รู้จักกับ “ท่อร้อยสายไฟ” ดีอย่างไร? เดินท่อแบบไหนดีกว่ากัน
เมื่อพูดถึง “ท่อร้อยสายไฟ” จัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ สำหรับการเดินสายไฟภายในอาคารทั่วไปเป็นอย่างมาก นอกจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ การเดินสายไฟเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ยังสามารถช่วยปกป้องสายไฟจากการถูกกระแทก หรืออันตรายที่อาจทำให้สายไฟเกิดการชำรุดได้อีกด้วย
วันนี้ KACHA จะพาไปเรียนรู้กันดีกว่าว่า ท่อร้อยสายไฟนั้น มีกี่ประเภท? ใช้งานแบบไหนบ้าง? และการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร?
ท่อร้อยสายไฟ คืออะไร?
ท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) เป็นอุปกรณ์สำหรับงานไฟฟ้า มีหน้าที่ในการร้อยสายไฟฟ้า สายสัญญาณต่าง ๆ ที่ได้รับการติดตั้ง ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และยังมีส่วนช่วยป้องกันสายไฟ หรือสายสัญญาณ จากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ จากภายนอกที่มีโอกาสจะทำลายสายไฟได้นั่นเอง การติดตั้งท่อร้อยสายไฟ มักจะติดตั้งในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ฝังใต้หนัง ใต้พื้น บนฝ้า ซึ่งจะใช้แตกต่างกันในแต่ละชนิดก็ได้
ประเภทของท่อร้อยสายไฟ
ท่อร้อยสายไฟนั้น จะช่วยปกป้องสายไฟ และรวบรวมสายไฟหลาย ๆ เส้นไว้ด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ท่อโลหะ และ ท่อพลาสติก นอกจากนี้ การเดินสายไฟ จะมีแบบฝังผนัง สามารถเลือกได้ทั้งท่อโลหะ และท่อพลาสติก ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ซึ่งท่อโลหะ จะแพงกว่า และทนทานกว่าเช่นกัน
ท่อโลหะ
ท่อโลหะนั้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- ท่อโลหะขนาดบาง EMT (Electrical Metallic Tubing) ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ ห้ามฝังดิน หรือฝังในพื้นคอนกรีต ในสถานที่อันตราย ระบบแรงสูง หรือบริเวณที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ
ขนาดท่อที่ขายในท้องตลาด คือ 1/2 นิ้ว, 3/4 นิ้ว, 1 นิ้ว, 1 1/4 นิ้ว, 1 1/2 นิ้ว, 2 นิ้ว การดัดท่อชนิดนี้ใช้ Bender ที่มีขนาดเท่ากับขนาดท่อ สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป (Elbow) ที่วางขายทั่วไปได้ เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น
- ท่อโลหะขนาดกลาง IMC (Intermediate Metallic Conduit) ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง พื้นคอนกรีตได้
ขนาดท่อที่ขายในท้องตลาด คือ 1/2 นิ้ว, 3/4 นิ้ว, 1 นิ้ว, 1 1/4 นิ้ว, 1 1/2 นิ้ว, 2, 2 1/2 นิ้ว, 3 นิ้ว, 3 1/2 นิ้วและ 4 นิ้ว การดัดท่อชนิดนี้ ใช้ Hickey ที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป ที่วางขายทั่วไปได้ เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น
- ท่อหนาพิเศษ RSC (Rigid Steel Conduit) ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง พื้นคอนกรีตได้
ขนาดท่อที่ขายในท้องตลาดคือ 1/2 นิ้ว, 3/4 นิ้ว, 1 นิ้ว, 1 1/4 นิ้ว, 1 1/2 นิ้ว, 2 นิ้ว, 2 1/2 นิ้ว, 3 นิ้ว, 3 1/2 นิ้ว, 4 นิ้ว, 5 นิ้วและ 6 นิ้ว การดัดท่อชนิดนี้ใช้ Hickey หรือเครื่องดัดท่อไฮดรอลิก ที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป คล้าย ๆ กับข้อโค้งสำเร็จรูปของท่อ IMC ที่วางขายทั่วไปได้ เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น
-
ท่อโลหะชนิดอ่อน (Flexible Metal Conduit) ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ทั้งผิวภายนอก และภายใน เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอไปมาได้ เหมาะสำหรับต่อเข้ากับดวงโคม มอเตอร์ หรือเครื่องจักรกลที่มีการสั่นสะเทือน มีขนาดตั้งแต่ 1/2 – 4 นิ้ว
- ท่อโลหะชนิดอ่อนกันน้ำ (Raining Flexible Metal Conduit) เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ไม่ให้เข้าไปภายในท่อได้ ใช้งานในบริเวณที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อเพื่อป้องกันสายไฟฟ้า ชำรุด จากไอของเหลวหรือของแข็งหรือในที่อันตราย ห้ามใช้ในบริเวณที่อุณหภูมิใช้งานของ สายไฟฟ้าสูงมากจนทำให้ท่อเสียหาย มีขนาดตั้งแต่ 1/2 – 4 นิ้ว
ท่อพลาสติก
ท่อพลาสติกนั้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- ท่อพีวีซี (PVC) สีเหลือง ทำด้วยพลาสติก PVC ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ ท่อ PVC ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ ห้ามใช้ใน บริเวณที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ ขนาดท่อที่ขายในท้องตลาด คือ 3/8 นิ้ว, 1/2 นิ้ว, 3/4 นิ้ว, 1 นิ้ว, 1 1/4 นิ้ว, 1 1/2 นิ้ว, 2 นิ้ว, 2 1/2 นิ้ว, 3 นิ้วและ 4 นิ้ว และท่อขนาด 3 นิ้ว และ 4 นิ้ว มีความยาว 2 ขนาด คือ 4 และ 6 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทด้วย
ข้อเสีย คือ ขณะที่ถูกไฟไหม้ จะมีก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อคนออกมาด้วย และไม่ทนต่อแสง UV ทำให้ท่อกรอบ เมื่อโดนแดดเป็นเวลานาน มีขนาดตั้งแต่ 1/2-4 นิ้ว และยาวท่อนละ 4 เมตร
- ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) ทำด้วยพลาสติก Polyethylene ชนิด High Density ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ มีความแข็งแรงสูง ยืดหยุ่นตัวได้ดี มีทั้งแบบผิวเรียบ และแบบลูกฟูก ใช้เดินสายบนผิวในที่โล่ง บนฝ้าในอาคาร เดินสายใต้ดินทั้งแรงดันต่ำ และแรงดันสูงปานกลาง ทนต่อแรงกดอัดได้ดี
ข้อดี คือ มีความอ่อนตัว จึงไม่ต้องดัดท่อทำให้เดินท่อได้สะดวกรวดเร็ว ขนาดของท่อ มีตั้งแต่ 1/2 นิ้วขึ้นไป
- ท่อ EFLEX (Flexible Conduit) เป็นท่อพลาสติกที่ทำจาก พลาสติกชนิด PA (Polyamide), PE จุดเด่น คือ มีความอ่อนตัว ทนทาน ดัดโค้งงอได้ ไม่ติดไฟหรือไม่ลามไฟ
ข้อดี-ข้อเสีย ของท่อร้อยสายไฟ
ข้อดี
- ทำให้การเดินสายไฟเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม
- ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะทำลายสายไฟ หรือสายสัญญาณ เช่น ฝุ่น น้ำ ของเหลว สารเคมี สัตว์กัดแทะ แมลง ที่จะทำให้สายไฟเสียหาย
- ช่วยป้องกันอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ประกายไฟที่เกิดขึ้น จะถูกจำกัดภายในท่อ ไม่ให้ออกมาติดไฟด้านนอกท่อ
ข้อเสีย
- มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายไฟฟ้าที่มากขึ้นกว่าติดตั้งแบบธรรมดา
- ใช้เวลาในการติดตั้ง การเดินสายไฟมากกว่า การเดินแบบสายเปลือย
- แก้ไข ซ่อมแซม หรือเพิ่มสายไฟ จะสามารถทำได้ยากกว่าการเดินสายไฟแบบธรรมดา
เดินท่อร้อยสายไฟแบบไหนดีกว่ากัน?
สรุปได้ว่า การเดินสายไฟแบบฝังผนัง ทำให้บ้านดูเรียบร้อยมากกว่า แต่ต้องใช้งบประมาณที่มากกว่าเช่นกัน และยังต้องมีการออกแบบ และการวางแผนการก่อสร้างที่ดี จึงจะได้งานที่สมบูรณ์ และไม่ต้องแก้ไขในภายหลัง อย่างไรก็ตาม การเดินสายไฟแบบเดินลอย หากเดินสายไฟ หรือท่อร้อยสายไฟอย่างเป็นระเบียบ ก็ทำให้บ้านมีความสวยงามได้เช่นกัน โดยเฉพาะการตกแต่งบ้านสไตล์ลอฟต์ และการซ่อมบำรุง และติดตั้งสายไฟเพิ่มเติม ทำได้ง่ายกว่าแบบฝังนั่นเอง
จบไปแล้ว สำหรับ ท่อร้อยสายไฟ ว่าคืออะไร มีกี่ประเภท คงทำให้หลาย ๆ คนได้รู้จัก และเลือกไปใช้งานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ก่อติดตั้ง อย่าลืมศึกษาหาข้อมูลการติดตั้งอย่างละเอียดด้วย เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รู้จักกับ “สวิตซ์ไฟ” คืออะไร? มีกี่ประเภท? เลือกใช้ให้เหมาะสม
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- วิธีต่อสายไฟ แบบพื้นฐานที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?
- ช่างไฟฟ้า ความรู้เบื้องต้นที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง?
- ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คืออะไร? ช่วยประหยัดไฟจริงหรือ!
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th