เคล็ดไม่ลับ การประหยัดพลังงานในโรงงาน ทำได้อย่างไรบ้าง?
ค่าไฟฟ้า ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญ บางครั้งค่าไฟสูงปรี๊ด ก็อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายพุงสูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ อย่าง โรงงาน โกดัง และคลังสินค้าต่าง ๆ ที่ต้องใช้ไฟฟ้ามากกว่าบ้านเรือนปกติ บทความนี้ KACHA มีเคล็ดลับดี ๆ การประหยัดพลังงานในโรงงาน โกดังสินค้า คลังสินค้ามาฝากกัน สามารถทำได้อย่างไรบ้างนั้น ตามไปดู
8 เคล็ดลับ การประหยัดพลังงานในโรงงาน ทำได้อย่างไร?
ค่าไฟถือเป็นต้นทุนในการผลิต การประหยัดพลังงานในโรงงาน เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมควรให้ความสำคัญ เทคนิคการประหยัดไฟในโรงงาน สามารถทำได้ ดังนี้
1) ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์
เปลี่ยนมาใช้ หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ เพื่อประหยัดพลังงาน เพราะหลอดไฟ LED มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า และประหยัดไฟกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และควรเลือกหลอดไฟที่มีแสงสว่างเพียงพอกับพื้นที่ในบริเวณนั้นด้วย
2) ติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อน
แผ่นฉนวนกันความร้อน จะช่วยรักษาอุณหภูมิภายในโรงงาน และช่วยกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในได้ ควรเลือกแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ได้มาตรฐาน เพื่อทำให้เครื่องปรับอากาศในโรงงานไม่ทำงานหนักจนเกินไป ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียว
อ่านบทความ: ฉนวนกันความร้อน มีกี่ประเภท? ใช้งานแบบไหน?
3) ออกแบบระบบปรับอากาศ
การติดตั้งระบบปรับอากาศ (HVAC System) เป็นอีกวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานที่ดี เพื่อช่วยสร้างความเย็น และควบคุมอุณหภูมิภายในอาคาร และรักษามาตรฐานในการทำงานของระบบอุปกรณ์ และเครื่องจักรต่าง ๆ ภายในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเลือกใช้บริษัทที่ชำนาญและพร้อมให้คำปรึกษาเพื่อออกแบบออกมาได้อย่างเหมาะสมกับอุตสาหกรรมของเราด้วย
อ่านบทความ: รู้จักกับ ระบบ HVAC คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรในโรงงาน
4) จัดสรรพื้นที่การใช้งาน
การจัดสรรพื้นที่การใช้งานอย่างคุ้มค่า เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้ วางแผนการใช้งานพื้นที่ให้เหมาะสมกับการจัดเก็บ โดยอาจติดตั้งชั้นวางสินค้า (Rack) หรืออาจสร้างพื้นที่จัดเก็บเอาไว้เหนือสำนักงาน เพื่อใช้พื้นที่ทุกจุดอย่างคุ้มค่าที่สุดนั่นเอง
อ่านบทความ: ประเภทของ “Rack วางสินค้า” ในโกดัง คลังสินค้า มีอะไรบ้าง?
5) ปิดประตูให้มิดชิด ทั้งทางเข้า-ออก
หากโกดัง คลังสินค้า โรงงานที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ การปิดประตูโกดังให้มิดชิด เพื่อป้องกันความร้อนภายนอก เป็นอีกวิธีที่จะสามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ ส่วนโกดัง คลังสินค้าหรือโรงงาน ที่มีการขนถ่ายสินค้าบ่อย ๆ ไม่สามารถทำการปิดประตูให้มิดชิดได้ สามารถติดตั้งม่านอุตสาหกรรม ช่วยควบคุมอุณหภูมิในอาคารให้คงที่ จะทำให้เครื่องปรับอากาศในอาคารทำงานน้อยลงได้
6) แสงธรรมชาติ
การเพิ่มแสงสว่างธรรมชาติให้โกดัง คลังสินค้า และโรงงาน จะช่วยลดค่าไฟฟ้าในโกดัง โรงงานได้อย่างมาก โดยใช้หลังคาสกายไลท์ ที่กระจายแสงจากดวงอาทิตย์ให้ส่องสว่างสู่ภายในอาคารในระดับที่เพียงพอและทั่วถึง หรือการใช้พนังโปร่งแสง เพื่อรับแสงสว่างธรรมชาติจากด้านนอกเข้ามาสู่ด้านใน เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่งด้วย
7) ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์
อีกหนึ่งทางเลือกที่มีความนิยมสูงมากในปัจจุบัน โดยเพราะ ธุรกิจด้านการเกษตร ช่วยให้มีพลังงานไฟฟ้าใช้ สำหรับการทำงานของเครื่องปั๊มน้ำ เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าที่เสถียรมากขึ้น และเพียงพอต่อความต้องการ โดยอาศัยอินเวอร์เตอร์ควบคุมการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้านั่นเอง
อ่านบทความ:
8) หมั่นดูแลรักษา ทำความสะอาดอุปกรณ์อยู่เสมอ
อุปกรณ์ภายในโรงงาน เช่น เครื่องจักร ระบบไฟฟ้าต่าง ๆ จะมีอายุการใช้งาน และมีการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา การทำความสะอาด ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซมอุปกรณ์เป็นประจำ สามารถช่วยให้อุปกรณ์ภายในโรงงานสามารถทำไงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ประหยัดพลังงานได้ด้วย
เป็นอย่างไรบ้าง 8 วิธีประหยัดไฟโรงงาน โกดังสินค้า ที่บอกเลยว่า ทำได้ไม่ยาก และสามารถประยุกต์ใช้ได้จริง ลองไปทำตามกันดู รับรองว่า ช่วยประหยัดได้มากเลยทีเดียว บทความหน้า จะมีสาระดี ๆ อะไรมาฝากอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- เลือกซื้อ โคมไฟโรงงาน เลือกแบบไหนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
- วิธีเลือก หม้อแปลงไฟฟ้า สำหรับอุตสาหกรรม เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
- How to ประหยัดค่าไฟ ในช่วง WFH อย่างไรไม่ให้สูงปรี๊ด!
- วิธีคำนวณค่าไฟ ด้วยตัวเองง่าย ๆ ไม่ยากอย่างที่คิด!
- อัปเดต ใบ รง 4 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง ต้องต่ออายุไหม 2023
- วิธีป้องกันไฟไหม้ ในโกดัง โรงงาน คลังสินค้า ทำได้อย่างไรบ้าง?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th