ตู้ยาสามัญ ในโรงงานควรมีอะไรบ้าง? สวัสดิการสุขภาพที่ลูกจ้างควรรู้!
บทความนี้พาไปเปิด ตู้ยาสามัญ ในโรงงาน หนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิตแรงงาน ที่คงหนีไม่พ้นยารักษาโรค โดยถือเป็นสวัสดิการที่ผ่านการพิจารณาว่าเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับลูกจ้าง ที่ทางกฎหมายกำหนดมาให้ ซึ่งจะมีอะไรบ้าง ไปอ่านพร้อมกันเลย!
ตู้ยาสามัญ ในโรงงานควรมีอะไรในบ้าง?
หนึ่งสิ่งในฐานะลูกจ้างที่ควรรู้เมื่อเข้าไปทำงานแล้ว นั่นก็คือ เรื่องของสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานอย่าง ยารักษาโรค ว่ามีชนิดใดบ้าง และเป็นยาชนิดที่เรามีอาการแพ้หรือไม่ โดยบทความนี้ได้รวบรวม สิ่งที่อยู่ใน ตู้ยาสามัญ มาแล้ว ดังนี้
สำหรับสถานที่ทำงาน ที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ตามกฎกระทรวง ระบุให้นายจ้างจัดให้มีเวชภัณฑ์ และยาในจำนวนที่เพียงพออย่างน้อยตามรายการที่กำหนด โดยมีเวชภัณฑ์และยาพื้นฐานทั้งสิ้น จำนวน 29 รายการ ดังนี้
(ก) กรรไกร
(ข) แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด
(ค) เข็มกลัด
(ง) ถ้วยน้ำ
(จ) ที่ป้ายยา
(ฉ) ปรอทวัดไข้
(ช) ปากคีบปลายทู่
(ซ) ผ้าพันยืด
(ฌ) ผ้าสามเหลี่ยม
(ญ) สายยางรัดห้ามเลือด
(ฎ) สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล และผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล
(ฏ) หลอดหยดยา
(ฐ) ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม
(ฑ) ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือโพวิโดน-ไอโอดีน
(ฒ) น้ำยาโพวิโดน-ไอโอดีน ชนิดฟอกแผล
(ณ) ผงน้ำตาลเกลือแร่
(ด) ยาแก้ผดผื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ
(ต) ยาแก้แพ้
(ถ) ยาทาแก้ผดผื่นคัน
(ท) ยาธาตุน้ำแดง
(ธ) ยาบรรเทาปวดลดไข้
(น) ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก
(บ) ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
(ป) เหล้าแอมโมเนียหอม
(ผ) แอลกอฮอล์เช็ดแผล
(ฝ) ขี้ผึ้งป้ายตา
(พ) ถ้วยล้างตา
(ฟ) น้ำกรดบอริคล้างตา
(ภ) ยาหยอดตา
สวัสดิการเกี่ยวกับเวชภัณฑ์และยา ที่กฎหมายบังคับ
สวัสดิการที่ทำงานของลูกจ้าง ที่นายจ้างควรจัดเตรียมให้
- สำหรับสถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างไม่เกิน 40 คน
- เวชภัณฑ์และยาพื้นฐานจำนวน 29 รายการ
- ควรมีจุดบริการน้ำดื่มไม่น้อยกว่า 1 ที่/40 คน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนหนึ่ง สำหรับลูกจ้างทุก 40 คน และหากมีเศษไม่ถึง 40 คน แต่มากกว่า 20 คน ให้ถือป็น 40 คน
- มีห้องน้ำที่สะอาดถูกสุขลักษณะแยกสำหรับชายและหญิง หากกรณีมีลูกจ้างเป็นผู้พิการ ให้จัดห้องน้ำสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ
- สำหรับสถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป
- เวชภัณฑ์และยาพื้นฐานจำนวน 29 รายการ
- ควรมีจุดบริการน้ำดื่มไม่น้อยกว่า 1 ที่/40 คน
- มีห้องน้ำที่สะอาดถูกสุขลักษณะและเพียงพอ แยกสำหรับชายและหญิง หากกรณีมีลูกจ้างเป็นผู้พิการ ให้จัดห้องน้ำสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ
- มีห้องรักษาพยาบาล พร้อมเตียงคนไข้อย่างน้อย 1 เตียง และยาเวชภัณฑ์เพิ่มเติมตามความจำเป็น
- มีพยาบาลระดับเทคนิคขึ้นไปอย่างน้อย 1 คน ประจำอยู่ที่ห้องพยาบาลตลอดเวลาทำงาน
- มีแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อย 1 คน เพื่อตรวจรักษาไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
- สำหรับสถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป
- เวชภัณฑ์และยาพื้นฐานจำนวน 29 รายการ
- ควรมีจุดบริการน้ำดื่มไม่น้อยกว่า 1 ที่/40 คน
- มีห้องน้ำที่สะอาดถูกสุขลักษณะและเพียงพอ แยกสำหรับชายและหญิง หากกรณีมีลูกจ้างเป็นผู้พิการ ให้จัดห้องน้ำสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ
- มีห้องรักษาพยาบาล พร้อมเตียงคนไข้อย่างน้อย 1 เตียง และยาเวชภัณฑ์เพิ่มเติมตามความจำเป็น
- มีพยาบาลระดับเทคนิคขึ้นไปอย่างน้อย 2 คน ประจำอยู่ที่ห้องพยาบาลตลอดเวลาทำงาน
- มีแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อย 1 คน เพื่อตรวจรักษาไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
- มียานพาหนะเตรียมพร้อมสำหรับกรณี ต้องส่งลูกจ้างเข้าสู่สถานพยาบาล เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลได้ทันที
*** นายจ้างอาจทำการตกลง เรื่องการส่งลูกจ้างเข้ารักษาในสถานพยาบาล ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงทันที แทนการจัดให้มีแพทย์ประจำ โดยกรณีนี้ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้แทนอธิบดี ***
จัดการ ตู้ยาสามัญ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน!
- เก็บยาในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น และไม่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง
- จัดเก็บยาแยกตามชนิด เพื่อง่ายต่อการใช้งาน เช่น ยาเม็ด ยาน้ำ และ ยาฉีด เป็นต้น โดยอาจเรียงตามตัวอักษร หรือ การออกฤทธิ์เพื่อให้ง่ายต่อการหา และควรเก็บยาอย่างเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกัน
- การจัดเก็บยาควรเรียงลำดับการจัดเก็บแบบ First In – First Out โดยยาที่เบิกมาก่อนวางไว้แถวหน้าเพื่อให้หยิบใช้ก่อน และพิจารณาร่วมกับการดูวันหมดอายุของยา ยาใดหมดอายุก่อน ให้วางไว้แถวหน้า
- ตรวจเช็ควันหมดอายุ และสภาพของยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการนำยาหมดอายุและเสื่อมสภาพมาใช้
- ตู้หรือลิ้นชักที่จัดเก็บยา ควรมีการติดชื่อยาไว้ที่หน้าตู้หรือหน้าลิ้นชักให้ชัดเจน เพื่อให้สะดวกในการค้นหาและหยิบใช้ยา
- ยาที่มีภาชนะบรรจุคล้ายกัน หรือ มีหลายความแรง ไม่ควรจัดวางไว้ในสถานที่ที่ใกล้กันเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการหยิบยาผิด หรือการคืนยาผิดช่อง
- ยาที่อยู่ในรูปแบบแผง ควรจัดเก็บเป็นแผง ไม่ควรตัดหรือทำให้แผงชำรุด เพราะอาจทำให้ส่วนที่พิมพ์วันหมดอายุของยาบนแผงถูกตัดออกไป ยกเว้นกรณีจำเป็นที่ต้องจ่ายยาแบบไม่เต็มแผง
ยารักษาโรค หนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นอย่างมากสำหรับทุกคน แม้แต่ในด้านการทำงาน ก็มีกฎหมายและข้อกำหนดออกมารองรับ เพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับพนักงานทุกคน ดังนั้นทุกคนควรรับทราบสวัสดิการนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวเองนะคะ
บทความที่น่าสนใจ
ข้อมูลอ้างอิง : งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น, ร้านยาเภสัชวิทยา, ckkequipmed