“ป้ายความปลอดภัย” คืออะไร สัญลักษณ์ความปลอดภัย มีอะไรบ้าง?
การทำงานในสถานที่ต่าง ๆ ทั้ง Indoor และ Outdoor สิ่งที่ควรคำนึงมากที่สุด คือ ความปลอดภัย รวมไปถึง ป้ายความปลอดภัย สัญลักษณ์ความปลอดภัย ต่าง ๆ ถือเป็นมาตรฐานระดับโลก ที่ทุกคนจะต้องรู้ บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ป้ายความปลอดภัย คืออะไร? ความหมาย และความแตกต่างของสีป้าย จะมีอะไรบ้าง? เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง
ป้ายความปลอดภัย คือ?
ป้ายความปลอดภัย(Safety Sign) คือ สัญลักษณ์ และความปลอดภัย เพื่อบ่งบอกถึงข้อควรปฏิบัติในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต การติดตั้งป้ายเพื่อแจ้งสิ่งที่ควรทำ ควรหลีกเลี่ยง ควรระมัดระวัง และอื่น ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสีของป้าย สัญลักษณ์ ภาพ รูปแบบ ข้อความสามารถสื่อสาร เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว โดยป้ายความปลอดภัย สัญลักษณ์ความปลอดภัย มีส่วนประกอบ 3 หลัก คือ
- สีป้าย เช่น สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีเขียว
- รูปทรงของป้าย เช่น วงกลม สามเหลี่ยมด้านเท่า และสี่เหลี่ยม
- เครื่องหมายเสริม
จำแนกสีและรูปทรงของป้ายความปลอดภัย
- เครื่องหมายห้าม (Prohibition sign) จะเป็นวงกลมพร้อมเส้นทแยงมุม มีความหมาย คือ ห้าม สีเพื่อความปลอดภัย คือ สีแดง สีของภาพหรือสัญลักษณ์ที่อยู่ด้านใน จะเป็นสีดำ เช่น ป้ายห้ามบุคคลภายนอกเข้า ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น
- เครื่องหมายเตือน (Warning sign) มีลักษณะเป็น สามเหลี่ยมด้านเท่า มีความหมาย คือ เตือนข้อควรระวังบ่งบอกถึงอันตรายที่อาจเกิด สีเพื่อความปลอดภัย คือ สีเหลือง สีของภาพหรือสัญลักษณ์ที่อยู่ด้านใน จะเป็นสีดำ เช่น ระวังกระแสไฟฟ้า ระวังพื้นลื่น เป็นต้น
- เครื่องหมายบังคับใช้ (Mandatory sign) จะเป็นวงกลม มีความหมาย คือ บังคับให้ปฏิบัติตาม สีเพื่อความปลอดภัย คือ สีฟ้า สีของภาพหรือสัญลักษณ์ที่อยู่ด้านใน จะเป็นสีขาว เช่น สวมหมวก สวมถุงมือป้องกัน ในขณะปฎิบัติงาน หรือป้ายบังคับเลี้ยว เป็นต้น
- เครื่องหมายแสดงสถานะปลอดภัย (Safe Condition sign) มีลักษณะเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความหมาย คือ สภาวะปลอดภัย สีเพื่อความปลอดภัย คือ สีเขียว สีของภาพหรือสัญลักษณ์ที่อยู่ด้านใน จะเป็นสีขาว เช่น เครื่องหมายพยาบาล ประตูหนีไฟ เป็นต้น
- เครื่องหมายเสริม คือ ส่วนของข้อความที่ใช้สำหรับอธิบายความหมายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ความปลอดภัยให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยจะใช้สีเดียวกันกับเครื่องหมายความปลอดภัย จะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส และจะระบุอยู่ด้านล่างของเครื่องหมายความปลอดภัยนั่นเอง
ประเภทของป้ายความปลอดภัย
ป้ายความปลอดภัยของประเทศไทย ใช้มาตรฐาน มอก. 635-2554 แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
- ป้ายห้าม
- ป้ายเครื่องหมายบังคับ
- ป้ายเครื่องหมายเตือน
- ป้ายเครื่องหมาย แสดงสถานะปลอดภัย
- ป้ายที่มีความเกี่ยวข้องกับอัคคีภัย
ป้ายความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร?
- แจ้งเพื่อเตือนให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ให้ระวัง และทำตามป้ายเตือน
- แจ้งเพื่อห้ามไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้ หรือห้ามปฏิบัติ
- แจ้งเพื่อให้พนักงานที่ทำงาน ทราบว่า พื้นที่ต่าง ๆ กำลังปฏิบัติงานอะไรอยู่ และต้องปฏิบัติงานอย่างไร
- แจ้งเพื่อให้ทุกคนห้ามเข้าใกล้สถานที่ก่อสร้าง โดยเฉพาะ ในจุดอันตราย
มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย มีอะไรบ้าง?
มาตรฐานของสัญลักษณ์เครื่องหมายความปลอดภัย มีหลายมาตรฐาน ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศที่ได้กำหนด เช่น ภาษา รูปภาพภายในป้าย เป็นต้น มีดังนี้
มอก.635-2554
เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ สี และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย โดยกำหนดสีและเครื่องหมาย ที่บ่งชี้ถึงความปลอดภัยในที่ทำงาน หรือพื้นที่สาธารณะ ดังนี้
- เครื่องหมายห้าม
- เครื่องหมายบังคับ
- เครื่องหมายเตือน
- เครื่องหมายแสดง สภาวะปลอดภัย
- เครื่องหมายแสดง อุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย
มาตรฐาน ISO 3864
เป็นมาตรฐานสากล ของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยในที่ทำงาน และที่สาธารณะ มีสัญลักษณ์เข้าใจง่าย ดังนี้
- ส่วนที่ 1 – ISO 3864-1:2011 หลักการออกแบบ ป้ายความปลอดภัย และความปลอดภัย
- ส่วนที่ 2 – ISO 3864-2:2016 หลักการออกแบบ ฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
- ส่วนที่ 3 – ISO 3864-3:2012 หลักการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิก เพื่อใช้ในป้ายความปลอดภัย
- ส่วนที่ 4 – ISO 3864-4:2011 คุณสมบัติสี และโฟโตเมตริกของวัสดุป้ายความปลอดภัย
มาตรฐาน ISO 7010
เป็นมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น เพลิงไหม้ การอพยพฉุกเฉิน โดยสัญลักษณ์เหล่านี้ จะใช้ตัวอักษรให้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่เป็นสากล อ้างอิงจากมาตรฐาน ISO 3864-1
มาตรฐาน ANSI Z535
เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ American National Standards Institute เป็นองค์กรอิสระ โดยได้กำหนดมาตรฐานไว้ทั้งหมด 6 ข้อเกี่ยวกับเครื่องหมายสัญลักษณ์ความปลอดภัย ที่เข้าใจง่าย ดังนี้
- สีแดง – สัญญาณอันตราย สัญญาณฉุกเฉิน วัตถุไวไฟ เป็นต้น
- สีเหลือง – การแจ้งเตือนเมื่อเกิดอันตรายทางกายภาพ
- สีฟ้า – สิ่งอำนวยความสะดวก หรืออื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
- สีเขียว – ความปลอดภัย รวมถึงการปฐมพยาบาล
- สีส้ม – สัญญาณเตือน และบอกถึงสถานะของอุปกรณ์ เครื่องจักร ที่กำลังอยู่ในระหว่างการทำงาน
- สีม่วง – สามารถกำหนดการใช้งานได้ตามสะดวกในสถานที่ของตัวเอง
ข้อควรระวังในการใช้ป้ายความปลอดภัย
สิ่งที่ควรคำนึงถึง ในการใช้งานป้ายความปลอดภัย คือ ความชัดเจนในการสื่อสาร ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งานป้ายที่รวมเครื่องหมายความปลอดภัยมากกว่า 1 ชนิด อยู่ในเครื่องหมายเดียวกัน เพื่อป้องกันการสับสน และอาจจะทำให้ปฏิบัติผิดพลาดได้
เป็นอย่างไรบ้าง สัญลักษณ์ความปลอดภัย ป้ายความปลอดภัยต่าง ๆ ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้หลาย ๆ คนหายสงสัย และได้ข้อมูล สำหรับนำไปปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน และปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เมื่อเจอป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ นี้ หวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้กลับไปไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- ข้อควรรู้ “แถบสี” ในโรงงาน เพื่อความปลอดภัย มีความหมายอะไรบ้าง?
- Push Button Switch คือ ? เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
- “Safety Switch” มีกี่แบบ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับโรงงาน
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย