ไขข้อสงสัย เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bars) คืออะไร?
ในการก่อสร้าง หรือ ทำโครงสร้างให้ได้ความแข็งแรง ล้วนแต่ต้องใช้ เหล็กข้ออ้อย และ เหล็กเส้น ขนาดต่าง ๆ มาเป็นส่วนสำคัญ ในการเสริมความแข็งแรง เพราะโครงสร้างที่แข็งแรง จะทำให้สามารถรับน้ำหนัก ทั้งงานคอนกรีต และ งานก่ออิฐได้ดี อย่ามัวรอช้า รีบตามมารู้จัก เหล็กข้ออ้อยไปพร้อม ๆ กันเลย!
เหล็กข้ออ้อย คืออะไร
เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bars) หรือ ที่วงการก่อสร้าง เรียกสั้น ๆ ว่า DB, เหล็กอ้อย, เหล็กบั้ง, เหล็กข้อ โดยเหล็กชนิดนี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ เหล็กเส้น แต่มีลักษณะ เป็นปล้อง ๆ คล้ายอ้อย รวมถึงมีครีบ และ บั้งที่ผิวเหล็ก ที่พิเศษขึ้นมามากกว่า เหล็กเส้นธรรมดา นั่นก็เพื่อรองรับ การยึดเกาะกับคอนกรีตให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
และช่วยทำให้โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความแข็งแรง เป็นเนื้อเดียวกัน โดยส่วนมาก มักจะใช้ในงานก่อสร้าง ที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับคอนกรีต เช่น คาน เสา สะพาน เขื่อน บ้าน อาคาร และ งานก่อสร้างที่มีแรงอัดมาก ๆ เป็นต้น
ประเภทของ เหล็กข้ออ้อย
เหล็กข้ออ้อยตามมาตรฐาน มอก. 24-2548 กำหนดให้เหล็กข้ออ้อย มีชั้นคุณภาพเป็น SD30, SD40, SD50 ซึ่งความหมายคือ
- SD30 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
- SD40 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
- SD50 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 5,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
โดยเหล็กข้ออ้อย จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 – 40 มิลเมตร ขนาดความยาว 10 -12 เมตร โดยสามารถสั่งผลิต ให้ดัดงอได้ตามแบบที่ต้องการได้
วิธีการเลือกซื้อ เหล็กข้ออ้อย ให้ได้คุณภาพ
- เหล็กข้ออ้อยที่เลือกใช้ ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และรับรองความปลอดภัย จนได้รับเครื่องหมาย มอก.
- เหล็กข้ออ้อยที่เลือกใช้ ต้องมีผู้ผลิตสินค้า ประเภทสินค้า เกรดสินค้า ขนาด ความยาว และวันเวลาที่ผลิตชัดเจน
- เหล็กข้ออ้อยที่มีคุณภาพ ต้องมีผิวเรียบ ในบริเวณที่บั้ง หรือปล้องจะต้องไม่ปริ ไม่แตกร้าว และไม่เป็นสนิมขุม
- เหล็อข้ออ้อยที่มีคุณภาพ ต้องมีรอยบั้งเป็นระยะที่เท่า ๆ กันตลอดทั้งเส้น บั้งที่อยู่ตรงข้ามกัน จะต้องมีขนาด และรูปร่างเหมือนกัน
- เหล็กข้ออ้อยที่มีคุณภาพ เมื่อลองดัดโค้งงอ จะต้องไม่ปริแตก และหักได้ง่าย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ เหล็กข้ออ้อย หนึ่งในวัสดุสำคัญ ที่ใช้เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับสิ่งก่อสร้าง เหล็กชนิดนี้ เรียกได้ว่ามีประโยชน์มาก ๆ เลย ใครที่กำลังจะตัดสินใจซื้อ ก็อย่าลืมศึกษาประเภท และ ลักษณะของเหล็ก ให้เหมาะสมกับประเภทงานด้วยนะคะ!
บทความที่น่าสนใจ
- รู้จักกับ “เหล็กฉีก หรือ ตะแกรงเหล็กฉีก” คุณสมบัติและการใช้งานเป็นอย่างไร?
- “แผ่นเหล็กกันลื่น” มีกี่แบบ คุณสมบัติและการใช้งานเป็นอย่างไร?
- ทำความรู้จัก เหล็กสังกะสี คืออะไร? กระบวนการผลิต การใช้งานเป็นแบบไหน?
- เหล็กกัลวาไนซ์ คืออะไร ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร
- “เหล็กแผ่น” มีกี่ประเภท คุณสมบัติและการใช้งานเป็นแบบไหน
ข้อมูลอ้างอิง : dohome, builk, tnpshoponline, hiachet