คุณสมบัติของ กระจกเทมเปอร์ หรือ กระจกนิรภัย มีอะไรบ้าง?
กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) คืออะไร?
กระจกเทมเปอร์ กระจกนิรภัย หรือที่เรียกทั่วไปว่ากระจกอบ เป็นกระจกที่นิยมใช้เป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อกระจกเทมเปอร์แตกมันจะแตกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพด และไม่มีคม จึงเกิดอันตรายน้อย ซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่แตกเป็นเสี่ยง จึงแหลมคมทำให้เป็นอันตรายมากกว่า นอกจากนี้กระจกเทมเปอร์ยังแข็งกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่า
ประเภทของกระจกเทมเปอร์
กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) เป็นกระจกชนิดหนึ่งที่ถูกจัดให้เป็นกระจกประเภทนิรภัย โดยกระจกเทมเปอร์ ถือเป็นกระจกนิรภัยชนิดแรกที่คนส่วนใหญ่นั้นนิยมใช้กัน เนื่ิิองมาจากความคงทน แข็งแรง และปลอดภัยกว่ากระจกธรรมดา ซึ่งกระจกเทมเปอร์ถูกทำขึ้นโดยการนำกระจกแผ่นธรรมดามาแปรรูปให้เป็นกระจกนิรภัย ซึ่งขั้นตอนนี้ จะต้องเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะนำกระจกไปใช้งาน กรรมวิธี คือ การนำกระจกธรรมดาอบด้วยความร้อนประมาณ 650 องศาเซลเซียส แล้วทำให้เย็นลงทันดีด้วยการเป่าลม ผิวนอกของกระจกก็จะแข็งเร็วกว่ากระจกด้านใน ก่อให้เกิดการเรียงตัวของโมเลกุลที่แตกต่างกัน และเกิดความเครียดในเนื้อกระจก ผลของความเครียดที่ว่าจะทำให้เกิดเส้นแรงสองชนิด เส้นแรก คือ เส้นแรงรอบกระจก เส้นที่สอง คือ เส้นแรงในเนื้อกระจกที่ดันออกมาด้านนอก จึงทำให้กระจกนี้มีความพิเศษ นั่นเอง
มาตรฐานการผลิต กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) กระจกนิรภัยเทมเปอร์ โดยผ่านกระบวนการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. TIS965-2537)
ประโยชน์และการนำไปใช้งาน
เนื่องด้วยกระจกนิรภัยเทมเปอร์ มีความทนทานต่อแรงกระแทก แรงกด แรงอัด และเมื่อแตกจะมีอันตรายน้อยกว่ากระจกธรรมดา กระจกนิรภัยเทมเปอร์จึงจำเป็นสำหรับกระจกที่ต้องใช้อุปกรณ์จับยึดต่าง ๆ (Fitting) เช่น ชุดประตูบานเปลือย, กระจกตู้อาบน้ำ (Shower Door), ราวกันตกที่ยึดด้วยฟิตติ้ง, แผงกระจกที่ยึดด้วยฟิตติ้ง เป็นต้น สำหรับบริเวณที่ต้องรับแรงกระแทกสูง หรือรับแรงลมสูง จำเป็นต้องใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์เช่นกัน เช่น ห้องเล่นสค็อช (Squash Room), ผนังกันระหว่างผู้ชมกับสนามแข่งกีฬาต่าง ๆ เช่น สนามบาสเกตบอล, สนามฮ็อคกี้น้ำแข็ง, ลานสเก็ตน้ำแข็ง เป็นต้น สำหรับบริเวณที่มีประชาชนเดินผ่านไปมาเยอะ ๆ และมีโอกาสเกิดการกระแทกกระจก กฎหมายกำหนดให้ใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ด้วย เช่น ศูนย์การค้าต่าง ๆ, ธนาคาร, โชว์รูมรถ เป็นต้น
???? ประโยชน์และการนำไปใช้งานได้ มีดังนี้
- ใช้เป็นประตูบานเปลือย ฉากกั้นอาบน้ำ, ผนังกั้นภายใน, ผนังกระจกทั้งสองหน้า ภายในตัวอาคาร, หน้าต่าง, ผนังอาคาร, ผนังกระจก (Curtain Wall) ของอาคารในบริเวณ ที่มีแรงลมสูง บริเวณหน้าคานของอาคารหน้าต่าง, ตู้อบไฟฟ้า หรือบริเวณที่ต้องเผชิญกับความร้อนสูงกว่าปกติ
- ใช้ทำเป็นตู้โทรศัพท์, ห้องโชว์, ตู้สินค้าอัญมณีที่ต้องการความโปร่งแสง แต่ทนต่อแรงกระแทก
- ใช้ทำเป็นกระจกงานเฟอร์นิเจอร์ เช่น ชั้นวางของ ชั้นโชว์สินค้า เป็นต้น
- มีความแข็งแรงกว่ากระจกทั่วไปประมาร 4-5 เท่า ทำให้รับแรงกระแทก กด บีบ ได้ดี
- ทนความร้อนได้สูงถึง 290 องศาเซลเซียส
- ทนความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้ถึง 150 องศาเซลเซียส
- เมื่อแตก กระจกจะแตกตัวเป็นเม็ดข้าวโพด ซึ่งอันตรายน้อยกว่ากระจกปกติที่แตกเป็นปากฉลาม
เนื่องด้วยคุณสมบัติที่พิเศษต่าง ๆ ของกระจกชนิดนี้นั้น ทำให้กระจกเทมเปอร์ ถูกใช้ในสินค้าต่าง ๆ มากมาย เช่น ฟิล์มกระจกมือถือ, เคสกระจกสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นต้น
ขนาดเเละคุณสมบัติเฉพาะของกระจกนิรภัยเทมเปอร์
ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และแรงที่ทำให้หักงอ (Bending Strength) เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กระจกธรรมดากับกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ที่ความหนา 5 มม. กระจกธรรมดามีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง และแรงที่ทำให้กระจกหักงอ 500- 600 กก./ซม.2 ส่วนกระจกนิรภัยเทมเปอร์มีค่าสูงถึง 1,500 กก./ซม.2
สำหรับคุณสมบัติเรื่องการทนความร้อนถึง 290 ºC และทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิถึง 150 ºC จึงสามารถใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์สำหรับโคมไฟสปอร์ตไลท์, กั้นบริเวณใกล้เตาไฟ, ใช้เป็นฐานของเตาแก๊ส, ใช้รองหม้อร้อน แต่กระจกนิรภัยเทมเปอร์ไม่ใช่กระจกทนไฟ จึงไม่สามารถใช้เป็นช่องส่องมองในเตาที่มีความร้อนสูงกว่า 290 ºC ได้ รวมทั้งไม่สามารถใช้กันไฟในกรณีเกิดเพลิงไหม้ได้
ขนาด และความหนา |
---|
|
|
|
ข้อดี-ข้อเสีย ของกระจกเทมเปอร์
ข้อดี
- มีความแข็งแรงกว่ากระจกโฟลท 4-5 เท่า ทำให้สามารถรับแรงกระแทก แรงกด แรงบีบ ได้ดี
- ทนความร้อนได้สูงถึง 290ºC โดยกระจกไม่แตก
- ทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลัน ได้ถึง 150ºC
- เมื่อกระจกแตก จะแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดทั่วทั้งแผ่น ไม่เป็นปากฉลามแบบเดียวกับการแตกของกระจกธรรมดา
- ตัดกระจกบนโต๊ะตัดที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ความเที่ยงตรงสูง ตัดได้หลากหลายรูปแบบ
- สามารถ เจียร เจียรปลี เจาะ กระจกรูปร่างใด ๆ ก็ได้ โดยเครื่องตัด และเครื่องเจียรระบบ CNC
ข้อเสีย
- กระจกเทมเปอร์ ไม่สามารถ ตัด เจีย บาก เจาะ ได้
- เนื่องด้วยกระจกเทมเปอร์ เป็นกระจกที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงจนทำให้กระจกนิ่ม และกลิ้งไปกับลูกกลิ้ง จึงทำให้กระจกเกิดการเป็นคลื่น และมีความโก่งตัวเล็กน้อย
- กระจกเทมเปอร์ มีโอกาสแตกตัวด้วยตัวเอง หากกระจกที่เป็นวัตถุดิบ มีสารปนเปื้อน คือ สารนิเกิลซัลไฟล์ (NiS) ในกระบวนการผลิตกระจกโพลี โดยมีอัตราการแตกด้วยตัวเองเฉลี่ย 8 แผ่นใน 1,000 แผ่น ซึ่งสามารถดูที่ลักษณะการแตกได้ว่า การแตกด้วยตัวเองหรือไม่
???? ข้อควรระวังในการใช้งาน
- กระจกนิรภัย กระจกเทมเปอร์ ไม่สามารถ ตัด เจาะ เจีย บาก ได้ หลังการผลิตเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ดังนั้น การวัดพื้นที่ จำเป็นต้องวัดอย่างระมัดระวัง และควรใช้เป็นหน่วยมิลลิเมตรในการวัด เพื่อความแม่นยำ
- ไม่ควรใช้กระจกเทมเปอร์เดี่ยว ๆ เป็นหลังคา เป็นผนังภายนอกอาคารบริเวณชั้นสูง ๆ เพราะหากกระจกแตก จะร่วงลงมาเป็นอันตรายต่อคนข้างล่างได้
- ไม่ควรใช้กระจกเทมเปอร์เดี่ยว ๆ เป็นพื้น หรือ เป็นขั้นบันได เพราะหากกระจกแตก ผู้เดินจะได้รับอันตรายพลัดตกลงมาได้
- ห้ามใช้กระจกเทมเปอร์ทดแทนกระจกกันไฟ เพราะกระจกนิรภัยเทมเปอร์ไม่สามารถกันไฟ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้อาศัยตามข้อกำหนดของการกันไฟได้
???? วิธีการทำความสะอาดกระจก
- วัสดุที่ใช้ทำความสะอาด ควรเป็น ผ้าสะอาด, ผ้าดูปองท์ (ผ้าทำความสะอาดรถยนต์), กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น หรือ อุปกรณ์ทำความสะอาดกระจกที่มีวัสดุเป็น พลาสติก ทำความสะอาด
- น้ำยาที่ใช้ทำความสะอาด ควรเป็นน้ำยาเช็ดกระจกเท่านั้น
- ครีมขัด ควรเป็นครีมขัดกระจกเท่านั้น
อ้างอิงข้อมูลจาก : wazzadu.com