หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “บัลลาสต์” กันมาบ้างแล้ว แต่หลายคนคงยังไม่รู้จักว่ามันคืออะไร บทความนี้ KACHA จะพาทุกคนไปรู้จักบัลลาสต์ จะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกัน
บัลลาสต์ คืออะไร?
บัลลาสต์ (Ballast) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปที่หลอดให้มีความเหมาะสม และสม่ำเสมอตามแต่ประเภท และชนิดของหลอดไฟ โดยส่วนมากใช้กับหลอดประเภทฟลูออเรสเซนต์ และหลอดประเภทคายประจุความดันสูง แบ่งออกได้ 2 ชนิด ดังนี้
บัลลาสต์แกนเหล็ก (Magnetic Ballast)
บัลลาสต์แกนเหล็กที่ใช้กันอยู่ทั่วไป จะเป็นชนิดความเหนี่ยวนำ แกนเหล็กประกอบขึ้นมาจากแผ่นเหล็กมาเรียงกัน และพันรอบด้วยขดลวดทองแดง มีการสูญเสียที่ 9-13 วัตต์ แล้วแต่คุณภาพของวัสดุ ขดลวดที่นำมาใช้และขนาดของหลอดไฟ ซึ่งจะทำให้บัลลาสต์มีอุณหภูมิใช้งานอยู่ที่ 55-70 องศาเซลเซียส ภายหลังมีการปรับปรุงคุณภาพบัลลาสต์ให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยมีความสูญเสียในแกนเหล็กต่ำ ไม่เกิน 6 วัตต์ อุณหภูมิใช้งานอยู่ที่ 35-50 องศาเซลเซียส แบ่งได้ดังนี้
- บัลลาสต์ขดลวดแกนเหล็กแบบธรรมดา เป็นบัลลาสต์ที่ใช้กันแพร่หลาย เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดที่พันรอบแกนเหล็ก จะทำให้แกนเหล็กร้อน ทำให้มีพลังงานสูญเสียประมาณ 20% ของพลังงานที่จ่ายให้ระบบแสงสว่างโดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 10-14 วัตต์ อุณหภูมิขณะการใช้งานจะอยู่ที่ช่วง 55 – 70 องศาเซลเซียส ให้ค่าประกอบกำลังต่ำ (pf)
- บัลลาสต์ขดลวดแกนเหล็กประสิทธิภาพสูง หรือบัลลาสต์โลลอส เป็นบัลลาสต์ที่ทำด้วยแกนเหล็ก และขดลวดที่มีคุณภาพดี ทำให้มีการสูญเสียพลังงานจะลดลงเหลือ 5-6 วัตต์ อุณหภูมิขณะการใช้งานต่ำกว่าแบบแกนเหล็กธรรมดาโดยจะอยู่ที่ช่วง 35-50 องศาเซลเซียส ให้ค่าประกอบกำลังต่ำ (pf)
ราคาต่ำ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมาก ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่น แรงดันไม่คงที่ อุณหภูมิสูง ช่างติดตั้งได้ง่าย และคุ้นเคยเป็นอย่างดี หาซื้อได้ทั่วไป |
มีการสูญเสียในแกนเหล็ก ประมาณ 6-13 วัตต์ เกิดความร้อน มีเสียงรบกวน มีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ต่ำ ที่ pf = 0.27-0.52 ใช้เวลาในการจุดหลอดประมาณ 2-3 วินาที มีการกระพริบ เมื่อหลอดไฟฟ้า บัลลาสต์ และสตาร์ทเตอร์เสื่อม ซึ่งนอกจากจะเปลืองไฟแล้ว ยังมีโอกาส ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้อีกด้วย |
บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์
บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้คู่กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ เพื่อทดแทนบัลลาสต์แบบแกนเหล็ก โดยอาศัยหลักการกระแสไฟฟ้าสลับความถี่สูง ในการลดการสูญเสียกำลังของบัลลาสต์แกนเหล็ก สามารถช่วยจุดหลอดได้โดไม่ต้องใช้ สตาร์ทเตอร์ บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปแล้ว จะมีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ต่ำ จึงต้องใช้อุปกรณ์ปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ร่วมด้วย โดยอยู่ในรูปของขดลวดเหนี่ยวนำ หรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ลดการสูญเสียที่ตัวบัลลาสต์ประมาณ 8-9 วัตต์ (สำหรับหลอดฟลูเรสเซนต์ขนาด 18 และ 36 วัตต์) ไม่มีเสียงครางของบัลลาสต์ มีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์สูง pf > 0.96 สามารถให้แสงสว่างได้ทันทีไม่มีการกระพริบและหรี่แสงได้ มีวงจัดตัดแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าเมื่อผิดปกติ อายุการใช้งานของหลอดมากขึ้น ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงได้ ไม่ต้องใช้บัลลาสต์ช่วยในการจุดหลอด |
ราคาสูง อายุการใช้งานสั้นกล่าบัลลาสต์แกนเหล็ก มีข้อจำกัดในการใช้งานในสถานที่ที่อุณหภุมิสูง มีฝุ่น ละอองน้ำ ไอน้ำมัน หรือแรงดันที่ไม่คงที่ มีข้อเสียเรื่องการกำจัดขยะ เนื่องจากไม่สามารถนำมา Recycle ได้เหมือนบัลลาสต์แกนเหล็ก |
บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ ที่เราได้ยิน ทำหน้าที่อะไร?
บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับการต่อวงจรของหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยปกติแล้ว จะต้องใช้อุปกรณ์เสริม 3 อย่าง คือ บัลลาสต์ สตาร์ทเตอร์ และตัวเก็บประจุ จึงจะครบวงจร ซึ่งหน้าที่ของอุปกรณ์ทั้ง 3 ชิ้นนี้ คือ
- บัลลาสต์ชนิดขดลวด คือ บัลลาสต์ที่มีขดลวดพันอยู่บนแกนเหล็ก มีหน้าที่เพิ่มแรงดันในการจุดหลอดให้ติด และรักษากระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านหลอดให้เหมาะสมกับขนาดวัตต์ของหลอด
- สตาร์ทเตอร์ ช่วยในการเริ่มจุดหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ทำงาน
- ตัวเก็บประจุ มีหน้าที่เพิ่มค่าประกอบกำลัง (Power Factor) ของวงจร แต่บางครั้งก็ไม่ใส่ตัวเก็บประจุในวงจร เพื่อลดต้นทุนในการติดตั้ง
บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์เสีย ตรวจเช็คได้อย่างไร?
กรณีสตาร์ทเตอร์ สามารถเอาไปลองกับชุดหลอดอื่นได้เลย อาการเสียมี 2 แบบ คือ
- ถ้าสตาร์ทเตอร์ขาด คือ ใส่แล้วเหมือนไม่ใส่คือหลอดไม่กระพริบไม่มีอาการใดๆ
- ถ้าสตาร์ทเตอร์ช็อต คือ ใส่แล้วหลอดจะติดส้ม ๆ ที่หัวท้าย และจะค้างอยู่อย่างนั้นตลอด ไม่ติดสว่างตามปกติ กรณีนี้ อาจจะเกิดจากทิ้งไว้นาน เพราะบัลลาสต์จะร้อนจัดมาก ซึ่งการทดสอบแบบนี้ ไม่มีทางที่สตาร์ทเตอร์ จะไปทำอะไรอย่างอื่นเสียได้
กรณีบัลลาสต์เสีย มี 2 แบบอีกเช่นกัน คือ
- เสียแบบขดลวดขาด คือ ใส่แล้วหลอดไม่ติด ไม่มีไฟเข้า ไม่กระพริบใด ๆ เลย ถ้าเป็นแบบนี้ ถอดไปลองรางไฟอื่นก็ไม่ทำอะไรเสีย
- เสียแบบขดลวดช็อตรอบ คือ จำนวนรอบที่พันไว้รอบหลัง ๆ มันไปช็อทกับลวดรอบอื่น ๆ ที่พันไปก่อน ผลคือ จำนวนรอบที่เหลือในวงจรจะน้อยลง หากมันช็อตข้ามรอบมาก ๆ อาจทำให้มันเผาหลอดไฟได้ แต่โอกาสที่จะเป็นแบบนี้มันน้อยมาก ๆ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับบัลลาสต์ ที่เรานำมาฝากในวันนี้ หวังว่าจะทำให้กับผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจและได้ความรู้ไม่มากก็น้อยบทความหน้า KACHA จะมีอะไรดี ๆ มาฝากอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วย
สินค้าแนะนำจาก KACHA
เรามีสินค้ามากมายให้เลือก สินค้าทุกชนิด ทุกชิ้น ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ พร้อมการรับประกัน และบริการหลังการขายที่ประทับใจ คลิกเลย ????