10 ขั้นตอน การออกแบบคลังสินค้า ให้เก็บของง่าย มีประสิทธิภาพ

การออกแบบคลังสินค้า ออกแบบอย่างไรให้เก็บของง่าย มีประสิทธิภาพ Kacha มี 10 ขั้นตอนการออกแบบคลังสินค้ามาฝาก
ใครเป็นเจ้าของคลังสินค้า หรือ เช่าคลังสินค้าอยู่ แล้วอยากรู้ว่าควรออกแบบอย่างไรแล้วละก็ ตามมาดูกันเลย

1. เก็บข้อมูลน้ำหนักและขนาดของสินค้า

เก็บข้อมูลน้ำหนักและขนาดของสินค้า ที่ต้องการเก็บไว้ในคลังสินค้า ว่ามีขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ น้ำหนักน้อยหรือมาก เพื่อให้สามารถเลือกสเป็คของชั้นวางของ ที่จะนำมาวางได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากหากเป็นของชิ้นใหญ่และมีน้ำหนักเยอะ จะต้องคำนึงถึงในเรื่อง ชั้นวางของมีจุดศูนย์ถ่วงและการกระจายน้ำหนักดีไหม มีความแข็งแรงทนทานเพียงพอหรือเปล่า ที่จะรับน้ำหนักสินค้านั้น ๆ ได้

2. เก็บข้อมูลอุปกรณ์ยก – เคลื่อนย้ายสินค้า

ทำการเก็บข้อมูลอุปกรณ์ยก – เคลื่อนย้ายสินค้าต่าง ๆ เช่น รถโฟล์คลิฟท์ สะพานพาด เครนภายในคลังสินค้า ว่ามีขนาดและความสูงเท่าไหร่ เวลายกสามารถยกได้สูงขนาดไหน เพื่อให้สามารถเว้นระยะทางเดินในการหยิบ – ขนย้ายสินค้าได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถซื้อชั้นวางของ ในระดับความสูงที่สอดคล้องกับการทำงานของรถโฟล์คลิฟท์นั้น ๆ ได้พอดี

การออกแบบคลังสินค้า

3. คำนวณพื้นที่คลังสินค้าว่ามีเท่าไหร่

หลังจากรู้น้ำหนักและขนาดของสินค้า ตลอดจนขนาดและความสูงของอุปกรณ์ยก – เคลื่อนย้ายสินค้าแล้ว ให้เริ่มทำ การออกแบบคลังสินค้า โดยวัด ความกว้าง ความยาว ความสูง แล้วคำนวณพื้นที่ภายในคลังสินค้าว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่ เพื่อให้สามารถวางแผนผังคลังสินค้าได้อย่างเหมาะสม ทั้งจำนวนแถวของชั้นวางสินค้า พื้นที่ทางเดิน ตลอดจน จุดวางสินค้า จุด Pick Up ต่าง ๆ

4. เริ่มกำหนดแผนผังคลังสินค้า

พอรู้ว่า พื้นที่คลังสินค้ามีทั้งหมดเท่าไหร่แล้ว ให้เริ่มกำหนดแผนผังสินค้าอย่างคร่าว ๆ ทั้งชั้นวางสินค้า ทางเดินในการหยิบ – ขนย้ายสินค้า พื้นที่รับสินค้า พื้นที่จัดเก็บสินค้า พื้นที่จัดส่ง พร้อมประตูเข้าออกคลังสินค้า ฯลฯ เพื่อให้รู้คร่าว ๆ ว่าภายในคลังสินค้าควรมีอะไรบ้าง เมื่อขาดเหลืออะไร หรือ มีปัจจัยอะไรที่ควรพิจารณาอีก จึงค่อยนำมาปรับแก้ในภายหลัง

คลังสินค้า

5. ออกแบบทางเดินเป็นเส้นตรง

ใน การออกแบบคลังสินค้า ควรออกแบบทางเดินเป็นเส้นตรงเสมอ เพื่อให้การสัญจร เคลื่อนย้ายสินค้า เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เกิดการสับสน รวมถึงไม่ควรมีจุดเลี้ยวเยอะเกินไปด้วย เพราะเป็นมุมอับ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หากเป็นไปได้ ทางเดินของคนกับรถ ควรแยกออกจากกัน แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ให้ออกแบบทางเดินกว้าง ๆ แล้วติดตั้งยางชะลอความเร็ว หรือ สัญญาณเตือน เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุ

6. แบ่งพื้นที่ในคลังสินค้าให้เหมาะสม

เมื่อรู้ขนาดและความสูงของอุปกรณ์ยก – เคลื่อนย้ายสินค้าแล้ว ให้นำแผนผังที่วางไว้ มาปรับแก้แบ่งพื้นที่ในคลังสินค้าให้มีความเหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่เดินในการหยิบ – ขนย้ายสินค้า โดยพื้นที่ทางเดินนั้น นอกจากจะต้องกว้างพอ ให้คนสามารถเดิน เข้าไปหยิบสินค้า ตรวจสอบสินค้าได้แล้ว ยังต้องมีพื้นที่เพียงพอ สำหรับให้รถเข็นมือ รถยกหรือรถโฟล์คลิฟท์ ขับเข้าออกได้สะดวกอีกด้วย

คลังสินค้า

7. จัดเรียงสินค้าตามปริมาณการหมุนเวียน

เนื่องจากสินค้าที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า บางอย่างขายดีมาก บางอย่างขายได้น้อย ทำให้มีจำนวนการหยิบ หรือ ปริมาณการหมุนเวียนภายในคลังแตกต่างกัน ใน การออกแบบคลังสินค้า จึงควรจัดเรียงสินค้าในคลังสินค้า ตามปริมาณการหมุนเวียน เพื่อให้การหยิบสินค้า ขนย้ายสินค้า ทำได้รวดเร็วและสะดวก โดยใช้เทคนิค ABC Analysis คือ จำแนกสินค้าออกเป็น 3 ประเภท

  1. กลุ่ม A เป็นสินค้าที่ขายดีมาก มีการหมุนเวียนเคลื่อนย้ายสูง
  2. กลุ่ม B เป็นสินค้าที่ขายได้ปานกลาง มีการหมุนเวียนเคลื่อนย้ายรองจาก กลุ่ม A
  3. กลุ่ม C เป็นสินค้าที่ขายได้น้อย มีการหมุนเวียนเคลื่อนย้ายต่ำ

จากนั้น จึงทำการจัดเรียงสินค้าตามความเหมาะสม โดยกลุ่ม A ซึ่งเป็นสินค้าขายดีนั้น ควรวางไว้ใกล้ทางออกมากที่สุด เวลาหยิบ – ขนย้ายสินค้า จะได้ทำได้ง่าย ลำดับถัดมา จึงจัดเป็นกลุ่ม B และ กลุ่ม C ตามลำดับ

8. ติดตั้งระบบไฟฟ้าให้มีแสงสว่างเพียงพอ

ติดตั้งไฟฟ้าตามจุดต่าง ๆ ให้มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถมองเห็นสินค้า ในคลังสินค้าได้ชัดเจน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และ ช่วยป้องกันอุบัติเหตุ ตามประกาศจากกรมคุ้มครองสวัสดิการแรงงาน ที่กำหนดไว้ ให้แสงสว่างเฉลี่ยภายในพื้นที่คลังสินค้า ต้องไม่น้อยกว่า 200 Lux และ บริเวณที่มีแสงสว่างน้อยที่สุด ต้องไม่น้อยกว่า 100 Lux

การออกแบบคลังสินค้า

9. ติดป้ายหรือสัญลักษณ์เตือนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

จากการทำงานภายในคลังสินค้า ที่มีแต่ความเร่งรีบ ส่งผลให้บางคนอาจไม่ระมัดระวังในการทำงาน หรือ อาจฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับบางอย่าง เพื่อให้ทำงานได้ไวขึ้น เร็วขึ้นได้ เช่น ขับรถสวน ไม่สวมชุด Safety ฯลฯ จึงควรติดป้ายจราจร หรือ สัญลักษณ์เตือน ไว้ภายในคลังสินค้า เพื่อย้ำเตือนให้ทุกคนเพิ่มความระมัดระวัง และ ปฎิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ ช่วยกันป้องกันอุบัติเหตุด้วย

10. ติดตั้งระบบฉุกเฉิน

เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าลัดวงจร หรือ อุบัติเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดไฟไหม้ การออกแบบคลังสินค้า จึงควรติดตั้งระบบฉุกเฉิน ไว้ภายในคลังสินค้าด้วย ไม่ว่าจะเป็น ทางหนีไฟ สัญญาณเตือนภัย ระบบตรวจจับควัน เพราะไม่เพียงจะช่วยป้องกันทรัพย์สินจำนวนมหาศาลที่อาจเสียหายเท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันการสูญเสียชีวิตของพนักงาน ลูกจ้าง ที่ทำงานภายในคลังสินค้าอีกด้วย

เพราะคลังสินค้าที่ดี ควรออกแบบให้ รับของเข้า ส่งของออก หยิบแพ็คสินค้าได้ง่าย ตลอดจนมีความปลอดภัยสูง หากใครเป็นเจ้าของคลังสินค้า หรือ เช่าคลังสินค้าอยู่ แล้วอยากรู้ว่าควรออกแบบอย่างไรแล้วละก็ ลองนำ 10 ขั้นตอน การออกแบบคลังสินค้า ไปปฏิบัติ หรือ ประยุกต์กับคลังสินค้าของตนเองได้เลย รับรองว่า จะช่วยให้เก็บของง่าย มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้อย่างแน่นอน

สำหรับใครที่กำลังออกแบบคลังสินค้า แล้วอยากได้ชั้นวางของ ที่แข็งแรงทนทาน ไปวางของในคลังสินค้า โกดังสินค้าของตนเองแล้วละก็ ขอแนะนำ ชั้นวางของเหล็ก ของ Kacha ทำจากเหล็กกล้า แข็งแรงทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 200 กก./ชั้น ปรับความสูงชั้นวางได้ตามต้องการ ประกอบง่าย ไม่ต้องใช้น็อต มีหลายขนาด หลายสีให้เลือก ราคาโรงงาน เริ่มต้นเพียง 2,280 บาท พร้อมรับประกันสินค้า 1 ปีเต็ม! สนใจติดต่อ https://www.kacha.co.th/storage-shelves/ หรือ สอบถามเพิ่มเติมทาง โทรศัพท์ Line ของเราได้เลย


บทความที่น่าสนใจ

สินค้าแนะนำ

เลือกรุ่น ชั้นวางของ ที่เหมาะกับคุณ