“พาเลท (Pallet)” มีกี่ประเภท ประโยชน์และการเลือกใช้งานเป็นอย่างไร?
ไม่มีใครไม่รู้จัก ไม้พาเลท หรือ ลังไม้ที่ใช้วางของ ในโกดัง คลังสินค้าต่าง ๆ นั้น ซึ่งมีหลากหลายแบบตามการใช้งาน บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักประเภทของ พาเลท คุณสมบัติและการนำไปใช้งาน จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
รู้จักกับ พาเลท คือ?
Pallet คือ แท่นรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ใช้วางจัดเก็บสินค้า ในโกดัง คลังสินค้าใช้ในคลังสินค้า หรือธุรกิจที่มีการส่งสินค้าเกี่ยวกับโลจิสติกส์ มีการออกแบบ ให้ตัวฐาน มีช่องเอาไว้ให้รถยก หรือรถโฟล์คลิฟท์ (Forklift) เสียบเข้าไป เพื่อทำการขนย้ายสินค้าได้อย่างง่ายดาย และสะดวกสบายยิ่งขึ้น
พาเลท (Pallet) เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในคลังสินค้า เพราะจะทำหน้าที่จัดเก็บสินค้าต่าง ๆ ในคลังสินค้าให้ตามหมวดหมู่ และเป็นระเบียบ ทำให้หยิบจับ ค้นหาสินค้าได้ง่ายมากขึ้น แถมช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าได้ เพราะพาเลทนั้น จะสามารถวางซ้อนกันได้อีกด้วย
ขนาดมาตรฐานของพาเลท ที่นิยมใช้ มีดังนี้
- พาเลทมาตรฐาน Euro Pallet มีขนาด 80 x 120 เซนติเมตร เป็นขนาดมาตรฐานพาเลท ในกลุ่มประเทศฝั่งยุโรป
- พาเลทมาตรฐาน Japan Pallet มีขนาด 110 x 110 เซนติเมตร เป็นขนาดมาตรฐานพาเลท ที่ประเทศญี่ปุ่นกำหนดขึ้น
- พาเลทมาตรฐาน International Pallet มีขนาด 100 x 120 เซนติเมตร เป็นขนาดมาตรฐานพาเลทที่นิยมใช้ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
ประเภทของพาเลท มีอะไรบ้าง?
พาเลทนั้น มีหลากหลายวัสดุ แล้วแต่การเลือกมาใช้งาน โดยประเภทที่นิยมนำมาใช้งาน มีดังนี้
พาเลทไม้
เป็นไม้พาเลท ที่ทำจากไม้ เป็นพาเลทที่นิยมมากที่สุด เพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย สามารถเลือกประเภทของไม้ได้ มีความทนทานสูง สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก แต่ควรระวังปัญหาของเชื้อรา แมลง และปลวกกัดกิน
อ่านบทความ: ไม้พาเลท คืออะไร? ประโยชน์ที่มากกว่าการใช้เป็นลัง
พาเลทพลาสติก
เป็นอีกหนึ่งพาเลท ที่นิยมไม่ต่างจากพาเลทไม้ ทำจากพลาสติก มีความแข็งแรง มีความทนทานสูง น้ำหนักเบา ดูแลรักษาง่าย หมดกังวลเรื่องความชื้น ปลวก และแมลง สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ได้อีกด้วย
พาเลทกระดาษ
เป็น Pallet ที่ทำจากกระดาษ จุดเด่น คือ มีน้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการขนย้าย แต่ข้อเสีย คือ มีความแข็งแรงน้อย ไม่ทนต่อความชื้น และน้ำ รวมไปถึง การรับน้ำหนักได้ไม่ค่อยเยอะเหมือนพาเลทแบบอื่น ๆ นั่นเอง เหมาะสำหรับการส่งสินค้าทางอากาศ
พาเลทโฟม
พาเลทโฟม คือ พาเลทที่ผลิตจาก โฟมพลาสติกฉีดขึ้นรูป มีน้ำหนักเบาแต่แข็ง มีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย หมดปัญหาเรื่อง เชื้อรา ความชื้น และแมลง แต่มีข้อเสีย คือ รับน้ำหนักเยอะ ๆ ไม่ได้ และย่อยสลายยาก นิยมใช้ในการขนส่งทางอากาศ เช่นเดียวกับพาเลทกระดาษนั่นเอง
พาเลทเหล็ก
พาเลทเหล็ก คือ พาเลทที่ทำจากเหล็ก ที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง มีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้เยอะกว่าพาเลททุกชนิด ใช้งานได้นาน เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมหนัก ที่มีสินค้าหนักมาก ๆ
- ข้อดี มีความแข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน
- ข้อเสีย มีน้ำหนักมาก ไม่เหมาะกับการส่งออก
พาเลทเหล็กนั้น ไม่เหมาะสมใช้การใช้คู่กับ Forklift ในการเคลื่อนย้าย เพราะมีน้ำหนักมาก อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้
การดูแลรักษาพาเลท ทำได้อย่างไร?
ซึ่งพาเลทแต่ละชนิด มีความแตกต่างกัน การดูแลรักษาขึ้นอยู่กับประเภทของพาเลทด้วย ดังนี้
- พาเลทไม้ ปกติจะมีการเคลือบน้ำยากันปลวกอยู่แล้ว หากโดนน้ำ ควรรีบนำไปตากให้แห้ง เมื่อมีคราบให้ใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำอุ่นเช็ด
- พาเลทพลาสติก พาเลทโฟม ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้น สามารถทำความสะอาด และเก็บรักษาได้ง่าย และไม่ควรจัดเก็บพาเลทพลาสติกไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดจัด อาจจะทำให้พลาสติกกรอบ และแตกหักได้
- พาเลทกระดาษ มีความทนทานน้อย ควรหลีกเลี่ยงจัดเก็บในพื้นที่ที่มีความร้อนชื้น เพราะจะทำให้เปื่อยยุ่ยง่าย และอย่าเก็บพาเลทกระดาษไว้ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายจากการเกิดเพลิงไหม้ด้วย
- พาเลทเหล็ก หากนำไปใช้งานในที่ที่มีความชื้นสูง ควรทาน้ำยาเพื่อป้องกันการเกิดสนิมด้วย
สำหรับการเคลื่อนย้ายพาเลท ควรใช้รถยก หรือรถโฟล์คลิฟท์ ไม่ควรดึง หรือลากพาเลทไปกับพื้น เพื่อป้องกันการกระแทกของพาเลท จะช่วยยืดอายุการใช้งานพาเลทได้ยาวนานขึ้นนั่นเอง
จบไปแล้วประเภทของพาเลท ที่นิยมใช้ในโกดัง คลังสินค้าต่าง ๆ Pallet แต่ละแบบก็มีข้อจำกัดในการใช้งานที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเลือกใช้งานให้เหมาะสมด้วย เพื่อการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพ ติดตามสาระดี ๆ ได้อีกในบทความหน้านะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th