“Universal Plug” แต่ละแบบแต่ละประเทศ เป็นแบบไหนบ้าง? รู้ไว้ก่อนเลือกไปใช้งาน

หลาย ๆ คนคงจะเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับ ปลั๊กไฟ Universal กันอยู่บ้างใช่ไหม? ว่ามันคืออะไร แต่ละแบบ แต่ละประเทศใช้เหมือนกันไหม? ใช้ค่าไฟฟ้าเท่าไหร่? บทความนี้ KACHA จะพาไปทำความรู้จักกับ “Universal Plug” ให้มากขึ้นกัน เพื่อที่จะได้เลือกไปใช้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย จะมีแบบไหนบ้าง ไปดูกัน

ประเภทของ Universal Plug มีแบบไหนบ้าง?

อย่างที่รู้กันว่า ปลั๊กไฟและเต้ารับ ของแต่ละประเทศนั้น มีความแตกต่างกัน ดังนี้

แบบ Type A

เป็นรูปลั๊กแบบมาตรฐาน ปลั๊ก Type A เป็นปลั๊กหัวแบน สองขา ไม่มีกราวด์ (สายดิน) นิยมใช้กันมากในประเทศทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ญี่ปุ่น พิลิปปินส์ ใต้หวัน ประเทศไทย เป็นต้น

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-02 Type A

โดยปลั๊ก Type A ในอเมริกา จะมีขา 2 ข้างไม่เท่ากัน เล็กข้าง ใหญ่ข้าง ทำให้เวลาเสียบจะไม่สามารถสลับด้านได้ และบริเวณขาของปลั๊ก Type A หลายตัว มักจะมีรูเล็กอยู่ด้วย ที่ใช้งานร่วมกับสลักภายในปลั๊ก ช่วยให้ปลั๊กเสียบได้แน่นขึ้น ไม่หลุดออกจากรูง่าย ๆ นั่นเอง

แบบ Type B

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-03 Type B

ปลั๊ก Type B เป็นปลั๊กหัวแบน สองขา และมีกราวด์ (สายดิน) กลม ๆ อีกขาหนึ่งเพิ่มเข้ามา นิยมใช้กันในประเทศอเมริกา แคนนาดา แม็กซิโก ลักษณะจะคล้าย ๆ กับปลั๊ก Type A ที่มีขากราวด์นั่นเอง

** ปลั๊ก Type B มีขนาด 15 แอมป์ และปลั๊กในประเทศไทย สามารถใช้ได้

แบบ Type C

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-04 Type C

ปลั๊กไฟฟ้า Type C หรือ Europlug เป็นปลั๊กแบบขากลม 2 ขา หัวปลั๊กจะแบน ใช้ได้กับซ็อกเก็ตที่รับหน้าสัมผัสกลม 4.0 – 4.8 มม. บนศูนย์กลาง 19 มม. นิยมใช้กันในประเทศแถบยุโรป เช่น รัสเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น ยกเว้นสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ ไซปรัส และมอลตา

** ปลั๊ก Type C จะจำกัดไว้สำหรับใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องการไฟไม่เกิน 2.5 แอมป์ และปลั๊กในประเทศไทยสามารถใช้ได้

แบบ Type D

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-05 Type D

ปลั๊กไฟ Type D เป็นปลั๊กขากลม 3 ขา เรียงตัวเป็นสามเหลี่ยม ขากลางจะเป็นขากลมขนาดใหญ่กว่าอีก 2 ขา ใช้ได้กับปลั๊ก Type M นิยมใช้กันในประเทศอินเดีย ศรีลังกา เนปาล เป็นต้น สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ สามารถใช้งานได้กับปลั๊ก Type D และ Type M

** ปลั๊ก Type D มีขนาด 5 แอมป์ และปลั๊กในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลงปลั๊ก

แบบ Type E

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-06 Type E

ปลั๊กไฟ Type E มีขากลม 2 ขา มีรูปร่างโค้งมน และมีรูสำหรับขาสายดินที่ยื่นออกมาจากเต้ารับ นิยมใช้กันในประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม สโลวาเกีย เป็นต้น เป็นอีกหนึ่งปลั๊กที่จะแตกต่างจากแบบอื่น ๆ

** ปลั๊ก Type E มีขนาด 16 แอมป์ และปลั๊กในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลงปลั๊ก

แบบ Type F

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-07 Type F

ปลั๊กไฟ Type F มีขากลม 2 ขา คล้ายปลั๊กแบบ Type E แตกต่างกัน คือ มีคลิปกราวด์อยู่ทั้ง 2 ด้าน รูของเต้ารับ จะมีเพียง 2 รู นิยมใช้กันในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ และสเปน และยังสามารถใช้ร่วมกับปลั๊ก Type E ได้เช่นกัน

** ปลั๊ก Type F มีขนาด 16 แอมป์ และปลั๊กในประเทศไทย สามารถใช้ได้

แบบ Type G

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-08 Type G

ปลั๊กไฟ Type G เป็นปลั๊ก 3 ขา สี่เหลี่ยมแบน ๆ เรียงตัวกันในแนวสามเหลี่ยม และมีฟิวส์ในตัว นิยมใช้กันในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เป็นต้น เต้ารับของปลั๊กประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้รับกับตัวปลั๊กโดยตรง จึงใช้ร่วมกับปลั๊ก และเต้ารับอื่น ๆ ได้ยากมาก ๆ

** ปลั๊ก Type G โดยปกติ ฟิวส์ 3 แอมป์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น คอมพิวเตอร์ และ 13 แอมป์ สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าหนัก เช่น เครื่องทำความร้อน เป็นต้น และปลั๊กในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลงปลั๊ก

แบบ Type H

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-09 Type H

ปลั๊กไฟ Type H เป็นปลั๊ก มีลักษณะเฉพาะสำหรับประเทศอิสราเอลเท่านั้น มีขาแบน 3 ขา เรียงเป็นรูปสามเหลี่ยม เป็นรูปตัว V หัวปลั๊กเป็นทรงกลม ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง และกำลังเปลี่ยนมาใช้เป็น Type C แทนนั่นเอง

** ปลั๊กในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลงปลั๊ก

แบบ Type I

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-10 Type I

ปลั๊กไฟ Type I เป็นปลั๊กขาแบน 3 ขา รูปสามเหลี่ยม ขาบนวางตัวแนวตั้ง ส่วน 2 ขาด้านล่างวางตัวเอียง 45 องศา คล้ายรูปตัว V นิยมใช้กันในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อาร์เจนตินา เป็นต้น เต้ารับของปลั๊กประเภทนี้ สามารถใช้ได้ในประเทศจีนด้วย

** ปลั๊กในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลงปลั๊ก

แบบ Type J

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-11 Type J

ปลั๊กไฟ Type J เป็นปลั๊กไฟขั้วกลม 3 ขา โดยเป็นขากราวด์ (สายดิน) 1 ขา นิยมใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ ปลั๊กประเภทนี้ สามารถใช้ต่อกับปลั๊ก Type C ได้ และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยที่ใช้ปลั๊ก Type C สามารถเสียบเข้ากับเต้ารับ Type J ได้เลย โดยไม่ต้องใช้อะแดปเตอร์แปลง

** ปลั๊ก Type J มีขนาด 10 แอมป์ และปลั๊กในประเทศไทยที่ไม่ใช่ Type C อาจจะต้องมีตัวแปลงปลั๊ก

แบบ Type K

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-12 Type K

ปลั๊กไฟ Type K เป็นปลั๊กขั้ว 3 ขา แบ่งเป็นขั้วกลมทั่วไป 2 ขา และขาสายดินทรงครึ่งวงกลม 1 ขา สามารถใช้เสียบกับปลั๊กขากลมคู่ Type C ได้ โดยไม่ต้องใช้หัวแปลง นิยมใช้ในประเทศเดนมาร์กและกรีนแลนด์ สำหรับปลั๊กประเภท Type E และ Type F สามารถเสียบได้เช่นกัน

** ปลั๊กในประเทศไทยที่ไม่ใช่ Type C อาจจะต้องมีตัวแปลงปลั๊ก

แบบ Type L

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-13 Type L

ปลั๊กไฟ Type L มีลักษณะเป็นขากลม 3 ขา เรียงกันเป็นแนวตรง ขากราวด์ (สายดิน) จะอยู่ตรงกลาง ปลั๊ก Type L มี 2 รุ่น คือ รุ่น 10 แอมป์ และ 16 แอมป์ นิยมใช้ในประเทศอิตาลี

  • รุ่น 10 แอมป์ ขากลมทั้ง 2 ด้าน จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร และห่างกัน 5.5 มิลลิเมตร
  • รุ่น 16 แอมป์ ขาทั้ง 2 ด้าน จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ห่างกัน 8 มิลลิเมตร

โดยเต้ารับของ Type L สามารถนำปลั๊กแบบ Type C, Type E และ Type F มาเสียบได้

** ปลั๊กในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลงปลั๊ก

ทิ้งท้ายสักนิด! Universal Adapter เลือกแบบไหนดี

สำหรับ Universal Adapter นั้น มีหลากหลายแบบให้เลือกซื้อ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่รู้ไหมว่า Universal Adapter ไม่ได้นำมาใช้เพื่อปรับกระแสไฟฟ้าให้เข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้ เมื่อต้องการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปใช้ในต่างประเทศ ควรคำนึงถึง การตรวจค่ากระแสไฟฟ้า ที่เหมาะสมบนอุปกรณ์ของเราด้วย ซึ่งปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ เช่น โทรศัพท์ โน๊ตบุ๊ค และแท็ปเล็ต จะมีที่ปรับกระแสไฟฟ้าในตัวเครื่องอยู่แล้ว จึงหมดกังวลเรื่องนี้ไปได้

Universal-Plug-มีแบบไหนบ้าง-14

วิธีการเลือกซื้อ Universal Adapter ทำได้ดังนี้

  • ค่ากระแสไฟฟ้าของ Universal Adapter ควรอยู่ระหว่าง 100- 250 โวลต์ ซึ่งเป็นช่วงกระแสไฟฟ้าที่ครอบคลุมค่ากระแสไฟฟ้าในทุกประเทศทั่วโลก
  • ควรมีปลั๊กครบทั้งปลั๊กตัวผู้ และปลั๊กตัวเมีย (เต้ารับ) ที่เป็นสากล สามารถเข้ากับปลั๊กตัวผู้ในทุกประเทศ
  • ควรมีปลั๊กตัวผู้ครบทุกภูมิภาค หรืออย่างต่ำ รูปแบบ คือ ยุโรป อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย
  • เลือกซื้อ Universal Adapter ที่เป็นชิ้นเดียวกัน ไม่แยกจากกัน เพื่อป้องกันชิ้นส่วนหายระหว่างการเดินทาง
  • เลือกซื้อขนาดพอดี น้ำหนักเบา ไม่ใหญ่เกินไป เพื่อการพกพาและจัดเก็บสะดวก
  • ควรเลือก Universal Adapter ที่มี surge protection และ safety shutters เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าช็อต
  • เลือกซื้อ Universal Adapter ที่มีมาตรฐาน และราคาไม่แพงเกินความจำเป็น

จบไปแล้วกับ UniversalPlug ที่เรานำมาฝากกัน เรียกได้ว่ามีหลากหลายมาก ๆ เลยทีเดียว สำหรับใครที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อย ๆ ควรรู้ไว้ เพื่อจะได้เตรียมตัว และเลือกใช้งานปลั๊กได้อย่างถูกต้อง หวังว่าบทความนี้ จะให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th