รู้จัก ซิลิโคน ซิลิโคนยาแนว มีกี่แบบ? ใช้งานอย่างไรบ้าง?

หลายท่านคงเคยพบเจอปัญหาน้ำรั่วซึมจากบริเวณรอยร้าวของผนังบ้าน วงกบประตู หน้าต่าง ขอบมุมกระจก หรือสุขภัณฑ์ เคยลองยิงซิลิโคนเองก็แล้ว จ้างช่างมายิงก็แล้ว ปัญหาดังกล่าวไม่หมดไป น้ำยังซึมอยู่ ปัญหาดังกล่าวเกิดจากอะไร แก้ไขได้อย่างไร? วัสดุ ซิลิโคน หรือ ซิลิโคนยาแนว แต่ละชนิด มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร? ตาม KACHA ไปหาคำตอบกันเลย

ซิลิโคน หรือซิลิโคนยาแนว คืออะไร?

ซิลิโคนยาแนว (Silicone Sealant) เป็นวัสดุอุดรอยต่อที่ทามาจากวัสดุโพลีเมอร์ มีองค์ประกอบหลัก คือ ซิลิกอน คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และสารเคมีประเภทอื่น เป็นสารประกอบอนินทรีย์ (Inorrganic Based) ที่มีลักษณะ เป็นวัสดุกึ่งเหลวมีความยืดหยุ่นสูง คนทั่วไปจึงมักสรุปเรียกวัสดุอุดรอยต่อ หรือยาแนว ทั้งหมดว่า ซิลิโคน เป็นเพราะคุณสมบัติของมันที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายเรียกได้ว่าสารพัดประโยชน์จนคนทั่วไปเข้าใจผิด

210713-Content-ซิลิโคนหรือซิลิโคนยาแนว-มีกี่แบบ-ใช้งานอย่างไรบ้าง02

คุณสมบัติของซิลิโคน คือ มีความยืดหยุ่นสูง และคงทนต่อรังสียูวี (UV) สูง ซิลิโคนนิยมใช้กับรอยต่อระหว่าง อะลูมิเนียมกับกระจก โดยเฉพาะอาคารสูงที่มีการติดตั้งกระจกจำนวนมาก ๆ หลังจากแห้ง และแข็งตัวจะมีลักษณะแข็ง และมีความยืดหยุ่นสูง มีผิวมันวาว กาวซิลิโคนถูกใช้ทั้งในงานทั่วไปในบ้านเรือน และในงานอุตสาหกรรม

ซิลิโคน มีกี่ประเภท?

ซิลิโคน คือ วัสดุยาแนวประเภทหนึ่ง ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้

1. ซิลิโคนแบบมีกรด (Acetic Cure Silicone)

จะมีลักษณะเฉพาะตัว คือ ในขณะใช้งานจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเหมือนน้ำส้มสายชู เนื่องจากสารระเหยที่เป็นส่วนผสม ซึ่งมีผลทำให้กาวชนิดนี้แห้งเร็ว และมีความแข็งแรงสูง แต่อาจมีฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุที่นำไปติดได้ เนื่องจากกาวมีความเป็นกรด จึงนิยมในการนำไปใช้ติดกระจกที่มีความทนทานต่อสารเคมีสูง

  • ข้อดี คือ มีความยืดหยุ่นกำลังดี ไม่อ่อน ไม่แข็งจนเกินไป, ทนรังสี UV, แรงยึดเกาะสูง และสามารถใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอก แห้งเร็ว ทำให้จบงานได้เร็ว
  • ข้อเสีย คือ ห้ามใช้กับวัสดุที่มีพื้นผิวเป็นเซรามิก โลหะ และหิน เพราะซิลิโคน จะทำปฎิกิริยากับพื้นผิวดังกล่าว

2. ซิลิโคนแบบไม่มีกรด (Neutral Cure Silicone)

จะมีลักษณะที่แห้งตัวช้ากว่า มีความแข็งแรงน้อยกว่า แต่มีความยืดหยุ่มสูงกว่ากาวซิลิโคนที่เป็นกรด มีกลิ่นเหม็นน้อยกว่า และไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ กาวซิลิโคนชนิดออกไซม์ (Oxime-Based Silicone) และกาวซิลิโคนชนิดอัลโคซี่ (Alcoxy-Based Silicone)

  • ข้อดี คือ เหมาะสำหรับใช้กับพื้นผิวที่เป็นหิน เซรามิค หรือ โลหะ เพราะจะไม่กัดพื้นผิว ไม่มีกลิ่น
  • ข้อเสีย คือ ราคาแพงกว่าแบบมีกรด และแห้งช้ากว่า

ยาแนวประเภทซิลิโคนนี้ ไม่สามารถทาสีทับได้ แต่ก็มีให้เลือกอยู่หลายสี เช่น สีใส สีขาว และสีดำ ซึ่งสีใสก็เหมาะสำหรับกระจก ส่วนสีขาวเหมาะกับการใช้กับสุขภัณฑ์ห้องน้ำ ส่วนสีดำก็ใช้ได้กับท็อปเคาน์เตอร์ครัวที่เป็นหินแกรนิต เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง ซิลิโคน และอะคริลิค และวิธีการเลือกใช้ให้ถูกต้อง

ซิลิโคนและอะคริลิค เป็นกาวที่ถูกใช้ในการยาแนวปิดช่องว่าง หรือรอยต่อ ภายในบ้าน หรืออาคารต่าง ๆ โดยมีลักษณะภายนอกที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก แต่ในการเลือกกาวยาแนวชนิดใดชนิดหนึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยหลาย ๆ อย่าง โดยต้องคำนึงถึงการนำไปใช้งานเป็นหลัก ดังนั้น การเข้าใจ ความแตกต่างระหว่าง ซิลิโคนและอะคริลิค จึงสำคัญ

210713-Content-ซิลิโคนหรือซิลิโคนยาแนว-มีกี่แบบ-ใช้งานอย่างไรบ้าง03
  • ลักษณะของกาวซิลิโคน

เป็นกาวชนิดส่วนประกอบเดียว ชนิดกลาง และกรด (แห้งเร็ว) หลังการแห้งตัว จะมีความคงทน ยืดหยุ่น และให้ประสิทธิภาพการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม กาวซิลิโคนจะมีคุณสมบัติโดดเด่นด้านความทนทานต่อสภาพอากาศ และรังสียูวีได้เป็นอย่างดี มีหลากหลายเกรด และคุณสมบัติพิเศษ เช่น ยาแนวในพื้นที่ควบคุมสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันเชื้อรา งานยาแนว เพื่อกันไฟลาม หรืองานยาแนวทั่วไป เช่น แผงโซลาเซลส์ หลังคาเมทัลชีท ประตู-หน้าต่าง เป็นต้น สามารถใช้ได้กับวัสดุหลากหลาย โดยไม่ต้องใช้สารรองพื้น

  • ลักษณะของกาวอะคริลิค

อะคริลิค เป็นกาวชนิดส่วนประกอบเดียว ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย จึงเป็นมิตรต่อผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อม เมื่อแห้งตัวสมบูรณ์ จะทนต่อสภาพภูมิอากาศ รังสียูวี น้ำ และสารเคมี ยึดเกาะตัวได้ดีกับวัสดุหลายชนิด สามารถใช้งานได้หลากลายทั้งงานยาแนวทั่วไป งานยาแนวกันไฟลาม และงานกันซึมดาดฟ้า และผนัง

จากที่กล่าวมาข้างต้นเราก็จะพบว่าทั้งซิลิโคน และอะคริลิค ก็มีคุณสมบัติที่เฉพาะตัวมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่ยังมีวัสดุยึดติดอีกชนิดที่กำลังได้รับความนิยมเพราะสามารถรวมเอาข้อดีของทั้ง ซิลิโคน และ อะคริลิค ไว้ในตัวมันเอง วัสดุชนิดนี้มีชื่อว่า “โพลียูรีเทน” (PU)

แล้วโพลียูรีเทน (PU) มีคุณสมบัติอย่างไร?

โพลียูรีเทน มีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับงานอุดรอยโครงสร้างทั้งภายใน และภายนอก มีความยืดหยุ่นสูงมาก แข็งแรง ทนทานต่อแรงดันแรงกดทับ ทนรังสี UV ทาสีทับได้ ไม่หลุดไม่ล่อนเหมาะกับงานโครงสร้าง อุด ยึด ติด

กล่าวได้ว่า ซิลิโคน หรือซิลิโคนยาแนว อะคริลิค และโพลียูรีเทน เป็นวัสดุอุดซ่อมแซมชนิดหนึ่งที่เรียกเหมารวมว่ายาแนว ซึ่งแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติต่างกันไป ให้จำไว้ว่าซ่อมเล็กน้อยภายในเลือก อะคริลิค เพราะทาสีทับได้ แต่หากซ่อมโครงสร้างเลือกใช้ โพลียูรีเทน จะเหมาะกว่าเพราะไม่ต้องกังวลว่ามีกรดหรือไม่มีกรด ใช้ได้กับหินหรือโลหะ ที่สำคัญคุณสมบัติมันดีกว่าซิลิโคนมาก ราคาอาจจะแพงกว่าหน่อย แต่ซ่อมบ้านเราทั้งทีก็ใช้ของดีไปเลยดีกว่า

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย