วิธีดูมิเตอร์ไฟ แต่ละตัวเลขบอกอะไร? พร้อมวิธีคำนวณค่าไฟง่าย ๆ
KACHA แชร์ทริค วิธีดูมิเตอร์ไฟ ว่าตัวเลขแต่ละชุดหมายถึงอะไร? เราใช้ไฟไปกี่หน่วยแล้ว? พร้อมแจกวิธีคำนวณไฟฟ้าที่บ้านง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ตามไปดูกันเลย!
วิธีดูมิเตอร์ไฟ : ตัวเลขหน้าปัดบอกอะไรบ้าง?
1. MEA / PEA No.
MEA / PEA No. คือ เลขรหัสเครื่องวัดแต่ละเครื่อง เมื่อได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้า หรือ ได้รับใบเสร็จ อย่าลืมตรวจสอบว่ารหัสเครื่องวัดของเราตรงกับในบิลไฟฟ้าหรือไม่ แม้ว่าจะมีโอกาสผิดพลาดน้อย แต่เราก็ควรเช็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความมั่นใจว่าค่าไฟที่เราจ่ายไปนั้นเป็นของเราจริง ๆ
2. ตัวเลขแสดงหน่วยไฟฟ้า (กิโลวัตต์)
ค่านี้เป็นค่าที่แสดงถึง จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่เราใช้งาน
มิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 5(45)A และ 15(45)A ให้นับเฉพาะตัวเลข 4 หลัก (ช่องที่ 5 เป็นทศนิยม ไม่ต้องอ่านค่า)
มิเตอร์ไฟฟ้า 30(100)A และ 50(100)A ให้นับเลขทั้งหมด 5 หลัก
3. ระบบไฟฟ้า (1เฟส/3เฟส)
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าในประเทศไทยใช้ระบบไฟฟ้าอยู่ 2 แบบ คือ 1 เฟส (1 Phase) และ 3 เฟส (3 Phase) ระบบไฟฟ้า 1 เฟส เป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านทั่วไป มีการจ่ายไฟที่เหมาะกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ส่วนระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะจ่ายไฟได้เยอะกว่า เหมาะสำหรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าเยอะ ส่วนมากระบบนี้จะถูกติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารที่ต้องเชื่อมต่อไฟฟ้าหลายจุดในพื้นที่เดียวกัน
- ระบบไฟฟ้า 1 เฟส แรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220-230 โวลต์ ระบบไฟแบบนี้จะประกอบด้วยสายไฟ 2 สาย สังเกตจากเต้ารับจะมีช่องเสียบ 2 ช่อง (L Line และ N Line) ส่วนช่องที่สามที่เพิ่มมาเป็นตัวเสียบของสายดินป้องกันไฟฟ้ารั่ว เพื่อป้องกันอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและผู้ใช้งาน ติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง ติดตั้งไม่ยุ่งยากเท่าเฟส 3
- ระบบไฟฟ้า 3 เฟส แรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 380 – 400 โวลต์ ประกอบด้วยสายไฟ 4 สาย สายไลน์แบบมีไฟ (L Line) จำนวน 3 เส้น และสายนิวทรอลไม่มีไฟ (N Line) จำนวน 1 เส้น ระบบนี้จะถูกติดตั้งในโรงงานมากกว่าใช้ในบ้าน เนื่องจากเครื่องจักรอุตสาหกรรมมีแรงดันไฟฟ้าสูง แต่ก็ใช่ว่าระบบนี้จะติดตั้งในบ้านไม่ได้ เพียงต้องแบ่งใช้ไฟฟ้า ออกเป็น 3 ชุด ชุดละ 1 เฟส เพื่อกระจายไปตามจุดต่าง ๆ เพื่อให้กระแสไฟฟ้ามีความสมดุล ประหยัดไฟขึ้น
4. แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ (โวลต์)
ตัวเลขนี้สำคัญในแง่ของการซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยทั่วไปเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีแรงดันอยู่ที่ 220 โวลต์ สามารถใช้กับไฟบ้านหรือไฟเฟส 1 ได้ตามปกติ แต่ถ้าเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ ต้องใช้แรงดันสูง ตั้งแต่ 380 – 400 โวลต์ ถ้าใช้กับไฟบ้านจะทำให้ไฟขัดข้อง ไฟดับ หรืออาจทำให้เครื่องจักรเสียหายได้ ดังนั้น ก่อนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้ อย่าลืมเปรียบเทียบแรงดันของเครื่องกับมิเตอร์ไฟที่บ้านว่ารองรับหรือไม่
5. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า (แอมป์)
ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าต้องสอดคล้องกับขนาดการใช้ไฟโดยรวมในบ้านของเรา ซึ่งขนาดมิเตอร์ที่ใช้ในบ้านส่วนมากจะเป็น 15(45)A รองรับการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ 15 – 45 แอมป์ (ไม่ควรเกิน 30 แอมแปร์) หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เราต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์ให้ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ควรเลือกขนาดของมอเตอร์ไฟฟ้าเผื่อไว้ด้วย เพราะในอนาคตเราอาจมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เพิ่มเติม
สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าที่บ้านต้องใช้มิเตอร์ขนาดเท่าไหร่ สามารถคำนวณคร่าว ๆ ดังนี้
กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)
วิธีดูมิเตอร์ไฟ : วิธีคำนวณค่าไฟฟ้าง่าย ๆ
ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการคำนวณ เราต้องทราบจำนวนหน่วยไฟที่เราใช้ไปทั้งหมดก่อน ถึงจะนำไปคำนวณในแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของการไฟฟ้าได้ ซึ่งจำนวนไฟฟ้าที่เราใช้ไปคิดได้ง่าย ๆ คือ ให้นำตัวเลขที่แสดงอยู่บนหน้าปัดมิเตอร์ไฟฟ้าไปเปรียบเทียบกับในบิลไฟฟ้าเดือนที่แล้ว เช่น รอบที่แล้วจดได้ 1249 กิโลวัตต์ วันนี้เพิ่มเป็น 1286 ให้นำเลขปัจจุบันมาลบออกก็จะได้เป็นหน่วยไฟฟ้าที่เราใช้งานจนถึงตอนนั้น
1286 (หน่วยไฟปัจจุบัน) – 1249 หน่วยไฟครั้งที่แล้ว) = 37 หน่วย
เมื่อรู้ว่าเราใช้ไฟไปกี่หน่วยแล้ว ขั้นตอนต่อไปง่ายมาก ให้นำข้อมูลไปกรอกตามเว็บไซต์ข้างล่าง แบ่งตามเขต คือ
- การไฟฟ้านครหลวง คลิก กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คลิก (จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ)
แชร์เทคนิค ประหยัดไฟ ลดค่าใช้จ่าย
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แนะนำ 6 วิธีอยู่บ้านอย่างไรให้ประหยัดไฟ ดังนี้
- รับลม รับแสง จากธรรมชาติ
การเปิดประตู หน้าต่าง รับลมและแสงจากธรรมชาติ จะทำให้บ้านสว่างและเย็นได้ โดยไม่ต้องเปิดไฟ แอร์ หรือพัดลมได้
- ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน
การเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้แต่ไม่ได้ใช้งานก็มีกระแสไฟไหลเวียนอยู่ภายใน ทำให้เปลืองไฟได้เช่นกัน ดังนั้น เราควรปิดไฟทุกครั้งหลังการใช้งาน
- ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟธรรมดา
หลอดไฟ LED มีอัตราการกินไฟน้อยกว่าและใช้ได้นานกว่าหลอดไฟธรรมดา แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เสี่ยงอันตรายจากรังสี UV หรือสารตะกั่วเหมือนหลอดไฟทั่วไป หากใครกำลังมองหาหลอดไฟสำหรับใช้งาน แนะนำให้ใช้หลอด LED
- ไม่ชาร์จโทรศัพท์มืหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ เมื่อแบตเต็ม
การชาร์จโทรศัพท์ อุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ แม้แบตเตอรี่เต็มแล้วจะทำให้กินไฟ และเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ เราจึงควรถอดปลั๊กออกทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า
- เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 26 องศาเซลเซียส
ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26 องศาเซลเซียส ช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าการตั้งอุณหภูมิที่ต่ำลง นอกจากนี้การปิดเครื่องปรับอากาศเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ก่อนออกจากห้อง สามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้เช่นกัน
- เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลาก เบอร์ 5
ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน ตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัด ตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุด
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แนะนำ 6 วิธีอยู่บ้านอย่างไรให้ประหยัดไฟ ดังนี้
- รับลม รับแสง จากธรรมชาติ
การเปิดประตู หน้าต่าง รับลมและแสงจากธรรมชาติ จะทำให้บ้านสว่างและเย็นได้ โดยไม่ต้องเปิดไฟ แอร์ หรือพัดลมได้
- ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน
การเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้แต่ไม่ได้ใช้งานก็มีกระแสไฟไหลเวียนอยู่ภายใน ทำให้เปลืองไฟได้เช่นกัน ดังนั้น เราควรปิดไฟทุกครั้งหลังการใช้งาน
- ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟธรรมดา
หลอดไฟ LED มีอัตราการกินไฟน้อยกว่าและใช้ได้นานกว่าหลอดไฟธรรมดา แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เสี่ยงอันตรายจากรังสี UV หรือสารตะกั่วเหมือนหลอดไฟทั่วไป หากใครกำลังมองหาหลอดไฟสำหรับใช้งาน แนะนำให้ใช้หลอด LED
- ไม่ชาร์จโทรศัพท์มืหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ เมื่อแบตเต็ม
การชาร์จโทรศัพท์ อุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ แม้แบตเตอรี่เต็มแล้วจะทำให้กินไฟ และเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ เราจึงควรถอดปลั๊กออกทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า
- เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 26 องศาเซลเซียส
ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26 องศาเซลเซียส ช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าการตั้งอุณหภูมิที่ต่ำลง นอกจากนี้การปิดเครื่องปรับอากาศเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ก่อนออกจากห้อง สามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้เช่นกัน
- เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลาก เบอร์ 5
ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน ตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัด ตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุด