วางแผนก่อนสร้าง “ศาลาในสวน” ศาลาในบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง?
ศาลา เป็นสิ่งก่อสร้างหนึ่งในสวน นอกจากเพื่อใช้งานแล้ว ยังเพื่อประดับสวน ก่อนจะมีศาลาในสวน เราควรรู้อะไรบ้าง? บทความนี้ KACHA จะพาไปทำความรู้จักการสร้าง ศาลาในสวน ให้มากขึ้นกัน
วัสดุสร้างศาลาที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?
หากต้องการพื้นที่สำหรับนั่งเล่นในสวนที่ดูเป็นสัดส่วน มีหลังคาป้องกันแดดฝนอย่างเป็นทางการ ศาลา ดูจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยยืดระยะเวลาการนั่งเล่นในสวนของเราให้ยาวนานขึ้น แม้ในช่วงเวลาที่ฝนตก หรือแดดแรงก็ยังสามารถใช้งานอยู่ในศาลาได้ ซึ่งศาลามีด้วยกันหลายรูปแบบ แต่ละส่วนก่อสร้างจากวัสดุที่แตกต่างกัน และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างก็มีด้วยกันหลายจุด ดังนี้
-
ฐานราก
ฐานรากรองรับศาลาในสวน ไม่จำเป็นต้องรับน้ำหนักมากเท่ากับบ้าน แต่ก็ต้องแข็งแรงพอที่จะใช้งานได้อย่างปลอดภัย และไม่เกิดปัญหาอื่นตามมาภายหลัง ฐานรากที่แนะนำมีอยู่ 2 แบบ
เป็นฐานราก ที่สามารถวางบนพื้นดินโดยที่ไม่ต้องมีเสาเข็ม เพราะถ่ายน้ำหนักลงพื้นดินได้โดยตรง รองรับศาลาแบบโปร่งที่มีน้ำหนักไม่มากนัก แม้ดูเหมือนว่าก่อสร้างได้ง่าย และรวดเร็ว แต่หากบดอัดดินดี ๆ ฐานรากแบบแผ่นี้ สามารถรับน้ำหนักได้ถึงตารางเมตรละ 2 ตันเลยทีเดียว |
เป็นฐานรากที่แข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก เพราะใช้แรงเสียดทานจากพื้นผิวของเข็มกับชั้นดินมาช่วยรับน้ำหนัก จึงเหมาะกับศาลาที่มีขนาดใหญ่ หรือมีรายละเอียดมาก ๆ เข็มหกเหลี่ยมกลวง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร ยาว 6 เมตร 1 ต้น สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 1.7 ตัน จึงทำให้ศาลาที่ใช้ฐานรากแบบเข็ม สามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มผนังเป็นห้องรับแขกกลางสวนโดยใช้ฐานรากเดิมได้เลย |
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : งาน ฐานราก และเสาเข็ม มีความสำคัญอย่างไร?
-
หลังคา
นอกจากจะช่วยบังแดดบังฝนแล้ว ยังช่วยสร้างความสวยงามให้กับศาลาและสวนได้ด้วย เนื่องจากเป็นชิ้นงานขนาดใหญ่ มีผลต่อการกำหนดสี และอารมณ์ของสวนโดยรวม ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ทำหลังคามีให้เลือกมากมาย ดังนี้
เป็นหลังคาที่ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ ที่มีความยืดหยุ่นสูง น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย มีลักษณะโปร่งแสง กันความร้อนได้ดี เหมาะกับศาลาที่ต้องการให้แสงผ่านได้บ้าง แต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ มักจะมีแมลง หรือสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ตามช่องว่างเกิดคราบสกปรกได้ง่าย จึงควรใช้แผ่นอะลูมิเนียมปิดหัว และท้ายกันน้ำ และแมลง นอกจากนี้ ยังมีหลังคาโปร่งแสงแบอื่น ๆ ที่นิยมใช่ ได้แก่ กระจกนิรภัยลามิเนต ซึ่งมีความแข็งแรงปลอดภัยสูง กระเบื้องโปร่งแสง มีทั้งแบบลอนเล็ก ลอนคู่ และแผ่นเรียบ อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : “แผ่นโพลีคาร์บอเนต” คุณสมบัติพร้อมวิธีการติดตั้ง |
หลังคาซิงเกิ้ล หรือหลังคายางมะตอย เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ทำจากไฟเบอร์กลาส มีความแข็งแรงทนแรงลมได้ดี ติดตั้งบนหลังคาโค้งได้ทุกรูปทรง ควรรองด้านล่างด้วยไม้อัดทนความชื้น หรือแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ และแผ่นยางกันน้ำ สามารถออกแบบให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยรอบได้ง่าย |
ทำจากไม้สนนำเข้า ติดตั้งบนแผ่นไม้อัดทนความชื้น หรือแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ และแผ่นยางกันน้ำ ทนแรงลมได้ดี น้ำหนักเบา แผ่นไม้เป็นสีธรรมชาติ ดูแล้วเย็นตา ให้ความรู้สึกของศาลาแบบกระท่อมกลางสวน |
เป็นหลังคาที่ดูแลรักษาง่าย ทนทาน แต่ต้องติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงจะได้รายละเอียดที่เนี้ยบสวยงาม ให้อารมณ์งานเรียบเท่ ตามแบบสวนโมเดิร์น |
รู้ก่อนสร้าง ศาลาในสวน
ศาลา เป็นสิ่งก่อสร้างหนึ่งในสวน นอกจากเพื่อใช้งานแล้ว ยังเพื่อประดับสวน ก่อนจะมี ศาลาในสวน จึงควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ เพื่อให้ได้รูปแบบที่ถูกใจ ดังนี้
???? รูปแบบศาลา
ควรมีความสอดคล้องกับรูปแบบของบ้าน และรูปแบบของสวน เช่น บ้านรูปแบบทันสมัย เรียบง่าย ศาลา ก็ควรมีรูปแบบที่ทันสมัยเช่นกัน หากทำสวนรูปแบบอังกฤษ มีรูปปั้นสวย ๆ ดอกไม้เล็ก ๆ น่ารัก ก็ควรเลือกศาลาโครงเหล็กดัด หรือทรงโดมสไตล์ยุโรป หากเป็นสวนทรอปิคัล หรือสวนบาหลี การใช้ศาลาไม้ทรงโปร่ง มุงด้วยวัสดุธรรมชาติ ก็จะให้ความรู้สึกถึงการนั่งพักผ่อนที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติรอบตัว รูปแบบศาลาที่เข้ากับสวน ช่วยสร้างให้บรรยากาศโดยรวมดีได้ แต่อย่างไรก็ตาม รูปทรงศาลา อาจมีความโดดเด่นด้วยตัวศาลาเอง เช่น ศาลารูปโค้งเหมือนก้อนหินก้อนใหญ่ ศาลาทรงสามเหลี่ยมแบบกระโจม ศาลาที่มีรูปทรงพิเศษเช่นนี้ช่วยทำให้สวนดูสวยโดดเด่นขึ้น
???? รูปแบบการใช้งาน
รูปแบบการใช้งาน มีผลอย่างมากต่อการเลือกรูปแบบ ขนาด รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งของศาลาในสวน เช่น หากศาลานั้น เน้นวัตถุประสงค์ในการนั่งเพื่อชมวิวเป็นหลัก ศาลาควรตั้งอยู่ในตำแหน่งที่หันหน้ามองเห็นวิวของสวนที่ดีที่สุด แต่หากอยากให้ศาลาเป็นที่นั่งที่สงบ ก็ไม่ควรเลือกรูปแบบศาลาที่เปิดโล่งเกินไป ตั้งอยู่ในจุดที่ไม่โดนรบกวน ไม่ตั้งอยู่บริเวณสวนด้านที่ติดถนน ก่อนสร้างศาลาลองมาคิดใคร่ครวญว่าอยากทำอะไรที่ศาลาบ้าง จะได้เป็นการตัดสินใจในการเลือกวางตำแหน่งและหาขนาดที่เหมาะสม
???? ขนาดของศาลา
ศาลาในสวนควรมีขนาดเท่าใดนั้น มีข้อพิจารณา ดังนี้
- ประโยชน์ใช้สอยหรือกิจกรรมที่ต้องการ ทั้งนี้ ไม่จำเป็นว่ามีหลายกิจกรรมแล้ว ศาลาจะต้องใหญ่ตาม เพราะหากเป็นกิจกรรมที่ใช้คนละช่วงเวลา สามารถออกแบบให้เกิดการใช้งานเชิงอเนกประสงค์ในพื้นที่เดียวกันได้
- จำนวนผู้ใช้งาน เช่น บุคคลในครอบครัว มีจำนวนกี่คน มีการใช้รับแขกที่ศาลานี้หรือไม่ เมื่อนำทั้ง 3 ข้อมาพิจารณา จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้
โดยปกติแล้วหากเป็นศาลานั่งเล่นในสวน แบ่งได้คร่าวประมาณ 3 ขนาด คือ
- ขนาดเล็ก นั่งได้ 2-8 คน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เมตร
- ขนาดกลาง นั่งได้ประมาณ 10-25 คน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 เมตร
- ขนาดใหญ่ นั่งได้ประมาณ 25-60 คน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-12 เมตร
Tips : หากอยากลองเช็คขนาดศาลาจากจำนวนคน สามารถคำนวณโดยใช้สูตร 1 คน ต่อพื้นที่ประมาณ 1-1.2 ตารางเมตร ซึ่งเป็นระยะของการนั่งแบบสบาย ๆ วางของได้ ดังนั้น ถ้าหากคิดว่ามีผู้ใช้ประมาณ 5 คน พื้นที่ศาลาอยู่ประมาณ 5-6 ตารางเมตร ซึ่งศาลาขนาด 2 x 3 เมตร จะกำลังพอดีกับการนั่ง แต่หากเป็นศาลาขนาดใหญ่ ควรคูณ 0.30 สำหรับเป็นพื้นที่เดินในศาลา
???? พื้นที่สำหรับการสร้างศาลา
ปัญหาหลักของคนเมือง คือ บ้านไม่มีพื้นที่สวน และมักคิดว่าต้องมีสวนขนาดใหญ่ ถึงจะสามารถตั้งศาลาในสวนได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถออกแบบศาลาในสวน ให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ที่มีอยู่ได้ ไม่ว่าจะมีสวนขนาดเล็ก หรือใหญ่ก็ตามที โดยขึ้นอยู่กับการใช้งาน หากใช้เพียงแค่นั่งเล่นพักผ่อน อ่านหนังสือ สำหรับคนเดียว หรือสองคน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ศาลาขนาดใหญ่ มีเพียงที่นั่งแบบเก้าอี้ยาวก็พอแล้ว หรือถ้ามีพื้นที่ระหว่างบ้านกับกำแพงรั้ว ก็สามารถสร้างศาลาโปร่งที่มีที่นั่งติดกำแพงไว้นั่งเล่นได้เช่นกัน ทั้งนี้ หากพื้นที่สวนของบ้านมีขนาดพอประมาณ ส่วนใหญ่แล้ว มักวางศาลาไว้มุมรั้ว หรือริมกำแพงให้มีระยะห่างจากตัวบ้าน เพื่อให้เห็นวิวได้กว้าง แต่หากสวนมีขนาดใหญ่มาก ก็สามารถวางศาลาแบบลอยตัว เพื่อให้สามารถมองเห็นวิวรอบศาลาได้ นอกจากนี้ หากพื้นที่บ้านมีองค์ประกอบพิเศษอื่น ๆ ภายในสวน เช่น มีบ่อน้ำ ก็สามารถนำศาลาไปวางไว้ริมบ่อน้ำ หรือหากมีต้นไม้ใหญ่ ก็อาจสร้างบ้านต้นไม้ที่ให้บรรยากาศพิเศษในสวนได้เช่นกัน
???? ตำแหน่งที่ตั้ง มุมมองและทิศทางแสงแดดและลม
ศาลาส่วนมากจะเปิดโล่งทั้ง 4 ด้าน สามารถมองเห็นบรรยากาศได้รอบทุกทิศ แต่ก็อาจไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่มีอยู่ในบ้าน หน้าบ้าน หลังบ้าน ในสวน ริมกำแพง หรือริมระเบียงบ้าน ซึ่งบางตำแหน่ง อาจไม่เอื้อต่อการมองรอบทิศ ดังนั้น ศาลาอาจจะเปิดโล่ง 3 ด้าน 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็เป็นได้ แต่ควรเน้นเปิดด้านเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยตำแหน่งการวางศาลาอยู่ได้ทั้งบนพื้น ตั้งอยู่บนเนิน บนต้นไม้ ก็ได้เช่นกัน
นอกจากเรื่องทัศนียภาพแล้ว ทิศทางของแสงแดด และลม ก็มีผลต่อตำแหน่งการจัดวาง เพื่อสร้างภาวะน่าสบาย เมื่อมาใช้ศาลาในสวน ควรระวังเรื่อง ทิศทางของแสงแดด ต้องไม่ให้จุดที่คนนั่งมองออกไปแล้วแสงแยงตา หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องใช้ต้นไม้ หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ช่วยบังทิศทางแสงแดด ขณะเดียวกัน ทิศทางของลมก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน เพราะหากออกมานั่งในศาลา แต่กลับไม่ได้รับลมธรรมชาติที่มีอยู่ จะเกิดความรู้สึกอึดอัด ร้อนอบอ้าวในทันที
➤ ค่าก่อสร้างศาลา
งบประมาณการก่อสร้างศาลา มีตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสน ขึ้นอยู่กับ ขนาด รูปแบบ และวัสดุที่ใช้ หากมีงบประมาณไม่มาก สามารถสร้างศาลา ขนาดเล็ก โดยใช้โครงสร้างโปร่ง ๆ ใช้วิธีปลูกต้นไม้สร้างขอบเขต สำหรับ หลังคาสามารถใช้โครงระแนงโปร่ง ใช้ไม้เลื้อย หรือสร้างศาลาใต้ต้นไม้ให้พอ อาศัยร่มเงาได้
ดังนั้น จึงสามารถกำหนดงบประมาณในการก่อสร้างศาลาได้ เช่น หากเป็นศาลาขนาด 10 ตารางเมตร โครงสร้างเหล็ก พื้นไม้เทียม ผนังโปร่ง หลังคากระเบื้อง ค่าก่อสร้างจะอยู่ที่ประมาณ 60,000-80,000 บาท แต่หากเป็นศาลาที่มีขนาดใหญ่ มีประตู หน้าต่าง ผนัง และหลังคาที่เป็น เหมือนกับบ้านหลังน้อย ราคาก็ย่อมแพงขึ้นมาเป็นหลักแสน หากเป็นศาลา ที่มีรูปทรงพิเศษ หรือสร้างในพื้นที่พิเศษ เช่น บ่อน้ำ บนต้นไม้ มีการก่อสร้าง ยุ่งยาก ก็จะมีราคาที่แพงขึ้นไปอีก
➤ การดูแลรักษา
ศาลาในสวน เป็นสิ่งก่อสร้างที่ช่วยกันแดดกันฝน จึงควรเลือกใช้วัสดุที่ทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้ง การดูแลรักษาไม่จำเป็นต้องทำบ่อย แต่การดูแลรักษาที่ดี จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้นได้ การดูแลรักษาในรอบเดือน ควรหมั่นถอนหญ้ารอบ ๆ ศาลา เพื่อไม่ให้มีสัตว์ร้ายแฝงตัวมาได้ ส่วนทุก 3-6 เดือน ควรมีการฉีดน้ำแรงดันสูง เพื่อชำระล้างคราบสกปรกต่าง ๆ ที่เกาะติดตามศาลาให้หลุดออก อาจมีการขัด หรือเช็ดในจุดที่มีคราบติดแน่น ส่วนการบำรุงรักษาในรอบปี ควรมีการตรวจเช็กโครงสร้างว่าเสาคานมีการโยกเยกหรือไม่ น็อต สกรู ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ายังขันแน่น แข็งแรง ทนทานจากกระแสลม และรับน้ำหนักทุกคนที่อยู่ในศาลาได้ และเมื่อกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปนานหลายปี ควรทาสี หรือทาน้ำยาเคลือบ จะทำให้ศาลาดูใหม่ และสวยงามอยู่เสมอ ทั้งเป็นการกระตุ้นให้อยากออกไปนั่งเล่นได้เป็นอย่างดี
สินค้าแนะนำ
เราขอแนะนำ รถเข็นเครื่องมือช่าง สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน
เป็นอย่างไรกันบ้างกับเรื่องควรรู้ก่อนสร้างศาลาในสวน ศาลาในบ้าน รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมนำไปพิจารณาก่อนจะลงมือก่อสร้างศาลากันด้วยนะจ๊ะ
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
ข้อมูลและภาพจาก สำนักพิมพ์บ้านและสวน