รู้จัก ห้องคลีนรูม (Cleanroom) ในอุตสาหกรรม คืออะไร?
เมื่อพูดถึง ห้องปลอดเชื้อ หรือห้องสะอาด หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับคำว่า ห้องคลีนรูม (Clean Room) กันอย่างแน่นอน เป็นอีกหนึ่งห้องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า ที่ต้องมีมาตรฐานในความสะอาดระดับสูง ปลอดเชื้อโรค และฝุ่น จึงมีหลาย ๆ โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องมีการใช้ห้องนี้ในการผลิต แล้วห้องคลีนรูมที่ว่านี้คืออะไร ตาม KACHA ไปรู้จักกับ ห้องคลีนรูม กันเลยจ้า
ห้องคลีนรูม (Cleanroom) คือ?
คลีนรูม หรือ ห้องปลอดเชื้อ คือ ห้องสะอาดที่มีการควบคุมปริมาณอนุภาคฝุ่นละออง และสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ไม่ให้เกินระดับที่กำหนดไว้ และควบคุมปัจจัยเสริมต่าง ๆ นิยมใช้กันในวงการที่ต้องระมัดระวังเรื่องฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคเป็นพิเศษ เช่น โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหารและยา โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ เป็นต้น
คุณสมบัติจำเพาะของห้องคลีนรูมโรงงาน
สำหรับห้องคลีนรูม มีคุณสมบัติจำเพาะที่กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อแยกแยะประเภทของห้อง ให้แตกต่างกว่าห้องในโรงงานทั่ว ๆ ไป ดังนี้
- อุณหภูมิที่เหมาะสม กำหนดอยู่ในช่วง 22.2 °C ± 0.14 °C โดยอุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องควบคุมภายในห้องคลีนรูม เพราะอุณหภูมิมีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงมีการกำหนดตามความต้องการของกระบวนการผลิต
- ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม ประมาณ 50 ± 10 % มีส่วนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ หากความชื้นภายในห้องไม่เหมาะสม อาจทำให้ผลผลิตเสียหายได้
- ความดัน จะต้องเป็นบวกเสมอ มีทางเข้า-ออก ที่ปิดมิดชิด และมีพัดลมเป่า ห้องที่มีระดับความสะอาดต่างกัน กำหนดให้มีความดันต่างกันอย่างน้อย 0.05 นิ้วน้ำ
- แสงสว่าง กรณีที่ไม่มีการกำหนดพิเศษ จะอยู่ที่ 1,080-1,620 lux
- ระดับเสียง ตามข้อกำหนดของการใช้งาน
ประเภทห้องคลีนรูม
สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานของห้องคลีนรูม ได้ดังนี้
1. Industrial Clean Room (ICR)
เป็นระบบห้องสะอาดแบบความดันบวก (Positive Pressure) คือ ห้องปลอดเชื้อ ที่ต้องระมัดระวังเรื่องฝุ่น เป็นห้องสะอาดที่ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ Microchip เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน อุตสาหกรรมการผลิตสี และสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น
2. Biological Clean Room (BCR)
เป็นระบบห้องสะอาดแบบความดันลบ (Negative Pressure) คือ เป็นห้องสะอาด ที่ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตยา ห้องปฏิบัติการทางด้านชีววิทยา ห้องผ่าตัด เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ความดันอากาศในห้องจะ ต้องสูงกว่าความดันอากาศห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกจากห้องข้างเคียงไหลเข้าสู่ห้องสะอาดนั่นเอง
3. Biohazard Clean Room
เป็นระบบห้องสะอาดแบบความดันลบ คล้าย ๆ ห้องแบบ Biological Clean Room แต่จะเป็นห้องสะอาด ที่ใช้กับห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับ เชื้อโรคไวรัส หรือสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยความดันอากาศในห้อง จะต้องต่ำกว่าความดัน อากาศห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ หรือสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพออกไป ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมภายนอก
เกล็ดความรู้:
- ห้องคลีนรูม ความดันบวก (Positive Pressure) คือ สภาวะที่ความดันภายในห้องมากกว่าความดันภายนอกห้อง หรือมากกว่าความดันบรรยากาศ ทำให้มีอากาศไหลออกจากห้อง ซึ่งห้อง Positive ใช้กับห้องสะอาด เช่น ห้องบรรจุ ห้องเตรียมวัตถุดิบ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง แบคทีเรีย เข้ามาได้
- ห้องคลีนรูม ความดันลบ (Negative Pressure) คือ ห้องที่มีสภาวะที่มีความดันอากาศภายในห้องต่ำกว่าภายนอกห้อง ซึ่งห้อง Negative ใช้กับห้องสะอาด ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรค หรือสารเคมีอันตราย ที่ต้องป้องกันไม่ให้แพร่ระบาดไปภายนอก โดยความดันในห้องจะมีต้องเป็นลบ อากาศภายในห้อง จะถูกทำให้มีความดันต่ำกว่า จะไม่ไหลออกจากห้อง เมื่อมีการเปิด-ปิดประตู และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากในห้องไปสู่บริเวณอื่น ๆ
วิธีการควบคุมเพื่อรักษามาตรฐาน ห้อง Clean Room
- รักษาความดันในห้องให้สูงกว่าภายนอก
- ใช้ HEPA filter กรองอากาศที่เข้าสู่ห้อง
- ทำความสะอาดร่างกายโดยล้างตัวด้วยอากาศ (air washer) ก่อนเข้าห้อง
- สวมชุดพิเศษ สำหรับคนงานทุกคน
- วัสดุที่ใช้ในห้องต้องสะอาด
- การทำความสะอาด ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
- ผนังห้อง ต้องสะอาด ไม่สะสมฝุ่น
- ควรมีการหมุนเวียนอากาศบางส่วนออกสู่ภายนอก เพื่อลดสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้น
- ควรทำที่ป้องกันอย่างมิดชิด หรือมีการดูดอากาศทิ้งเป็นจุด ๆ ณ บริเวณที่มีอาจจะก่อให้เกิดความสกปรก
เป็นอย่างไรบ้าง ห้องคลีนรูม ห้องปลอดเชื้อ ที่เรานำมาฝากกัน คงเข้าใจและรู้จักห้องชนิดนี้กันมากขึ้นแล้ว เรียกได้ว่า เป็นห้องที่ป้องกันปัญหาของสิ่งปนเปื้อน ฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่มาจากผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร กระบวนการผลิตรวมถึงอากาศภายนอกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ หรืองานที่กำลังทำอยู่ ขาดประสิทธิภาพได้
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รู้จักกับ ระบบ HVAC คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรในโรงงาน
- แชร์วิธีดู อายุสินค้า อายุสต๊อกสินค้า แต่ละประเภท ทำได้อย่างไรบ้าง?
- มาตรฐาน GMP โรงงาน คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรบ้าง?
- “กฎหมายควบคุมอาคาร” รู้ไว้ก่อนสร้างโรงงาน โกดัง และคลังสินค้า
- เรื่องต้องรู้ ระยะร่นโกดัง ระยะร่นโรงงาน ก่อนวางแปลนสร้าง มีอะไรบ้าง?
- 10 แบบโกดังพร้อมออฟฟิศ 2023 เก็บของได้ ทำธุรกิจได้ในที่เดียว
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th
อ้างอิงข้อมูลจาก www.bspirit.co.th, www.charmace.com