เรื่องน่ารู้ “เสาไฟฟ้า” ที่เราเห็น มีกี่ประเภทกันนะ?

เสาไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ในการรองรับการติดตั้งสายไฟให้อยู่เหนือพื้นดิน ด้วยวิธีติดตั้งถ้วยยึดจับสายไฟฟ้า สำหรับเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการพาดสายไฟไว้เหนือพื้นดินสูง ๆ ก็เนื่องจากว่า สายไฟฟ้าโดยทั่วไปนั้น เป็นสายเปลือยที่มีอันตรายต่อผู้ที่ไปสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ และถ้าหากเกิดความผิดปกติขึ้น ก็จะส่งผลกระทบอื่น ๆ อีกมากมาย

KACHA จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ เสาไฟฟ้า ที่เราเห็น ๆ นั้น มีกี่ประเภทกันแน่นะ? ไปดูกันเลย

ประเภทของเสาไฟฟ้า

ในส่วนของเสาไฟฟ้า ต้องมีความแข็งแรงและมั่นคงระดับหนึ่ง อีกทั้งควรจะต้องรองรับน้้ำหนักได้ดี และไม่หักโค่นง่าย ในอดีตนั้น เสาไฟฟ้ายุคแรก ๆ ทำด้วยไม้ แต่เมื่อไม้เริ่มหายาก และไม่สามารถใช้งานได้นาน จึงมีการเปลี่ยนวัสดุเป็นเสาคอนกรีตแทน ในส่วนนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ก็ได้เห็นด้วย และมีการเปลี่ยนเสาไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศเป็นเสาคอนกรีตแล้ว แต่อาจจะยังหลงเหลือในพื้นที่ชนบทห่างไกลบ้างเล็กน้อย ซึ่งก็จะมีการเปลี่ยนเป็นเสาคอนกรีตทั้งหมดในอนาคต และในปัจจุบันนี้ ก็เริ่มมีเป็นเสาอะลูมิเนียมมาติดตั้งในบางพื้นที่แล้ว

  • เสาไฟฟ้าคอนกรีต

สำหรับเสาไฟฟ้าคอนกรีต ที่การไฟฟ้าฝ่ายภูมิภาคเลือกใช้นั้น มีด้วยกัน 6 ขนาด โดยมีรายละเอียด คือ

211214-Content-เรื่องน่ารู้-เสาไฟฟ้า-02
  • เสาคอนกรีต 6 เมตร นิยมใช้เป็นเสาบริการ หรือเสาสำหรับพาดไฟฟ้าสายแรงต่ำ
  • เสาคอนกรีต 8 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าต่ำแบบ 1 เฟส 2 สาย และ 3 สาย รวมถึง 2 เฟสแบบ 3 สาย พร้อมกับสายดับไฟถนน เสาคอนกรีต 8 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 490 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ ระดับดินตั้งแต่ 760 กิโลกรัมขึ้นไป
  • เสาคอนกรีต 9 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าต่ำแบบ 3 เฟส 4 สาย หรือแบบ 2 วงจร เสาคอนกรีต 9 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,070 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 590 กิโลกรัมขึ้นไป
  • เสาคอนกรีต 12 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูง บริเวณด้านบนของเสา จะมีการติดตั้งคอนสายไว้ เพื่อรองรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 22-33 KV นอกจากนี้แล้ว ยังมีการติดตั้งหม้อแปลง และอุปกรณ์ต่าง ๆ แบบแขวนไว้อีกด้วย เสาคอนกรีต 12 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,265 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 2,550 กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับเสาคอนกรีต 12 เมตรรุ่นใหม่ จะมีสายดินแบบลวดตีเกลียว 25 ตมม. ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที
  • เสาคอนกรีต 14 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูง มีการติดตั้งอุปกร์ด้านบนเสาเหมือนกับเสาคอนกรีต 12 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,950 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 3,590 กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับเสาคอนกรีต 14 เมตรรุ่นใหม่ จะมีสายดินแบบลวดตีเกลียว 25 ตมม. ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที
  • เสาคอนกรีต 22 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูงขนาด 115 KV มีสายดินแบบลวดตีเกลียว 35 มม. ยาว 2 เมตร ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที

นอกจากนี้ยังมี เสาไฟฟ้าแบบเสาโครงเหล็ก ที่ใช้กับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่มีแรงดันสูง (69 KV 115 KV 230 KV 500 KV) โดยเสาโครงเหล็ก จะทำจากเหล็กฉากที่นำมาประกอบกัน มีความสูง 10 เมตรขึ้นไป แยกออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบชนิดยึดแน่น และ ชนิดขยับได้ ในการใช้งานยังมีการแบ่งโครงเหล็กออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ แบบวงจรเดี่ยว และวงจรคู่

  • เสาโครงเหล็ก

มีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ

  • ฐานราก ฐานของเสามีด้วยกัน 3 แบบ คือ แบบแท่นตรง แบบฐานแผ่ และแบบเสาเข็ม
  • ขาต่าง การใช้ส่วนประกอบนี้ ก็ต่อเมื่อมีการตั้งเสาในพื้นที่ต่างรับดับ เช่น เนินเขา ไหล่เขา เป็นต้น เพื่อให้ขาเสามีขนาดเท่ากันทั้ง 4 ขา
  • ส่วนต่อ ถ้าหากต้องการให้เสามีขนาดสูงขึ้นไปอีก จะต้องใช้ส่วนประกอบนี้
  • ส่วนกลาง เป็นส่วนลำตัวของเสาที่ต่อขึ้นมาจากฐานราก
  • ส่วนยอด หรือส่วนปลายที่จะติดตั้งถ้วยแขวนสำหรับพาดสายไฟแรงสูง
211214-Content-เรื่องน่ารู้-เสาไฟฟ้า-03

ไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้า ที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 1,000 V ขึ้นไป การที่ระบบไฟฟ้ามีแรงดันไฟฟ้าสูง จะช่วยส่งกระแสไฟฟ้าไปยังระยะทางไกล ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูง มีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากเมื่อเทียบกับที่ใช้กันทั่วไปตามบ้านเรือน และอาคารต่าง ๆ  (220 V) ไฟฟ้าแรงสูง จึงสามารถกระโดดข้ามอากาศเข้าหาวัตถุ หรือสิ่งมีชีวิตได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสกับสายไฟเลย (เราจึงอาจจะเห็นนกที่ถูกไฟดูด โดยไม่จำเป็นต้องเกาะบนสายไฟ) ยิ่งถ้าไฟฟ้ามีแรงดันสูงมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เกิดการกระโดดข้ามได้ไกลมากยิ่งขึ้น มีการบันทึกสถิติผู้ที่ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงในพื้นที่ให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง พบยอดผู้บาดเจ็บ ผู้ทุพพลภาพ และผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คนต่อปี

สายบนเสาไฟฟ้า มีอะไรบ้าง?

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) แนะนำสายต่าง ๆ ที่อยู่บนเสาไฟฟ้า มี 3 ชั้น ดังนี้

  • สายที่อยู่แถวบนสุด

เป็นสายไฟฟ้าแรงสูง 22,000 โวลต์ ติดตั้งอยู่สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เมตร

  • สายแถวกลาง

ความสูงจากพื้นในระดับ 8 เมตร เป็นสายไฟฟ้าแรงต่ำ 230 หรือ 400 โวลต์ คือ สายไฟที่ต่อโยงไว้จ่ายไฟเข้าบ้านเรือนประชาชนทั่วไป

  • สายแถวที่สาม หรือแถวล่างสุด

ความสูงจากพื้นในระดับ 5-5.50 เมตร เป็นสายหลาย ๆ เส้นขดกันจำนวนมาก คือ สายสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งประกอบด้วย

  • สายออพติกไฟเบอร์ คือ สายอินเทอร์เน็ต
  • สายเคเบิลโทรศัพท์
  • สายเคเบิลทีวี
  • สายควบคุมสัญญาณจราจร
  • สายสื่อสารกล้องวงจรปิด เป็นต้น ซึ่งจะพาดสายอยู่ในระดับเดียวกัน

รู้ได้อย่างไร ว่าสายไฟไหนคือสายไฟฟ้าแรงสูง?

เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูง มีระยะอันตรายที่จะกระโดดข้ามได้ จึงมีการป้องกันด้วยการยึดสายไฟไว้กับฉนวนไฟฟ้าจำนวนที่เหมาะสม ซึ่งฉนวนไฟฟ้าที่กำลังกล่าวถึงนี้ ทำจากกระเบื้องที่มีการเคลือบหลายชั้น มีลักษณะเหมือนชามที่กำลังคว่ำอยู่ เมื่อไรก็ตามที่เราเห็นการยึดเสาไฟฟ้าด้วยถ้วยคว่ำนี้ ก็ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเรากำลังอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงแรงสูง ยิ่งถ้ามีถ้วยมากเท่าไร ก็แปลว่าแรงดันไฟฟ้าสูงเท่านั้น

ยังมีอีกวิธีที่ใช้ในการสังเกตไฟฟ้าแรงสูง ที่นอกเหนือไปจากการสังเกตถ้วย และการอ่านป้าย คือ ระดับความสูงของสายไฟ ปกติแล้วสายไฟฟ้าแรงสูง จะตั้งให้ห่างจากพื้นดินประมาณ 9 เมตร ถ้าอยู่สูงกว่านั้น ก็แปลว่ามีแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าปกติ

สำหรับใครที่สนใจรถกระเช้า เราขอแนะนำ รถ Xlift ลิฟท์ขากรรไกร หรือ เครนยกของ สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย