กระจกกันเสียง คือ?
กระจกกันเสียง (Acoustic Glass) คือ กระจกที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะนำกระจกประเภทใดมาทำ ก็จะต้องมีความหนารวมไม่น้อยกว่า 12 มม. ในกรณีที่ใช้กระจกแบบ 2 ชั้น จะต้องมีช่องว่างระหว่างกระจก 70 มม.ขึ้นไป และควรมีค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ถ้าหากกระจกมีความหนามากกว่า 12 มม. ก็จะยิ่งมีค่า STC สูง ยิ่งค่า STC สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งป้องกันเสียงรบกวนได้มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
ค่ามาตรฐาน ที่ใช้กันในระดับสากล โดยค่า STC จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าค่าที่อยู่ในระดับใด จะเหมาะสมกับการป้องกันเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสอดคล้องกับประเภทพื้นที่การใช้งานแบบใดบ้าง และค่า STC นั้น สามารถแบ่งได้หลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับ จะมีความสัมพันธ์กับลักษณะเสียงรบกวนแบบต่าง ๆ มีดังนี้
- STC 30-39 : ลดความดังของเสียงพูดคุยปกติได้ แต่ยังเข้าใจเนื้อหาการสนทนา เหมาะกับ อาคาร ที่พักอาศัยทั่วไป
- STC 40-49 : สามารถป้องกันเสียงพูดคุยปกติได้ จนไม่เข้าใจ หรือจับใจความเนื้อหาการสนทนาไม่ได้ เหมาะกับ ร้านค้า ร้านอาหาร และอาคารสาธารณะทั่วไป
- STC 50-59 : ลดความดังของเสียงคนทะเลาะได้ แต่ยังจับใจความเข้าใจบทสนทนาได้ เหมาะกับ ห้องประชุม พื้นที่สำนักงาน พิพิธภัณฑ์ หรืออาคารพักอาศัยที่ต้องการความเป็นส่วนตัว
- STC 60-69 : ป้องกันเสียงรบกวนจากคนทะเลาะกัน และเสียงรถวิ่งได้เกือบ 100% เหมาะกับ ห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องอัดเสียงจัดรายการ หรือสนามบิน
- STC 70-74 : ลดความดังของเสียงดนตรีที่เล่นอีกฝั่งได้ แต่ยังได้ยินอยู่บ้าง เหมาะกับ โรงภาพยนตร์ โรงละคร หรือเธียเตอร์ สำหรับจัดงานคอนเสิร์ต
- STC 75 ขึ้นไป : ป้องกันเสียงรบกวนจากการเล่นดนตรีได้เกือบ 100% เหมาะกับ สถานบันเทิง
ส่วนประกอบของกระจกกันเสียง
ในการทำกระจกกันเสียงนั้น ประเภทกระจก ที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบ มีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
- กระจกชั้นเดียว (Single Glazing) คือ กระจกที่มี Layer เดียวแบบเดี่ยว ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระจกใส หรือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ เป็นต้น
- กระจกลามิเนต (Laminated Glass) คือ การนำกระจก 2 แผ่นขึ้นไป มาประกบกันแบบสนิท โดยมีชั้นฟิล์ม PVB (Polyvinyl Butyral), EVA (Ethylene-vinyl acetate) หรือ SentryGlas ขั้นกลางระหว่างกระจกทั้ง 2 แผ่น ซึ่งฟิล์ม จะช่วยยึดเกาะแผ่นกระจกไม่ให้ร่วงหล่นเวลาแตก
- กระจกสองชั้น (Double Glazing) คือ การนำกระจก 2 แผ่น จะใช้กระจกชั้นเดียว หรือกระจกลามิเนตก็ได้ มาประกบกัน โดยเว้นช่องว่างระหว่างกระจกไว้
ประเภทของกระจกกันเสียง
เราสามารถ แบ่งประเภทของ กระจกกันเสียง ได้ 4 ประเภท ดังนี้
|
|
|
ข้อดี-ข้อเสีย ของกระจกกันเสียง
ข้อดี
- มีความแข็งแรง ทนต่อการบุกรุก หรือโจรกรรม มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- สามารถทำความสะอาดได้ง่าย
- ช่วยลดรังสียูวี และป้องกันเสียงรบกวน จากภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย
- มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เพราะหนากว่ากระจกทั่วไป
- ขนาดของกรอบเฟรม มีขนาดที่กว้างขึ้นกว่ากระจกทั่วไป
เป็นอย่างไรกันบ้าง กระจกกันเสียง ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้หลาย ๆ คนได้รู้จักกับ กระจกประเภทนี้ให้มากขึ้น และสามารถนำไปใช้งาน ให้เหมาะสมกับสถานที่ และความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพกันด้วย ????
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก wazzadu.com