ฝ้าชายคา หรือ ฝ้าเพดานภายนอก เป็นส่วนที่ช่วยป้องกันความร้อนใต้หลังคา กันฝุ่น กันแมลง หรือตกแต่ง เพื่อปกปิดโครงฝ้า ให้ดูเรียบร้อย ซึ่งเป็นเหมือนด่านหน้า ที่ต้องพบกับทุกสภาวะอากาศ ทั้งอากาศร้อน จากแดด ความชื้น จากฝน แม้แต่ลม ที่อาจจะสร้างความเสียหายให้หลังคาบ้านได้ บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ฝ้าชายคา และขั้นตอนการติดตั้งฝ้าชายคา ที่ทำเองได้ ไม่ยาก จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
รู้จักกับ ฝ้าชายคา
ฝ้าเพดานภายนอก หรือฝ้าชายคา เป็นส่วนภายนอกของบ้าน ที่ทำหน้าที่ปิดช่องว่างระหว่างหลังคาบ้านกับตัวบ้าน ปิดโครงสร้างใต้หลังคา พร้อมทั้งปกป้องกันสัตว์ และแมลงฝ้า และจุดเด่น อีกหนึ่งอย่าง คือ มีรูระบายอากาศ จะช่วยระบายความร้อนใต้โถงหลังคาออกไป ซึ่งจะช่วยให้อุณหภูมิใต้โถงหลังคาลดลง เป็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้อุณหภูมิภายในบ้าน เย็นสบายยิ่งขึ้นนั่นเอง
วัสดุทำฝ้าชายคา เลือกอย่างไร?
ฝ้าชายคาเป็นส่วนที่อยู่ภายนอกบ้าน การเลือกใช้วัสดุที่ใช้เป็นฝ้า วัสดุที่ใช้เป็นอีกหนึ่งรายละเอียดที่เจ้าของบ้าน ควรมีความรู้ก่อนตัดสินใจเลือก เพราะแต่ละวัสดุ จะให้อารมณ์ ความสวยงาม และมีคุณสมบัติต่างกัน บางชนิดเหมาะสำหรับใช้ภายในเท่านั้น ไม่เหมาะใช้เป็นฝ้าภายนอก หากใช้ฝ้าชายคาผิดชนิด จะทำให้ระยะเวลาการใช้งานสั้นลง และเปลืองงบประมาณมากขึ้น สำหรับวัสดุที่นิยมใช้ แบ่งได้ ดังนี้
1) ฝ้าไม้
ไม้แท้ มีจุดเด่นที่สี ลวดลาย และเนื้อสัมผัส ที่เป็นธรรมชาติ มีคุณสมบัติ ไม่ดูดซับความร้อน แต่จะมีเพียงไม่กี่ชนิดที่ทนต่อสภาพอากาศ และใช้งานภายนอกได้ เช่น ไม้สัก ซึ่งมีราคาสูง เมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่น ๆ ต้องมีการดูแลรักษาที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาปลวกกินไม้ เปื่อยผุง่าย บิด หรือโก่งงอไปตามสภาพอากาศ แถมมีน้ำหนักมาก สำหรับการติดตั้งฝ้าไม้ ช่างต้องเว้นร่องเผื่อระยะการบิด หรือโก่งงอของแผ่นไม้ไว้ด้วย ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยระบายความร้อนจากหลังคาได้ ส่วนราคานั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้
2) ฝ้าชายคาไม้ระแนง
ฝ้าชายคาไม้ระแนง เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้ มีส่วนผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ซิลิก้า และเส้นใยเซลลูโลส มีผิวสัมผัส ทั้งลายลึก และแบบเรียบ ได้อารมณ์เหมือนเนื้อไม้จริง ทนทานแดด ทนฝน ปลวกไม่กิน เหมาะสำหรับงานตกแต่งฝ้าชายคาภายนอก สวยทน ไม่ลอกล่อน ด้วยเทคโนโลยีเคลือบสี ท่ช่วยป้องกันเชื้อรา บำรุงรักษาง่าย การติดตั้งสามารถทำได้ทั้งแบบชิดชน และแบบตีเว้นระยะ จะช่วยลดความร้อนใต้หลังคาได้ดีเช่นกัน
3) ฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์
เป็นวัสดุที่มีส่วนประกอบจากปูนซีเมนต์ ทราย ผสมกับเส้นใยธรรมชาติ จึงทำให้มีความยืดหยุ่น และเหนียว มากกว่าแผ่นยิปซัม นอกจากนี้ ยังมีความแข็งแรง ทนทานทุกสภาพอากาศ นำความร้อนต่ำ ไม่ลามไฟ ไม่โก่ง หรือบิดงอ สามารถนำไปตกแต่งเป็นฝ้าเพดานภายนอกได้ มีทั้งแผ่นฝ้าแบบเรียบ แผ่นฝ้าเซาะร่อง และฝ้าระบายอากาศ สำหรับชายคา
ข้อเสีย คือ พื้นผิวของแผ่นฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ จะไม่ค่อยเรียบเนียน หากเป็นงานฝ้าเพดาน ที่ต้องการความต่อเนื่อง จะเหมาะกับ การตีเว้นร่องมากกว่าการฉาบรอยต่อให้เป็นพื้นผิวเดียวกัน
4) ฝ้าชายคาสมาร์ทบอร์ด
มีคุณสมบัติ แข็งแรง ทนทาน สามารถทนความชื้นได้ดี ไม่เปื่อยยุ่ย ทนแดด ปลวกไม่กิน เหมาะกับการใช้งานภายนอกโดยเฉพาะ ออกแบบให้มีรูระบายอากาศรูปแบบต่าง ๆ จึงช่วยระบายความร้อนบริเวณโถงหลังคาได้เป็นอย่างดี พร้อมติดตั้งตาข่ายกันแมลงสำเร็จรูปมาจากโรงงาน ทำให้ติดตั้งง่ายและประหยัดเวลาในการทำงานมากยิ่งขึ้น
5) ฝ้าชายคาไวนิล
ผลิตจาก UPVC หรือ Unplasticized Poly Vinyl Chloride มีจุดเด่น น้ำหนักเบา ไม่สร้างภาระให้โครงสร้าง เหมาะกับภูมิอากาศร้อนชื้น สามารถทนน้ำ ทนความชื้นได้ดี ไม่บิดงอง่าย มีทั้งดีไซน์แบบเรียบ และแบบมีรูระบายอากาศบนแผ่นฝ้า ที่ช่วยลดความร้อนใต้หลังคาได้อีกด้วย
6) ฝ้ายิปซัม
ผลิตจากผงแร่ยิปซัม ที่อัดปิดทับหน้าหลังด้วยกระดาษ ทำให้มีคุณสมบัติเด่น ที่น้ำหนักเบา ไม่สร้างภาระให้โครงสร้างหลังคา ผิวเรียบ ติดตั้งง่าย และราคาถูก เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว จะได้แผ่นฝ้าที่เหมือนไม่มีรอยต่อ ดูสวยงาม ฝ้าชนิดนี้ นิยมติดตั้งแบบชิดชน สามารถฉาบ และแต่งปิดรอยต่อได้เรียบเนียน
ข้อเสีย คือ ไม่ทนความชื้นจากฝน หากนำมาใช้ภายนอก จะมีปัญหาในเรื่องของการขยายตัว แอ่นตัว และผุพังเปื่อยยุ่ยง่าย ควรเลือกรุ่นที่ทนความชื้น ที่มีคุณสมบัติ ป้องกันการซึมผ่านของหยดน้ำ ทำให้ทนความชื้นได้มากขึ้น
วิธีติดตั้ง ฝ้าชายคา
- หาแนวระดับ หาระดับท้องฝ้า และระดับท้องโครงหลัก พร้อมตีเส้นชอล์ก โดยที่ระดับท้องโครงหลักอยู่เหนือระดับท้องฝ้า 2.5 เซนติเมตร
- ติดตั้งโครงหลัก ติดตั้งโครงหลักกับผนัง และชายคาทุกระยะ 45 เซนติเมตร ในกรณีที่ชายคา ยื่นยาวออกจากผนังบ้าน มากกว่า 1.20 เมตร ให้เสริมโครง C-Line แนวตั้ง ยึดโครงหลักเข้ากับจันทันทุกระยะของโครงหลัก
- ติดตั้งโครงซอย ติดตั้งโครงซอยกับโครงหลักทุกระยะ 45 เซนติเมตร โดยที่โครงซอยตัวริม ห่างจากผนัง ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ในกรณีเชิงชายตรง ตั้งฉากกับพื้น ให้ระยะโครงซอยริมเชิงชาย ห่างจากไม้เชิงชาย 1.5 เซนติเมตร และถ้าหากเชิงชายเอียง ทำมุมกับพื้น ให้ระยะโครงซอยริมเชิงชาย ห่างจากไม้เชิงชาย 2.5 เซนติเมตร เพื่อให้ยิงสกรูดำ เข้ากับ C-Line ด้านบนได้
- การติดตั้งโครงฝ้า บริเวณมุมบ้าน เข้ามุม 45 องศา ให้ใช้เหล็กโครงฝ้า วิ่งคู่ ระยะห่างกัน 3 เซนติเมตร จากมุมผนัง ไปหามุมเชิงชาย เพื่อรับกับคิ้วฝ้ายริเวณมุม
- ติดตั้งคิ้วฝ้า (J-Channel) กับโครงซอยรับคิ้ว บริเวณผนัง ริมเชิงชาย และรอยต่อแผ่นบริเวณมุมชายคาบ้าน โดยยึดด้วยสกรูเกลียวปล่อย ทุกระยะ 30 เซนติเมตร
- การติดตั้งแผ่น ฝ้าชายคา จะติดตั้งในแนวฉากกับผนังบ้าน ออกมาเสมอคิ้ว J-Channel ด้านยาวเสมอ ไม่แนะนำให้วางแนวรูปลอนฝ้าขนานกับแนวผนัง หรือเชิงชาย ส่วนการตัดขนาดแผ่นฝ้า ให้วัดจากระยะของปีกคิ้วฝ้า แล้วบวกเผื่อนด้านละ 1 เซนติเมตรโดยรอบ เพื่อให้แผ่นฝ้าซ่อนปลายในคิ้วฝ้าทั้ง 2 ด้านได้พอดี การติดตั้ง แผ่นแรก ให้เริ่มที่มุม หรือคิ้วฝ้าด้านใดด้านหนึ่ง โดยให้ด้านที่เป็นเขี้ยว ยึดแผ่นสอดเข้าเข้าในคิ้วฝ้า จากนั้น ยิงด้วยสกรู ควรตัดแผ่นฝ้าย สอดเข้าในคิ้ว ประมาณ 1 เซนติเมตร หรือยิงสกรูจากด้านบน ผ่านตัวคิ้วฝ้าลงด้านล่างเพื่อป้องกันการเคลื่อนหลุดของแผ่นแรก จากนั้นครอบเหล็กเสริมแรงที่ร่องยึดสกรู แล้วยึดสกรูเข้ากับโครงซอย และทำการติดตั้งแผ่นถัดไป โดยการเกี่ยวแผ่น แล้วยึดสกรู จนเต็มพื้นที่ฝ้าชายคา
- เมื่อติดตั้งครบเรียบร้อยแล้ว เก็บความเรียบร้อย โดยใช้ยาแนวบริเวณรอยต่อของผนัง คิ้วฝ้า และในจุดที่เป็นรอยตัดคิ้วฝ้า จากนั้น ทำความสะอาดแผ่าน ฝ้าเพดานภายนอก หลังจากติดตั้งด้วยน้ำสบู่ ล้างออกด้วยน้ำสะอาด และใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง
จบไปแล้วกับ ฝ้าชายคา ฝ้าเพดานภายนอก ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้หลาย ๆ คน รู้จักกันมากขึ้น และเลือกใช้ตามความเหมาะสมกันแล้วใช่ไหม ขั้นตอนการติดตั้ง ก็ไม่ยากอย่างที่คิด ลองนำข้อมูลที่เราได้มาแชร์กันนี้ ไปเป็นแนวทางดูนะจ๊ะ บทความหน้าจะมีอะไรดี ๆ มาฝากกัน ติดตามกันเหมือนเดิมจ้า ????
- บ้านเพดานสูง บ้านโปร่ง โล่งสบาย ข้อดีเป็นอย่างไร? สูงแค่ไหนถึงจะดี
- “ฝ้าเพดาน” มีกี่แบบ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก scgbuildingmaterials.com