หรือแผงโซล่าเซลล์ก็ได้ ไฟฟ้ากระแสสลับที่ได้มานั้น จะเหมือนกับไฟฟ้าที่ได้จากปลั๊กไฟตามบ้าน โดยอินเวอร์เตอร์ ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มอเตอร์ พัดลม หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ สามารถใช้ได้กับกระแสไฟฟ้าตรง
หลักการทำงานของอินเวอร์เตอร์
อินเวอร์เตอร์จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่คงที่ ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับ ที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถี่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ วงจรทั้ง 2 นี้ จะเป็นวงจรหลัก ที่ทำหน้าที่แปลงรูปคลื่น และผ่านพลังงานของอินเวอร์เตอร์ โดยทั่วไปแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ มีรูปคลื่นซายน์ แต่เอาท์พุตของ Inverter จะมีรูปคลื่นแตกต่างจากรูปซายน์ นอกจากนั้น ยังมีชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของวงจรคอนเวอร์เตอร์ และวงอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของ 3-phase Induction motor
โครงสร้างภายในของ Inverter
- ชุดคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) : ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟสลับจากแหล่งจ่ายไฟ AC. power supply (50 Hz) ให้เป็นไฟตรง (DC Voltage)
- ชุดอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) : ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟตรง (DC Voltage) ให้เป็นไฟสลับ (AC Voltage) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแรงดันและความถี่ได้
- ชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) : ซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของชุดคอนเวอร์เตอร์ และชุดอินเวอร์เตอร์
การประยุกต์ใช้งาน
|
|
|
|
ประเภทของอินเวอร์เตอร์
-
อินเวอร์เตอร์แบบ Grid Tile Inverter
อินเวอร์เตอร์แบบนี้ จะทำหน้าที่แปลงไฟจากแผงโซล่าเซลล์ที่เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ให้เป็นกระแสสลับขนาด 220 โวลต์ สำหรับจ่ายไฟเข้าสู่ตัวอาคารบ้านเรือน และยังมีหน้าที่ช่วยรักษาระดับแรงดันไฟให้มีความเสถียร
-
อินเวอร์เตอร์แบบ Micro Grid Inverter
ไมโครกริดอินเวอร์เตอร์ หรือ Minigrid มีลักษณะการทำงานคล้ายกับแบบ Grid แต่จะแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ Minigrid สามารถแปลงกระแสไฟได้ 1 อัน ต่อ 1 แผงโซล่าเซลล์ ทำให้ช่วยลดการใช้สายไฟ AC ได้
-
อินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave
เป็นอินเวอร์เตอร์ ที่ช่วยแปลงไฟจากแบตเตอรี่ ให้สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้
-
อินเวอร์เตอร์แบบ Modify Sine Wave
มีลักษณะการทำงานเหมือนกับแบบ Pure Sine Wave แต่รุ่นเก่ากว่า และการทำงานไม่มีคุณภาพเท่ากับแบบ Pure Sine Wave
-
อินเวอร์เตอร์แบบ Hybrid
เป็นอินเวอร์เตอร์ ที่นำเอาคุณสมบัติเด่นของแบบ Grid Tile Inverter และ Minigrid มารวมกับ Pure Sine Wave เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอินเวอร์เตอร์ให้เพิ่มมากขึ้น หรือเรียกอีกอย่างว่า เป็นอินเวอร์เตอร์แบบลูกผสม
วิธีเลือกซื้ออินเวอร์เตอร์
1. เลือกขนาดอินเวอร์เตอร์ที่เหมาะสม
อินเวอร์เตอร์ที่ขายกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้งอินเวอร์เตอร์ราคาถูกและราคาแพง แต่สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ ไม่ใช่ปัจจัยเรื่องของราคาเพียงอย่างเดียว ควรเลือกซื้ออินเวอร์เตอร์ที่มีขนาดเหมาะสม โดยให้เลือกซื้อมากกว่า Watt ของอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยการนำเอาจำนวนวัตต์ทั้งหมดของอุปกรณ์ไฟฟ้ามาบวกกัน เช่น หลอดไฟขนาด 10 วัตต์ และเครื่องซักผ้า 70 วัตต์ (10 วัตต์ + 70 วัตต์ = 80 วัตต์) ดังนั้น ต้องเลือกอินเวอร์เตอร์ขนาดมากกว่า 80 วัตต์ ขึ้นไป ซึ่งถ้าหากเป็นโหลดมอเตอร์ จะต้องเผื่อขนาดอินเวอร์เตอร์ให้เพียงพอด้วย เพื่อป้องกันการกระชากของไฟฟ้าในช่วงเริ่มต้น
2. เลือกประเภทของอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
เลือกประเภทของอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ลักษณะการใช้งานและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าที่จะลงทุน
3. เลือกอินเวอร์เตอร์ แบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ
ความน่าเชื่อถือของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งอินเวอร์เตอร์ราคาถูก ที่จำหน่ายภายใต้แบรนด์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ อาจเป็นไปได้ว่าอินเวอร์เตอร์ที่คุณซื้อมานั้น ไม่มีคุณภาพ และไม่มีมาตรฐาน อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในระหว่างการใช้งานได้ อีกทั้งยังไม่มีความทนทาน หรือมีอายุการใช้งานสั้น ดังนั้น ควรพิจารณาจากความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ
4. เลือกแบรนด์ที่มีการรับประกัน
การรับประกันสินค้าหรือรับประกันอินเวอร์เตอร์ ช่วยให้ผู้ซื้อมั่นใจได้ว่าสินค้ามีคุณภาพ ซื้อแล้วเกิดความคุ้มค่า ไม่เสียดายเงิน หรือถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ขึ้น ก็สามารถนำไปเปลี่ยน นำไปซ่อม ตลอดจนขอคืนเงินได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการรับประกัน
นอกเหนือจากความสามารถในการแปลงไฟแล้ว อินเวอร์เตอร์ยังช่วยรักษาระดับไฟให้มีความเสถียร ไม่เกิดการไฟตก หรือไฟอ่อน นอกจากนี้ อินเวอร์เตอร์ยังมีความปลอดภัยในการใช้งานสูง และที่สำคัญอินเวอร์เตอร์บางรุ่น ยังสามารถแสดงผลการแปลงไฟและปริมาณไฟที่จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นมือถือได้อีกด้วย ถือเป็นก้าวใหม่ของเทคโนโลยีจริง ๆ