วิธีรับมือและป้องกัน ฟ้าผ่า สำหรับที่อยู่อาศัย มีอะไรบ้าง?

ปรากฏการณ์ ฟ้าผ่า เกิดจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกจากเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือ เมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่ บริเวณฐานเมฆจะสูงจากพื้นประมาณ 2 กิโลเมตร และส่วนยอดเมฆอาจสูงถึง 20 กิโลเมตร โดยภายในก้อนเมฆ จะมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็ว และรุนแรง ทำให้หยดน้้า และก้อนน้้าแข็งในเมฆ เสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า โดยพบว่าประจุบวก มักจะอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบ จะอยู่บริเวณฐานเมฆ ซึ่งประจุลบที่ฐานเมฆ อาจจะเหนี่ยวนำให้พื้นผิวของโลกที่อยู่ใต้เงาของมันมีประจุเป็นบวกด้วย

ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จัก ฟ้าผ่า การป้องกันฟ้าผ่า กันว่าจะมีอะไรบ้าง?

ฟ้าผ่า มีกี่ประเภท?

ฟ้าผ่าแบ่งได้อย่างน้อย 4 แบบหลัก ได้แก่

  1. ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ
  2. ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง
  3. ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบลบ
  4. ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก
211213-Content-การป้องกันฟ้าผ่า-สำหรับที่อยู่อาศัย-มีอะไรบ้าง02

สำหรับฟ้าผ่าแบบลบและแบบบวกนั้น จะท้าอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดิน หรือผืนน้้า โดยฟ้าผ่าแบบลบ จะผ่าลงบริเวณใต้เงาของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก เพราะพื้นที่ดังกล่าว ถูกเหนี่ยวน้าให้มีสภาพเป็นประจุบวก ส่วนฟ้าผ่าแบบบวก สามารถผ่าได้ไกลออกไปจากก้อนเมฆถึง 40 กิโลเมตร ภายในเวลา 1 วินาที โดยมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนอง คือ หลังจากที่ฝนซาแล้วนั่นเอง


วิธีป้องกันฟ้าผ่า ในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

กรณีอยู่กลางแจ้ง

  • ไม่หลบพายุฝนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงฟ้าผ่า โดยเฉพาะใต้ต้นไม้ใหญ่ที่อยู่สูงโดดเด่น ใกล้ป้ายโฆษณาเสาไฟฟ้าแรงสูง หรือบริเวณสิ่งปลูกสร้าง ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นโลหะ สระน้ำ แหล่งน้ำเพราะโลหะและน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
  • หลีกเลี่ยงการถือวัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ในระดับเหนือศีรษะขึ้นไป โดยเฉพาะร่ม ที่มีส่วนยอดเป็นโลหะ คันเบ็ด จอบ เสียม รวมถึงไม่สวมใส่เครื่องประดับ ประเภทเงิน ทอง นาก ทองแดง เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า ท้าให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
  • งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด แม้โทรศัพท์ไม่ใช่สื่อนำไฟฟ้า แต่ฟ้าผ่า จะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์ ซึ่งมีแผ่นโลหะ สายอากาศ และแบตเตอรี่เป็นส่วนผสมของโลหะ ทำให้ได้รับอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า
  • หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่เกิดฝนฟ้าคะนอง เช่น เล่นกีฬา ว่ายน้ำ ทำการเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสระน้ำ ทะเล ชายหาด สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ ภูเขาสูง ทุ่งนา เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่า
  • กรณีไม่สามารถหาที่หลบ ในบริเวณที่ปลอดภัยได้ ให้นั่งยอง ๆ เท้าชิดกัน พร้อมเขย่งปลายเท้าให้สัมผัสกับพื้นน้อยที่สุด ก้มศีรษะ และซุกเข้าไประหว่างขา จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
211213-Content-การป้องกันฟ้าผ่าสำหรับที่อยู่อาศัย-มีอะไรบ้าง03


กรณีอยู่ในอาคาร

  • ควรอยู่ในอาคารที่มีสายล่อฟ้า ห้ามขึ้นไปบนดาดฟ้า ไม่อยู่บริเวณมุมตึก และระเบียงด้านนอกของอาคาร ไม่เข้าใกล้ประตู หรือหน้าต่างที่เป็นโลหะระหว่างเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากเป็นพื้นที่โล่งและมีสื่อนำไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์แบบมีสาย เครื่องทำน้ำอุ่น เพราะหากฟ้าผ่าลงมาภายนอกอาคาร กระแสไฟฟ้าจะวิ่งมาตามเสาอากาศ เสาสัญญาณ สายไฟฟ้า และท่อน้ำประปา ทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย และผู้ใช้งานได้รับอันตราย เพื่อความปลอดภัย ในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
  • ควรถอดสายไฟฟ้า สายอากาศ สายโทรศัพท์ สายโมเด็ม จะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า
  • เตรียมไฟฉายไว้ส่องดูทาง เพราะอาจเกิดไฟดับ หรือไฟไหม้ได้ แต่ไม่ควรใช้เทียนไขในบ้าน เพราะอาจเสี่ยงต่อไฟไหม้

กรณีขับรถ

  • จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่จอดรถใกล้ต้นไม้ หรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ โดยเฉพาะป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าแรงสูง เพราะฟ้าอาจผ่าลงมาบริเวณดังกล่าว ทำให้ได้รับอันตราย
  • หลบในรถ พร้อมปิดประตูและหน้าต่าง ไม่สัมผัสตัวถังรถ ที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะ ขณะที่เกิดฟ้าผ่า ห้ามวิ่งลงจากรถ หรือยื่นอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดออกจากรถ เพราะกระแสไฟฟ้า จะไหลไปตามผิวโลหะของตัวถังรถลงสู่พื้นดิน ท้าให้เกิดอันตรายได้

ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีป้องกันอันตราย และปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า ทำให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝนเป็นไปด้วยความปลอดภัย


วิธีการหลีกเลี่ยง และป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน

สามารถป้องกันได้ 2 แนวทาง คือ การป้องกันภายนอก และการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันภายในสิ่งปลูกสร้าง เพื่อลดความเสียหายทางกายภาพ อันเนื่องจาก
ฟ้าผ่า

  • การป้องกันภายนอกสิ่งปลูกสร้าง

ทำได้โดย ติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอก ซึ่งมีหน้าที่ดักวาบฟ้าผ่า โดยตรงลงสิ่งปลูกสร้าง จากนั้น นำกระแสฟ้าผ่าจากจุดฟ้าผ่าลงสู่ดิน และกระจายกระแสฟ้าผ่าลงดิน โดยรากสายดิน (ตัวนำล่อฟ้า ตัวนำลงดิน และระบบรากสายดิน) โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายทั้งทางกล และทางความร้อน เช่น การเกิดไฟไหม้หรือระเบิด สิ่งปลูกสร้างแตกร้าวเสียหาย เป็นต้น

  • การป้องกันภายในสิ่งปลูกสร้าง

ทำได้โดย ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้รับความเสียหายจากแรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ เมื่อเกิดฟ้าผ่าที่อาคาร บ้านพักอาศัย หรือแม้แต่ในบริเวณใกล้เคียงก็ตาม และเนื่องจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า สามารถทำให้เกิดกระแสฟ้าผ่าเข้ามาสร้างความเสียหายในระบบไฟฟ้าภายในอาคารได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรง หรือทางอ้อม

หลักการทำงานของ อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จในระบบไฟฟ้า มีดังนี้

สภาวะปกติ อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จจะมีค่า Impedance สูง ทำหน้าที่เหมือนเป็น open circuit จะไม่มีผลใด ๆ ในระบบที่ต่ออยู่
เมื่อเกิดสภาวะแรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ (Transient overvoltage) ค่า Impedance ของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จลดลงภายในเวลาอันรวดเร็ว (nanoseconds) และเบี่ยงเบนกระแสฟ้าผ่าลงสู่กราวนด์ ทำหน้าที่เหมือนเป็น closed circuit พร้อมทั้งจำกัดแรงดันไฟฟ้า ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติ ค่า Impedance ของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ จะกลับมาสูงอีกครั้ง และกลับมาเป็น open circuit เหมือนเดิม


เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่อง ฟ้าผ่า และ วิธีป้องกันฟ้าผ่า อย่างไรก็ตาม ควรปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า ทำให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝน เป็นไปด้วยความปลอดภัยด้วย

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<