รู้จักกับ “ดอกต๊าปเกลียว” มีกี่ประเภท เลือกใช้งานให้เหมาะสม
หลาย ๆ คน อาจจะเคยได้ยิน หรือคุ้นหูกับ ดอกต๊าปเกลียว (Tapping) กันมาบ้างแล้ว เป็นอุปกรณ์สำหรับสร้างรูเกลียวในวัสดุต่าง ๆ เพื่อเชื่อมต่อวัสดุให้เข้ากันอย่างพอดี ด้วยการหมุนเกลียว ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับดอกต๊าปเกลียวกัน จะมีแบบไหนบ้างนั้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลย
ประเภทของดอกต๊าปเกลียว
ดอกต๊าปเกลียวนั้น มีหลากหลายแบบตามการใช้งาน และปัจจุบันดอกต๊าปเกลียว ที่ได้รับความนิยม มีดังนี้
ดอกต๊าปร่องตรง
เป็นดอกต๊าปเกลียว ที่ใช้บ่อยที่สุด ดอกต๊าปร่องตรง ทำจาก เหล็กกล้าความเร็วสูง และซีเมนต์คาร์ไบด์ สามารถมีฟัน 2, 4 และ 6 ซี่ในกรวยตัด ใช้ได้ดีในงานเหล็กหล่อ และชิ้นงานขนาดเล็ก สามารถทำได้ทั้งเกลียวแบบรูตัน และแบบรูทะลุ ข้อเสีย คือ เศษจากการตัดแบบรูตัน จะอยู่ภายในรูเกลียว หากไม่ทำการเป่าเอาเศษออก อาจจะทำให้ดอกต๊าปหักคาติดอยู่กับชิ้นงานในขณะทำเกลียวได้
ดอกต๊าปปลายร่องเฉียง
เหมาะกับการทำเกลียวแบบรูทะลุ งานที่ต้องการความเร็วในการต๊าปสูง มีลักษณะคล้ายกับดอกต๊าปร่องตรง ข้อดี คือ บริเวณปลายของดอก จะมีร่องที่ช่วยในการดันเศษวัสดุไปด้านหน้า และไหลออกสู่ภายนอกที่ด้านล่างของรูเจาะ ทำให้เศษไม่ติดอยู่ในรูที่ทำการต๊าปนั่นเอง
ดอกต๊าปร่องเลื้อย
ใช้ทำเกลียวแบบรูตัน เนื่องจากมีร่องเลื้อย ทำหน้าที่ในการระบายเศษ ในขณะทำเกลียว เศษของวัสดุจะถูกดันกลับออกมาตามร่อง ย้อนขึ้นมาทางปากรู เหมาะสำหรับการใช้งานกับวัสดุกลุ่มเหล็กเหนีย วหรือวัสดุที่มีเศษยาว
ดอกต๊าปรีดเกลียว
จะสร้างเกลียวด้วยการรีด หรืออัดขึ้นรูปวัสดุภายในรู จะแตกต่างจากดอกต๊าปชนิดอื่น ๆ ที่ขึ้นรูปด้วยการตัดเฉือน ทำให้การทำเกลียวด้วยดอกต๊าปนี้ ไม่มีเศษเกิดขึ้นเลย เพราะเศษถูกอัดเข้าไปในเนื้อเกลียว ข้อดี คือ ทำให้เกลียวมีความแข็งแรงขึ้น เหมาะกับการทำเกลียวในวัสดุประเภทที่ไม่แข็งมาก เช่น เหล็กคาร์บอนต่ำ หรืออะลูมิเนียม
ดอกต๊าปมือ
การต๊าปเกลียวด้วยมือ แบบ Manual เป็นดอกต๊าปพื้นฐาน ที่นิยมใช้งานกัน จะมี 3 ดอก ดังนี้
- ดอกตัวเรียว (Taper Tap) เป็นตัวทำเกลียวตัวแรก โดยส่วนปลายเกลียว จะมีความเรียว ประมาณ 6-7 ฟัน ก่อนที่ฟันเกลียวจะเต็มรูปร่าง
- ดอกตาม (Plug Tap) เป็นดอกต๊าปตัวที่ 2 เพื่อสร้างเกลียวให้มีขนาดที่ใกล้เคียงกับที่ต้องการ สามารถใช้แทนเกลียวดอกแรกได้ หากวัสดุที่ต้องการทำเกลียวนั้น ไม่แข็งมากเกินไป ปลายเกลียวมีความเรียว อยู่ที่ 3-4 ฟัน
- ดอกสุดท้าย (Bottoming Tap) ดอกต๊าปเกลียวตัวนี้ ส่วนของเกลียว จะไม่มีส่วนที่เรียวเลย จึงใช้เป็นตัวสุดท้าย เพื่อทำเกลียวให้สมบูรณ์นั่นเอง
วิธีการใช้งานดอกต๊าปเกลียว
การต๊าปนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การต๊าปด้วยมือ และการต๊าปด้วยเครื่องจักร
วิธีการต๊าปมือ
- เลือกดอกต๊าปให้เหมาะสมกับชิ้นงาน รูปแบบ ประเภทของรู และประเภทของเกลียว
- เจาะรูตามขนาดที่คำนวณไว้ โดยมีความลึกเกลียว ไม่น้อยกว่า 75%
- ยึดชิ้นงานด้วยอุปกรณ์ยึดจับ เช็คด้วยว่า ไม่ขยับเขยื้อน เมื่อมีการหมุน
- ใส่ดอกต๊าปลงในรูที่ต้องการทำเกลียว และดอกต๊าป จะต้องตั้งฉากกับชิ้นงาน หากเอียง อาจทำให้ดอกต๊าปหักได้
- หมุนดอกต๊าปตามเข็มนาฬิกา ราว ¼ รอบ แล้วหมุนกลับ เพื่อให้เศษวัสดุหลุด แล้วหมุนต่อจากตำแหน่งสุดท้ายไปเรื่อย ๆ อีกทีละ ¼ รอบ ทำต่อเนื่องด้วยแรงเท่าเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงการแตกหักของดอกต๊าป
- หยอดน้ำมันคลายความร้อน เมื่อรู้สึกว่าวัสดุมีความร้อน และทำความสะอาดรู เป็นระยะ ๆ ด้วย
- ทำซ้ำกันจนได้ลักษณะและความลึกของรูที่ต้องการ ถ้าเกิดอาการติดในจุดใดจุดหนึ่ง ต้องดึงดอกต๊าปออกมาตรวจสอบ
- เปลี่ยนดอกต๊าป เป็นดอกที่ 2 และดอกที่สาม ทำซ้ำขั้นตอนข้างต้น เพื่อก็บงาน จากนั้น ตรวจสอบความเรียบร้อย และตกแต่งชิ้นงาน
วิธีการต๊าปด้วยเครื่องจักร
การต๊าปเกลียว ด้วยเครื่องจักร ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำ ของเครื่องจักรนั้น ๆ หรือขอคำแนะนำจาก วิศวกร หัวหน้างาน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
จบไปแล้วกับความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับดอกต๊าปเกลียว ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้หลาย ๆ คนรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดนนี้กันมากขึ้นแล้วใช่ไหม หวังว่าเนื้อหาในบทความ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ บทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ มาฝากกันนั้น อย่าลืมติดตามด้วยนะ
บทความดี ๆ ที่น่าอ่าน:
- รู้จัก เหล็กสกัด มีกี่ประเภท การใช้งานเป็นแบบไหนบ้าง?
- “10 อุปกรณ์ช่างประจำบ้าน” ที่ทุกบ้านต้องมี!
- “สว่าน” มีกี่ประเภท? ใช้งานแบบไหน?
- ดอกสว่าน มีกี่แบบ ใช้งานอย่างไรจึงจะเหมาะสม
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????
อ้างอิงข้อมูลจาก: drilltools.org, sumipol.com, factorymax.co.th