การเก็บกวาด ทำความสะอาดบ้านไม่ใช่เรื่องยาก แต่เหนื่อยมาก หากมีข้าวของวางระเกะระกะ รกตา ขวางที่ขวางทาง ยิ่งไม่สะดวกในการทำงานอย่างแน่นอนแถมมีสายไฟ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ ในบ้านพาดโยงไม่ตามพื้น เพื่อเสียบปลั๊กไฟ ต้องเรียกได้ว่ามีอยู่ทั่วไปในทุกห้องทุกมุมบ้านก็ว่าได้ ทั้งมุมทีวี มุมโต๊ะทำงาน ที่มีสารพัดสายไฟพันกันยุ่งเหยิงกันไปหมด อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ จะดีแค่ไหน ถ้าสามารถเก็บซ่อนสายไฟเหล่านี้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้
บทความนี้ KACHA มีเคล็ดลับการ เก็บสายไฟ และ วิธีเก็บสายไฟ เพื่อจัดบ้านให้น่าอยู่ เป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยของใช้ในบ้าน และอุปกรณ์หาง่าย ที่นำมาปรับใช้ ทำกันได้เองโดยไม่ง้อช่าง จะมีอะไรบ้าง? ไปดูพร้อม ๆ กันเลย
วิธีเก็บสายไฟ ทำได้อย่างไรบ้าง?
เก็บสายไฟ ง่าย ๆ จากของใช้ในบ้าน โดยแต่ละ วิธีเก็บสายไฟ สามารถทำเองได้ง่าย ๆ แบบไม่ต้องถึงมือช่าง เพื่อให้บ้านสวยสมบูรณ์แบบ มองไปทางไหนก็เป็นระเบียบเรียบร้อย
-
ทำจุดชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยกล่องกระดาษเหลือใช้เก็บสายไฟ
มุมชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบ้านนั้นเป็นมุมเล็ก ๆ ที่มีดีกรีของความยุ่งเหยิงของสายไฟ ไม่ได้เล็กตามขนาดของมุมที่อุปกรณ์เหล่านั้นตั้งอยู่เลย เพราะไม่ว่าจะ โทรศัพท์มือถือของสมาชิกแต่ละคนในบ้าน ไหนจะมีไอเท็มเสริมชิ้นอื่น ๆ ที่ต้องใช้งานร่วมกันด้วย เมื่อมองกวาดสายตาไปมา ก็ต้องพบกับสายชาร์จที่นับจำนวนไม่ถ้วน อีกทั้งยังพันกันยุ่งเหยิง หาต้นชนปลายของแต่ละเส้นไม่ถูก กองรวม ๆ กันอยู่ที่เดียว ซึ่งการทำจุดชาร์จอุปกรณ์รวมกันไว้ในมุมเดียวให้เป็นระเบียบนั้นทำได้แบบไม่ยุ่งยาก
ด้วยการหากล่องมาช่วยพรางสายตา เป็นวิธีที่ช่วยให้มองมาแล้วสบายตากว่าเดิมได้อย่างแน่นอน แค่นำปลั๊กพ่วงมาวางไว้ด้านในกล่อง ที่มีช่องให้สายไฟสามารถลอดออกมาได้ หากไม่มีกล่องแบบสำเร็จรูป เราสามารถประยุกต์นำกล่องรองเท้า หรือกล่องไปรษณีย์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว นำมาเจาะช่อง ขนาดความกว้างพอที่จะให้สายไฟแต่ละเส้นรอดผ่านช่องออกมาได้พอดิบพอดี เวลาต้องการจะใช้งาน ก็แค่ดึงเฉพาะปลายสายที่ต้องการใช้งานออกมาจากกล่อง ส่วนสายไฟที่เหลือ ก็จะถูกม้วนเก็บไว้ด้านในกล่อง โดยไม่ต้องลากออกมายาว ๆ ให้กวนสายตา และกินพื้นที่ด้านนอกโดยไม่จำเป็นนั่นเอง
-
สร้างชั้นวางให้ปลั๊กพ่วง
อีกวิธี ที่จะช่วยให้ใช้งานปลั๊กพ่วงได้ง่าย และเป็นระเบียบเรียบร้อย คือ การหาที่อยู่ประจำให้ปลั๊กพ่วง แทนที่จะวางไว้บนโต๊ะ หรือวางตามพื้น เราสามารถใช้การติดตั้งชั้นวางรูปแบบต่าง ๆ เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านได้ อาจจะใช้เป็นชั้นตะแกรงอะลูมิเนียมเล็ก ๆ หรือช่องเสียบแบบผ้า ก็ดูน่ารักไปอีกแบบ การวางบนชั้น จะช่วยให้เราปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ยืดหยุ่นกว่า ไม่ว่าจะย้ายปลั๊กแต่ละตัวไปใช้งานตรงจุดไหน ก็ทำได้ง่าย และทำให้ปลั๊กไฟที่ใช้งาน ก็จะอยู่อย่างเป็นสัดส่วนมากขึ้น แค่มีที่ประจำในแต่ละจุดเตรียมพร้อมไว้เท่านั้นก็พอแล้ว
-
ให้เมจิกเทป หรือตัวยึด เป็นตัวช่วยในการเก็บสายไฟ
เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชิ้น หรือปลั๊กพ่วงบางอัน อาจไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา จึงต้องมีการเก็บเข้าออกเป็นประจำ ทำให้ไม่เหมาะกับการติดตั้งแบบถาวร เมจิกเทป ตีนตุ๊กแกแบบกาว หรือตัวยึดที่ถอดออกได้ จึงเหมาะเป็นวัสดุเสริม ช่วยให้ใช้ได้ง่ายขึ้น หากต้องใช้งานในมุมไหนเป็นประจำ สามารถติดเทปในบริเวณนั้น ให้ยึดกับตัวปลั๊กพ่วง หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ได้ และเมื่อใช้งานเสร็จ ก็แค่ดึงออกมาเก็บ นอกจากนี้ ยังใช้ติดบนอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้พันสายไฟได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ถือเป็นตัวช่วยเสริมที่สามารถพลิกแพลงการใช้งานได้ตามต้องการเลย
-
ตะแกรงเหล็ก ช่วยจัดระเบียบสายไฟใต้โต๊ะ
วิธีเก็บสายไฟ บริเวณหลังทีวี หรือโต๊ะคอมนั้น เป็นอีกมุมหนึ่งในบ้านที่มีสายไฟต่อพ่วงออกจากอุปกรณ์สารพัดชิ้น รวม ๆ กันแล้วอาจมีเป็นสิบ ๆ เส้นแลยทีเดียว ถ้าหากไม่กองรวมกันอยู่บนพื้น สายไฟเหล่านั้น ก็อาจจะถูกมัดแอบ ๆ ห้อยอยู่บริเวณหลังตู้ แต่ถึงแม้จะมีสายไฟจำนวนเยอะขนาดไหน การใช้แผ่นตะแกรง เข้ามาเป็นตัวช่วยในการจัดเก็บสายไฟ ที่มุมนี้ รับรองเอาอยู่ เพราะแทนที่จะปล่อยให้สายไฟแต่ละเส้นห้อยพันกันอยู่อย่างเดิม ลองเปลี่ยนมาใช้การม้วน และยึดสายไฟติดเข้ากับตะแกรงที่นำมาติดตั้งอยู่ที่บริเวณหลังตู้ หรือหลังจอแสดงภาพได้อย่างเป็นระเบียบ จะมีสายไฟกี่เส้น หรืออุปกรณ์กี่ชิ้น เราสามารถปรับเปลี่ยนจุดที่ต้องการยึดเก็บสายไฟ ได้อย่างยืดหยุ่น ใช้งานง่าย และทำความสะอาดได้สะดวก
-
รวมสายไฟให้หยิบใช้สะดวก
เมื่อจัดการมุมปลั๊กพ่วงที่แสนจะยุ่งเหยิงแล้ว ก็อย่าลืมจัดการกับปลายสายต่าง ๆ เมื่อไม่ได้ใช้กัน ถ้าหากวางทิ้งไว้เฉย ๆ สายเหล่านี้ คงกระจัดกระจายกันเต็มไปหมดแน่นอน วิธีเก็บสายไฟ ให้เข้าที่ คือ การหาอุปกรณ์มาช่วยรวบรวมให้อยู่ในที่เดียว โดยอาจใช้ไอเท็มง่าย ๆ อย่างตัวหนีบกระดาษที่หาได้ทั่วไปไม่ยุ่งยาก หรือจะติดตั้งแถบแม่เหล็กที่ทำให้หยิบใช้ได้คล่องมือ ตัวยึดสายไฟนั้นมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ และความลงตัวของพื้นที่
วิธีการรักษาสายไฟ
สายไฟ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องดูแลรักษา หากขาดการรักษา จะอาจจะส่งผลต่อชีวิต และทรัพย์สินของเจ้าของบ้านได้ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อขาดการดูแลสายไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นสาเหตุทำให้ไฟฟ้า และหากมีคนไปสัมผัสก็จะโดนไฟช็อต และเป็นสาเหตุให้เกิดการตาย เพื่อเป็นการป้องกัน จึงต้องมีวิธีการดูแลรักษาไฟฟ้า มีวิธีการดูแล ดังนี้
- หากสายไฟเก่า หรือหมดอายุการใช้งาน ควรเลือกใช้ สังเกตได้จากฉนวนจะแตก หรือแห้งกรอบบวม
- ขนาดของสายไฟฟ้า ควรใช้ขนาดสายที่เหมาะกับปริมาณกระแสที่ไหลในสาย หรือให้เหมาสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรนั้น
- จุดต่อสายไฟ การเข้าสายต้องขันให้แน่น และมีการพันฉนวนให้เรียบร้อย
- สายไฟฟ้า ต้องไม่เดินอยู่ใกล้สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะเป็นสาเหตูที่่ทำให้ฉนวชำรุดง่าย ซึ่งก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
- สายไฟ ไม่ควรที่จะอยู่ใกล้ หรือสัมผัวกับโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก หรือส่วนที่เป็นโลหะทั้งสิ้น เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
เป็นอย่างไรกันบ้างกับวิธีเก็บสายไฟ ที่เรานำมาฝากกัน หวังว่าไอเดีย เก็บสายไฟ ง่าย ๆ แบบนี้ เมื่อใครได้ลองทำตามดูแล้ว จะช่วยแบ่งเบาการทำความสะอาดบ้านได้ง่ายขึ้น และทำให้บ้านน่าอยู่มองไปทางไหนไม่รกตาสวยไปทุกมุมมอง ????
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
สำหรับใครที่สนใจตัวช่วยในการเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เราขอแนะนำ ที่แขวนเครื่องมือช่าง สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน
เลือกซื้อ เลือกดูสินค้า คลิกเลย ????