ประเภทคลังสินค้า คลังสินค้ามีกี่ประเภท แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ประเภทของคลังสินค้า ได้อย่างไรบ้าง?
เมื่อพูดถึง สถานที่ ที่ใช้สำหรับการวาง เก็บสินค้า หรือพักสินค้า เพื่อรอการกระจาย หรือการขนส่ง หลาย ๆ คนจะต้องนึกถึง โกดัง คลังสินค้า กันอย่างแน่นอน เป็นอาคารชั้นเดียว มีพื้นที่โล่ง เพื่อใช้เก็บสินค้าต่าง ๆ ไม่ให้เสียหาย บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ประเภทคลังสินค้า ว่ามี คลังสินค้ามีกี่ประเภท และแต่ละ ประเภทของคลังสินค้า แบ่งตามลักษณะการใช้งานอย่างไรบ้าง ตามไปอ่านพร้อม ๆ กันเลย
รู้จักกับ คลังสินค้า คือ?
คลังสินค้า (Warehouse) เป็นสถานที่ ที่ใช้สำหรับจัดเก็บ จัดวาง หรือพักสินค้า เพื่อรอการกระจายขนส่ง บางคนอาจจะเรียก โกดังสินค้า ศูนย์รวมสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น มักจะออกแบบให้มีลักษณะพื้นที่โล่ง กว้างขวาง มีทางลาดสำหรับขนย้านสินค้าได้ มีประตูขนาดใหญ่หลายประตู เพื่อสะดวกในการขนถ่ายสินค้าได้นั่นเอง

หน้าที่ของคลังสินค้า โกดังเก็บสินค้า คือ ใช้เพื่อการจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วน และสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต รวมไปถึงการรับสินค้า จัดเก็บสินค้า รวบรวมสินค้า บรรจุสินค้า ส่งสินค้าเข้า-ออก จุดรับสินค้าส่งคืน คัดแยกสินค้าก่อนกระจายไปยังภาคส่วนอื่น ๆ เรียกได้ว่า คลังสินค้า มีความสำคัญในการช่วยเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมส่งมอบไปยังผู้รับนั่นเอง
คลังสินค้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
เราสามารถแบ่ง ประเภทของคลังสินค้า ได้ 5 แบบ คือ แบ่งตามลักษณะสินค้าภายในคลังสินค้า, แบ่งตามลักษณะของงาน, แบ่งตามลักษณะของคลังสินค้า ดังนี้

แบ่งตามลักษณะสินค้าภายในคลังสินค้า
- คลังสินค้าทั่วไป คือ ประเภทของคลังสินค้า ที่ใช้สำหรับจัดเก็บสินค้า ที่ไม่ต้องการการดูแลรักษาเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับผู้ผลิต ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสินค้า เพื่อการอุปโภค สินค้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ทั่วไป เป็นต้น
- คลังสินค้าของสด คือ คลังสินค้าที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อรักษาความสดใหม่ของสินค้า ใช้จัดเก็บสินค้าจำพวกของสดที่อาจเสื่อมสภาพได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการบริโภค เช่น ผัก ผลไม้ อาหาร เครื่องดื่ม อาหารทะเล เป็นต้น
- คลังสินค้าอันตราย คือ คลังสินค้าที่ใช้ในการเก็บสินค้า วัตถุดิบที่อาจเป็นอันตราย สารเคมี สารพิษ เชื้อเพลิง วัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด เป็นต้น ซึ่งต้องมีการจัดเก็บให้เหมาะสมกับประเภท และหลักการจัดเก็บทางหลักวิทยาศาสตร์อย่างเข้มงวด มีระบบควบคุมและดูแลอย่างเข้มงวด และต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
- คลังสินค้าพิเศษ คือ คลังสินค้าที่มีขนาดเล็กกว่าคลังสินค้าประเภทอื่น ๆ เหมาะสำหรับเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการที่ต้องการใช้จัดเก็บสินค้าที่มีมูลค่า เช่น เครื่องสำอาง ยา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงสารเคมีบางชนิดด้วย จึงจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถคงคุณสมบัติ อายุสินค้าได้ยาวนาน
แบ่งตามลักษณะของงาน
- ศูนย์กระจายสินค้า คือ คลังสินค้าที่ทำหน้าที่จัดเก็บสินค้า กระจายสินค้าระหว่างผู้ผลิต ผู้ขายปลีก และผู้ประกอบการทางด้านโลจิสติกส์ ที่รับสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละรายมาเก็บในคลังสินค้าของตนเอง เพื่อจัดการด้านการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าแทนผู้ผลิตนั่นเอง
- ศูนย์รวบรวม และศูนย์กระจายสินค้า คือ คลังสินค้าใช้ในการรับสินค้า เปลี่ยนถ่ายสินค้า และส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการที่ต้องมีการรับสินค้าจากผู้ผลิตหลาย ๆ ราย เพื่อนำมาคัดแยก และจัดส่งให้ลูกค้าที่เป็นผู้ขายปลีก และร้านสะดวกซื้อ
- คลังสินค้าสำหรับเก็บรักษาสินค้า คือ คลังสินค้าที่ใช้สำหรับการเก็บรักษาสินค้าเป็นหลัก เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ ที่ต้องการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วน และวัตถุดิบที่รอส่งต่อไปยังกระบวนการผลิต ดังนั้น คลังสินค้าประเภทนี้ มีระบบรักษาสภาพสินค้า และป้องกันการสูญหายของสินค้าที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง
แบ่งตามลักษณะของคลังสินค้า
- คลังสินค้าแบบเปิด คือ โกดังคลังสินค้ากลางแจ้ง ที่มีแค่เสา รั้ว ไม่มีตัวอาคาร เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่เสื่อมสภาพจากผลกระทบของสภาพภูมิอากาศ และสามารถจัดเก็บไว้กลางแจ้งได้ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น
- คลังสินค้าแบบปิด คือ คลังสินค้าในร่ม มีลักษณะคล้ายอาคาร มีผนังครบทั้ง 4 ด้านเพื่อปกป้องสินค้าจากตัวแปรต่าง ๆ ที่อาจทำให้สินค้าเสียหาย เช่น สภาพภูมิอากาศ สัตว์รบกวน เป็นต้น เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการสินค้า เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเพื่อการอุปโภค-บริโภคทุกชนิด
แบ่งตามลักษณะของทำเลที่ตั้ง
- คลังสินค้ากลาง คือ ประเภทของคลังสินค้า ที่ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางการผลิตมากที่สุด มักตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนในการจัดการ-ขนส่ง เช่น คลังสินค้าให้เช่า คชาไทยแลนด์ ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมคชาไทยแลน์ เป็นต้น
- คลังสินค้าส่วนภูมิภาค คือ ประเภทคลังสินค้า ที่ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางการบริโภคมากที่สุด เช่น หากธุรกิจของคุณเป็นผู้ค้าส่ง และจัดจำหน่ายสินค้าให้กับธุรกิจทั่วภาคเหนือ ผู้ประกอบการ อาจพิจารณา เช่าคลังสินค้า ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง เชียงใหม่ ลำพูน เป็นต้น
แบ่งตามลักษณะของธุรกิจ
- คลังสินค้าส่วนตัว คือ คลังสินค้าที่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการจัดสร้างขึ้นภายในอาณาเขตของตนเอง เพื่อใช้สำหรับจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูปของตนเอง เพื่อการควบคุมคุณภาพ และลดต้นทุน เช่น คลังวัตถุดิบ คลังสินค้าสำเร็จรูป เป็นต้น
- คลังสินค้าสาธารณะ คือ คลังสินค้ารูปแบบของธุรกิจ เพื่อเป็นโกดังสินค้า ที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าเช่า ค่าจัดเก็บสินค้า เช่น คลังสินค้าประเภทห้องเย็น ที่รับจัดเก็บปลาแช่แข็งจากต่างประเทศ เป็นต้น
ประโยชน์ของคลังสินค้า

- เหมาะกับอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถจัดเก็บสินค้า หรือวัตถุดิบได้ในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อใช้ในการจัดเก็บสินค้า จัดเก็บวัตถุดิบ
- ช่วยจัดเก็บสินค้า ช่วยเก็บสำรองวัตถุดิบ เพื่อรอเข้าสู่กระบวนการผลิต รอจัดจำหน่ายไปยังตลาด
- ช่วยจัดเก็บสำรองวัตถุดิบ ป้องกันไม่ให้สินค้าขาดแคลน หรือผลิตไม่ทัน จึงต้องมีการผลิตสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าจำนวนมากมาเก็บไว้ในคลังสินค้า
- ช่วยรักษาสินค้า ในกรณีที่สินค้านั้น ยังไม่ถูกกระจายออก หรือเป็นสินค้าคงคลัง ในกรณีที่มีจำนวนคำสั่งซื้อที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง
- ช่วยประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง หากคลังสินค้าของเราอยู่ใกล้กับแหล่งตลาด ช่วยประหยัดต้นทุนค่าขนส่งได้
- ช่วยสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ทั้งด้านของปริมาณ เวลา การขนส่ง สามารถเตรียมความพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง มากกว่าคู่แข่งที่ไม่มีโกดังสินค้า
- ช่วยสนับสนุนด้านการผลิตชิ้นส่วน ส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อป้อนให้กลับโรงงานอุตสาหกรรม ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปลำดับต่อไป จึงช่วยลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าได้
- ช่วยให้ส่งสินค้าได้ทันเวลา หากมีคลังสินค้าที่อยู่ใกล้กับแหล่งผู้ซื้อ จะยิ่งช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง ช่วยให้ส่งสินค้าได้ทันเวลา
- ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ ช่วยเก็บสินค้า และกระจายสินค้าให้กับลูกค้าได้ตาม Order ที่ต้องการ
- ใช้เป็นแหล่งพักสินค้าชั่วคราว หากต้องการส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ ในลักษณะของ Re-Export
อุปกรณ์จำเป็นในคลังสินค้า มีอะไรบ้าง?
- ชั้นวางสินค้า
- ตะแกรงเหล็กพับได้
- รถเข็นตะแกรงเหล็ก
- เครื่องปริ้นสติกเกอร์
- พาเลทพลาสติก
- เครื่องชั่งน้ำหนัก
- กล่องอะไหล่, กล่องใส่อะไหล่
- รถโฟคลิฟท์ยกสินค้า
- เครนยกของ
- รอกไฟฟ้า, รอกยกของ
- สายพานลำเลียง
การขออนุญาตดำเนินกิจการการคลังสินค้า

การประกอบกจการคลังสินค้า จะทำได้ต่อเมื่อจดทะเบียนบริษัท และได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการคลังสินค้า ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เอกสารในการขออนุญาตดำเนินกิจการการคลังสินค้า ประกอบไปด้วย
- ใบคำขอรับความเห็นชอบ เพื่อจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทประกอบกิจการคลังสินค้า (แบบ ค.ส.1)
- ใบคำขออนุญาตประกอบกิจการคลังสินค้า (แบบ ค.ส.2)
- ใบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต (แบบ ค.ส.3)
- ใบคำขออนุญาตจัดตั้งสาขาบริษัท (แบบ ค.ส.4)
- ใบคำขอแจ้งชนิดและปริมาณสินค้า (แบบ ค.ส.5)
จบไปแล้วกับประเภทของคลังสินค้า ว่ามีอะไรบ้าง แบ่งตามลักษณะการใช้งาน คงทำให้หลาย ๆ คนหายสงสัย แต่ได้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจาณณา สร้างโกดัง หรือเช่าโกดัง เพื่อช่วยให้สามารถเลือกคลังสินค้าได้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานมากที่สุดนั่นเอง
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- “กฎหมายควบคุมอาคาร” รู้ไว้ก่อนสร้างโรงงาน โกดัง และคลังสินค้า
- เรื่องต้องรู้ ระยะร่นโกดัง ระยะร่นโรงงาน ก่อนวางแปลนสร้าง มีอะไรบ้าง?
- สูตรคำนวณพื้นที่รับน้ำหนัก สร้างโกดัง โรงงาน คลังสินค้า ทำได้อย่างไร?
- รวมเทคนิคจัดระเบียบ “คลังสินค้า” ให้มีประสิทธิภาพทำได้ไม่ยาก
- โกดังสินค้า มีกี่ประเภท เลือกซื้อ/เช่าอย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจ
- รู้จักกับ มาตรฐานโรงงาน มีอะไรบ้าง?
- การวางผังโรงงาน คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
- ปัจจัยเลือก ทำเลที่ตั้ง สำหรับโรงงาน โกดังสินค้าต้องดูอะไรบ้าง?
- รู้ก่อนทำ สัญญาเช่าโรงงาน และโกดัง ต้องระวังอะไรบ้าง?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th