แน่นอนว่ากับการ ปูกระเบื้อง ห้องใหม่ทั้งที เราทุกคนก็อยากจะไม่ให้มีปัญหา หนทางที่ดีที่สุดจึงเป็นการให้ผู้เชี่ยวชาญมาดูแลเรื่องการปูพื้นกระเบื้องให้ แต่อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งเราก็พบว่า แม้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญมาทำงานให้เรา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะได้งานที่ดีที่น่าพอใจเสมอไป ดังนั้น เพื่อไม่ให้ต้องมารู้สึกเสียดาย เสียใจ และเสียเวลาเสียเงินเพิ่มภายหลัง วันนี้ KACHA เรามีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับ ตรวจงานปูกระเบื้อง มาฝากกัน เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ห้องใหม่ กระเบื้องใหม่ ที่สวยงามอย่างที่ใจต้องการ
มารู้จักการ ปูกระเบื้อง มีแบบไหนบ้าง?
วิธีการปูกระเบื้องที่ช่างนิยม โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ การปูกระเบื้องแบบซาลาเปา การปูกระเบื้องแบบกึ่งเปียก และ การปูกระเบื้องแบบใช้กาวซีเมนต์ หรือปูนกาว ซึ่งแต่ละวิธีจะมีลักษณะการทำงานและมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้
ปูกระเบื้องแบบซาลาเปา
เป็นการนำปูนมาโปะตรงกลางหลังกระเบื้อง ไม่ได้เกลี่ยให้ทั่วแผ่น วิธีนี้ช่างนิยมใช้เพราะสะดวก รวดเร็ว ไม่เลอะเทอะ
???????? ข้อเสีย คือ การเกลี่ย หรือปาดปูนไม่ทั่วแผ่น จะทำให้เกิดโพรง หรือช่องว่างใต้กระเบื้อง ซึ่งส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นที่บริเวณหัวมุมทั้ง 4 ด้าน หรือบริเวณใกล้ขอบของกระเบื้อง เสี่ยงต่อการแตกร้าว และหลุดล่อนได้ง่าย ดังนั้น การปูกระเบื้องด้วยวิธีการนี้ จึงเป็นวิธี ที่เราไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง
ปูกระเบื้องแบบกึ่งเปียก (ปูนขี้หนู หรือขุยหนู)
วิธีนี้จะเป็นการปรับระดับพร้อมปูกระเบื้องไปในตัวทำได้โดยการนำปูนซีเมนต์ มาผสมกับทราย ในอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ทราย 3-4 ส่วน คลุกให้เข้ากันแล้วเติมน้ำผสมลงไปเพียงเล็กน้อย พอหมาด ๆ แล้วนำไปเทปรับพื้นให้ได้ระดับที่ต้องการปาดกาวซีเมนต์ด้านหลังกระเบื้อง พรมน้ำบนปูนขี้หนูอีกเล็กน้อย นำกระเบื้องแปะลงไปแล้วเคาะให้ได้ระดับ ช่างส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการปูแบบนี้ เพราะเป็นวิธีที่ช่างถนัดเรียนรู้ และทำต่อ ๆ กันมาจนเคยชิน ประกอบกับรูปแบบการเทคอนกรีต หรือเทปูนทับหน้า ยังคงกำหนดระดับเท ที่เหลือเผื่อไว้ให้เป็นความหนาของกระเบื้องและวัสดุปู มากถึงประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้ปูนกาว หรือกาวซีเมนต์เพียงอย่างเดียวมาปูกระเบื้องได้ เนื่องจากกาวซีเมนต์ในบ้านเรา ส่วนใหญ่ ออกแบบมาเพื่อการทำงาน ในรูปแบบการ ปูบาง (Thin Bed) หากนำมาปาดบนพื้น ให้มีความหนา 2-4 เซนติเมตร แล้ววางกระเบื้องลงไป กระเบื้องก็จะจมลงไปในกาวซีเมนต์ และปรับระดับได้ยากมาก
???????? ข้อเสีย คือ ปูนขี้หนูที่อยู่ใต้กระเบื้อง มีโอกาสเคลื่อนตัวหรือยุบตัว ทำให้เกิดปัญหากระเบื้องกระเดิด หรือหลุดล่อนได้ หรือหากมีน้ำซึมลงไปตามร่องยาแนวได้ น้ำจะไปทำปฏิกริยากับปูนขี้หนู ส่งผลให้เกิดคราบขาวบริเวณขอบกระเบื้องได้ ตลอดจน เรื่องของสัดส่วนการผลม ก็มักจะไม่มีความสม่ำเสมอ ส่งผลต่อการยึดเกาะของกระเบื้องด้วยเช่นกัน
หากเป็นไปได้อยากแนะนำให้ ทำการเทปรับพื้นให้ได้ระดับเสียก่อน โดยเหลือความหนาไว้สำหรับความหนาของกระเบื้อง หรือหิน และความหนาของกาวซีเมนต์ เพียง 3-5 มิลลิเมตร เท่านั้น
ปูกระเบื้องแบบใช้กาวซีเมนต์ หรือปูนกาว
วิธีการนี้ ช่างจะต้องทำการเทปรับพื้นให้เรียบได้ระดับ โดยเหลือความหนาไว้สำหรับความหนาของกระเบื้อง หรือหิน และความหนาของกาวซีเมนต์ เพียง 3-5 มิลลิเมตรเท่านั้น จากนั้นก็ทำการผสมปูนกาว โดยใช้น้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ใช้สว่านปั่นประมาณ 3 นาที รอให้เคมีบ่มตัวเล็กน้อย แล้วก็นำไปปาดลงบนพื้น-ผนัง ด้วยเกรียงหวีตามขนาดที่เหมาะสม
???????? ข้อดี คือ
- ค่าการยึดเกาะสูงกว่า เนื่องจากปูนกาว หรือกาวซีเมนต์ จะมีส่วนผสมของผงกาวที่เป็นสารช่วยเพิ่มการยึดเกาะ ทำให้กระเบื้องติดแน่น ทนนาน ไม่หลุดล่อน
- การเตรียมส่วนผสมไม่ยุ่งยาก เพราะปูนกาวผสมสำเร็จรูปมาจากโรงงาน มีอัตราส่วนผสมที่แน่นอน ได้มาตรฐาน
- ไม่มีปัญหาการยุบตัว หรือคราบขาว เหมือนการปูด้วยปูนผสมทราย หรือปูนขี้หนู
???????? ข้อเสีย คือ อาจจะเป็นความรู้สึกส่วนบุคคล เช่น ไม่ค่อยถนัด ไม่ค่อยชิน ชอบทำแบบเดิม ๆ รู้สึกว่าขั้นตอนยุ่งยาก ต้องใช้เวลาในการเตรียมพื้นผิว ต้องปรับระดับให้ได้ดี ๆ ก่อนเป็นต้น
ข้อควรรู้ ตรวจงานปูกระเบื้อง แบบมือโปรทำได้อย่างไร?
-
ตรวจชนิดของกระเบื้อง
กระเบื้องที่ผู้รับเหมาใช้ปูพื้นต้องเป็นกระเบื้องพื้น (Floor Tile) เท่านั้น ห้ามเอากระเบื้องผนัง (Wall Tile) มาปูพื้นแทนเด็ดขาด เวลาที่เราเลือกกระเบื้องให้ผู้รับเหมา เราต้องดูด้วยว่าถูกแบบหรือไม่ เพราะกระเบื้องผนังนั้น เป็นกระเบื้องที่มีเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำสูง ความแข็งแกร่ง และการรับน้ำหนักน้อยกว่ากระเบื้องประเภทอื่น ๆ ผิวหน้ามักมีการทำลวดลายสวยงามหลากหลาย แต่ไม่ทนต่อการขูดขีด จึงเหมาะสำหรับงานผนังเท่านั้น ส่วนกระเบื้องพื้น เป็นกระเบื้องที่มีเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำปานกลาง มีความแข็งแรง และรับน้ำหนักได้มากกว่ากระเบื้องบุผนัง จึงสามารถนำมาใช้ได้ทั้งงานพื้น และงานผนัง ดังนั้น เลือกใช้ตามที่ผลิตมาดีกว่า
-
ตรวจลวดลายการปูกระเบื้อง
ดูที่ความสวยงามของกระเบื้องว่า ต้องมีสีสันและลวดลายแบบเดียวกัน ไม่มีแผ่นใดที่เด่นแปลกตาออกมา เนื่องจากถ้ากระเบื้องมาคนละรอบ จะทำให้ได้สีสันที่แตกต่างกันได้ (อย่าลืมขอกระเบื้องแผ่นที่เหลือไว้สำรอง กรณีต้องซ่อมแซมให้อนาคตด้วย) และหากมีการปูกระเบื้องแบบที่วางกระเบื้องเป็นลวดลายรูปภาพหรือเป็นแพทเทิร์นต่าง ๆ ให้ตรวจดูความถูกต้องในการปูกระเบื้องว่า เป็นไปตามแบบก่อสร้างหรือไม่ แล้วให้ดูแนวการปูกระเบื้องว่าต้องตรงกันเป็นแนว ไม่เบี้ยง หรือเฉไป-มา เราสามารถตรวจสอบได้โดยการมองด้วยตาเปล่า หรือลองเอาเชือกขึงดูว่าแนวกระเบื้องตรงหรือไม่
-
ตรวจดูความเรียบของกระเบื้อง
ก่อนอื่นอาจจะตรวจดูด้วยตาเปล่าก่อน ว่าการปูกระเบื้องทั้งห้องปูได้ระดับเสมอกันทั้งห้องหรือไม่ ถ้ามีจุดไหนที่น่าสงสัย ให้ลองเอาเหรียญวางระหว่างรอยต่อของแผ่น ถ้าใช้นิ้วกดแล้วเหรียญกระดกขึ้นมาได้ แสดงว่าปูกระเบื้องไม่ได้ระดับเสมอกัน เมื่อกระเบื้องไม่ได้ระดับเสมอกัน อาจจะเกิดจากการปูกระเบื้องที่ผิดวิธีก็เป็นไปได้
-
ตรวจวิธีการปูกระเบื้องที่ถูกต้อง
การปูกระเบื้องที่ถูกต้อง ต้องใช้กาวปูนซีเมนต์ และเกรียงหวีเกลี่ยให้กาวปูนหนาเท่ากันทั้งแผ่นก่อนวางปู เพื่อให้พื้นกระเบื้องเรียบ และติดแน่นสนิทกับพื้นอาคาร ไม่มีช่องว่างใต้พื้นกระเบื้องกับพื้น แต่หากพื้นกระเบื้องบ้านใครรู้สึกว่าเวลาเหยียบกระเบื้องแล้วได้ยินเสียงไม่เท่ากัน นั่นอาจเป็นเพราะช่างใช้การปูกระเบื้องแบบซาลาเปา หรือการเหยาะปูนลงเป็นก้อน ๆ แล้วเอากระเบื้องวางทับลงไป ทำให้ปูนใต้กระเบื้องไม่เต็มแผ่น และเกิดเป็นช่องว่างใต้กระเบื้อง หรือใช้การปูกระเบื้องแบบปูสด โดยปูกระเบื้องลงบนพื้นผิวปูนที่เทเสร็จใหม่ โดยอาศัยน้ำปูนมาเป็นส่วนยึดเกาะกับพื้นผิวปูน การปูกระเบื้องแบบนี้ จะทำให้กระเบื้องดูดน้ำปูนซีเมนต์ออกมา และแรงยึดเกาะของน้ำปูนจะน้อยกว่าการปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์ ทำให้กระเบื้องที่ปูหลุดร่อนได้
สำหรับวิธีการตรวจสอบการปูกระเบื้อง ให้ใช้มือหรือไม้ลองเคาะที่พื้นกระเบื้องหรือให้เท้าตบ ๆ ที่พื้น ถ้าทำแล้วรู้สึกเสียงไม่เท่ากัน พื้นกระเบื้องอาจจะไม่แน่นเหมือนมีโพรงอยู่ ซึ่งถ้าใช้ไปสักพัก พื้นกระเบื้องอาจจะหลุดออกมาได้ง่ายเพราะไม่มีแรงยึดที่แข็งแรงเพียงพอ ถ้าเจอแล้วอาจจะต้องแก้ไขด้วยการรื้อ เพื่อปูให้ถูกวิธีทั้งห้องเลย
-
ตรวจร่องยาแนวกระเบื้อง
ในการปูกระเบื้องนั้น ต้องเว้นช่องว่างระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่นอย่างน้อย 2-3 มิลลิเมตร และใช้ปูนยาแนวเป็นตัวปิด ยาวแนวควรมีสีใกล้เคียงกับกระเบื้อง หรือเลือกใช้สีขาวที่เข้ากันกับกระเบื้องทั่วไป โดยช่างต้องใช้ตัวกั้นในการปูเพราะจะทำให้กระเบื้องเว้นร่องยาแนวได้ที่สวยงามและยาวตรงเป็นแนวด้วย และถ้าเป็นกระเบื้องในห้องน้ำ ควรใช้ยาแนวชนิดกันเชื้อรา เพราะพื้นจะมีความชื้น นอกจากนี้ร่องยาแนวที่เรียบร้อยต้องดูเนียนเรียบไม่มีเศษปูนล้นร่อง ไม่มีก้อนปูนติดตามร่อง ไม่มีรูเล็ก ๆ ตามร่องยาแนวซึ่งอาจกลายเป็นที่อยู่อาศัยของมดแมลงได้ สามารถตรวจสอบได้โดยการใช้นิ้วลูบตามแนวร่อง
-
ตรวจความลาดเอียงของกระเบื้อง
พื้นห้องน้ำ หรือพื้นระเบียงนอกบ้าน ต้องมีการตรวจสอบระดับความลาดเอียงของพื้น ควรสูงต่างกันสัก 5 เซนติเมตร เพื่อให้น้ำบนพื้นสามารถไหลไปลงท่อระบายน้ำ หรือไหลออกนอกระเบียงได้ ตรวจสอบด้วยการลองใช้เหรียญกลิ้งดู หรือใช้เทน้ำ เพื่อดูว่าน้ำจะไหลไปทางไหน มีน้ำขังในบริเวณที่ปูกระเบื้องหรือไม่ ถ้าบ้านหรือคอนโดไม่ได้ทำลาดเอียงไว้ และทำให้น้ำขังได้ ต้องสั่งรื้อแก้ไขเลย เพราะถือเป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกเยอะ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับการ ปูกระเบื้อง ที่เรานำมาฝากกัน นอกจากหลักในการตรวจงานปูกระเบื้อง ข้างต้นแล้ว การหาช่างที่มีฝีมือและเข้าใจวิธีการปูกระเบื้องอย่างถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ????????
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :