เชื่อว่าหลายหลายคนคงรู้จักกับ งานเชื่อมในอุตสาหกรรมกันอยู่แล้ว ซึ่ง การเชื่อมโลหะ เป็นกระบวนการในการเชื่อมติดเนื้อวัสดุเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันโดยการให้ความร้อนกับวัสดุด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม อาจจะมีการใช้แรงดันร่วมด้วย หรืออาจจะใช้แรงดันเพียงอย่างเดียว และอาจจะใช้สารตัวเติม หรือลวดเชื่อมด้วยก็ได้ แล้วงานเชื่อมนั้น มีกี่ประเภทกันล่ะ?
วันนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ งานเชื่อม ให้มากขึ้นกันตามไปดูเลย
งานเชื่อม คืออะไร?
การเช่ือมโลหะ (welding) หมายถึง การต่อโลหะ 2 ชิ้น ให้ติดกัน โดยการให้ความร้อนแก่โลหะ จนหลอมละลาย ติดเป็นเนื้อเดียวกัน หรือการเติม ลวดเชื่อมเป็นตัวให้ประสานกันก็ได้ กรรมวิธีในการเชื่อมโลหะ ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีดังต่อไปนี้
- การเชื่อมแก็ส (Gas Welding)
- การเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding)
- การเชื่อมอัด (Press Welding)
- การเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding)
- การเชื่อม MIG (Metal Inert Gas Welding)
- การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding)
ประเภทของงานเชื่อม
- การเชื่อมแก็ส (Gas Welding)
การเชื่อมแก๊ส อาศัยความร้อนจากการเผาไหม้ ระหว่าง แก๊สเชื้อเพลิงอะเซทิลีน กับออกซิเจน หลอมละลายโรหาให้ติดกันด้วยการเติมลวดเชื่อม (Filler Metal or Welding rod) หรืออาจให้เนื้อโลหะหลอมละลายติดกันเอง โดยไม่เติมลวดเชื่อมก็ได้
- การเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding)
เกิดจาก การนำความร้อนที่ใช้ในการเชื่อมจากการเกิดประกายอาร์ค ระหว่างชิ้นงาน และลวดเชื่อม จะทำให้ลวดเชื่อมหลอมละลายเสมือนเป็นการป้อนเนื้อโลหะให้แก่รอยเชื่อม
- การเชื่อมอัด (Press Welding)
การเชื่อมอัด หมายถึง การประสานโลหะ 2 ชิ้นให้ติดกันโดยใช้ความร้อนกับชิ้นงาน ในบริเวณที่จะทำการเชื่อม จากนั้นใช้แรงอัดส่วนที่หลอมละลาย จนกระทั่งชิ้นงานติดกันเป็นจุด หรือเกิดแนวความร้อนที่ใช้ได้จากความต้านทานไฟฟ้า เช่น การเชื่อมจุด (Spot Welding) เป็นต้น
- การเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding)
เป็นวิธีการเชื่อมโลหะ โดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์ค ระหว่างลวดทังสเตนกับชิ้นงาน โดยมีแก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณเชื่อม และบ่อหลอมละลาย เพื่อไม่ให้บรรยากาศภายนอกเข้ามาทำปฏิกริยาตรงบริเวณที่เชื่อม
- การเชื่อม MIG (Metal Inert Gas Welding)
การเชื่อม MIG เป็นกระบวนการเชื่อมที่ได้รับความร้อนจากการอาร์ค ระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงาน ลวดเชื่อมที่ใช้ จะเป็นลวดเชื่อมเปลือย ที่ส่งป้อนอย่างต่อเนื่องไปยังบริเวณอาร์ค และทำหน้าที่เป็นโลหะเติมลงยังบ่อหลอมละลาย บริเวณบ่อหลอมละลาย จะถูกปกคลุมไปด้วยแก๊สเฉื่อย เพื่อไม่ให้เกิดการรวมตัวกับอากาศ
- การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding)
การเชื่อมใต้ฟลักซ์ เป็นกระบวนการเชื่อมไฟฟ้าที่ได้รับความร้อนจากการอาร์ค ระหว่างลวดเชื่อมเปลือย กับชิ้นงานเชื่อม โดยจะมีฟลักซ์ชนิดเม็ด (Granular Flux) ปกคลุมบริเวณอาร์คและฟลักซ์ ส่วนที่อยู่ใกล้กับเนื้อเชื่อม จะหลอมละลายปกคลุมเนื้อเชื่อม เพื่อป้องกันอากาศภายนอกทำปฏิกริยากับแนวเชื่อม ส่วนฟลักซ์ที่อยู่ห่างจากเนื้อเชื่อม จะไม่หลอมละลาย และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก
อันตรายที่แฝงกับ งานเชื่อม เป็นอย่างไร?
การเชื่อมโลหะ เป็นอุตสาหกรรม ที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างอาคารร้านค้าต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องจักรกลต่าง ๆ ต้องมีการเชื่อมยึด เพื่อให้เกิดความมั่นคง การเชื่อมโลหะก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมากมาย ตั้งแต่รังสีจากการเชื่อมด้วยไฟฟ้า หรือแก๊ส คือ รังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อผู้เชื่อมได้รับรังสีนาน ๆ อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้ หรือทำให้ผิวหนังตกกระแก่ก่อนวัย ผิวหนังเหี่ยว แสงที่เกิดจากการเชื่อม เป็นแสงที่มีความเข้มข้นมากถ้ามองด้วยตาเปล่า สายตาอาจจะเสีย หรือบอดได้ นอกจากแสงแล้ว อาจจะมีสะเก็ดโลหะที่ร่อนกระเด็นเข้าสู่ตาได้
ข้อปฏิบัติใน การเชื่อมโลหะ
เพื่อความปลอดภัยในการเชื่อมโลหะ ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- ตรวจสอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์การเชื่อมโลหะให้มีความสมบูรณ์ในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฟฟ้า
- ปิดเครื่องเชื่อมทุกครั้งหลังจากหยุดการเชื่อมและเคลื่อนย้ายเครื่องเชื่อม
- สวมหน้ากากหรือต้องสวมแว่นตาและเลือกกระจกแสงให้ถูกต้องทุกครั้งในการเชื่อม จะเป็นชนิดสวมหัว (Helmet shield) หรือชนิดมือถือ (Hand shield) ก็ได้ และต้องเลือกกระจกกรองแสงให้ตรงตามมาตรฐานตามลักษณะงานที่นำไปใช้และจำนวนกระแสไฟเชื่อมด้วย
- สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
- ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงไม่ควรมองแสงอาร์กด้วยตาเปล่า
- บริเวณงานเชื่อมควรมีฉากป้องกันแสงอาร์ก เพื่อไม่ให้รบกวนบุคคลอื่น
- บริเวณทำงานเชื่อมไม่ควรเปียกชื้น เพราะจะทำให้ไฟฟ้าดูดต่อผู้ปฏิบัติงานและบุคคลอื่นได้
- บริเวณทำงานเชื่อมจะต้องปราศจากสารไวไฟชนิดต่าง ๆ
- เครื่องเชื่อมไฟฟ้าควรจัดตั้งในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
หมายเหตุ : ควันจากการเชื่อม และก๊าซเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แสงจ้าจากการเชื่อมเป็นอันตรายต่อดวงตา และอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้ กระแสไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อชีวิต
สามารถอ่านบทความ ???? รู้ก่อนเลือกใช้ ลวดเชื่อม มีกี่ชนิด?
สามารถอ่านบทความ ???? เครื่องเชื่อม คืออะไร? ใช้อย่างไรให้เหมาะกับงาน