ท่อ ppr คือ ? ขนาดท่อ ppr มีกี่ขนาด ราคาเท่าไหร่บ้าง
ท่อ ppr คือ ขนาดท่อ ppr มีกี่ขนาด ราคาเท่าไหร่บ้าง Kacha มีคำตอบ พร้อมพาไปดูคุณสมบัติ
และ ท่อppr ข้อดี ข้อเสีย ใครกำลังมองหาท่อประปาคุณภาพดีไปใช้งาน ตามมาดูกันเลย
ท่อ ppr คือ

ท่อ ppr คือ ท่อที่ทำจากวัสดุ Polypropylene มีลักษณะเป็นท่อสีเขียว มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง และ กันน้ำรั่วซึมได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับใช้ในงานประปา ลำเลียงน้ำร้อน น้ำอุ่น และ น้ำเย็น รวมถึง ระบบปรับอากาศ และ ระบบขนส่งสารเคมี ในโรงงานอุตสาหกรรม
ท่อppr มีกี่แบบ

ท่อppr มี 2 แบบ คือ ท่อPPR PN10 และ ท่อPPR PN20 โดยแต่ละชนิด เหมาะกับความดันน้ำ และ น้ำที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน ดังนี้
- ท่อPPR PN10 = รับความดันได้ 10 บาร์ เหมาะกับน้ำอุ่น น้ำเย็น
- ท่อPPR PN20 = รับความดันได้ 20 บาร์ เหมาะกับน้ำร้อน
ท่อppr คุณสมบัติ

- ทนความร้อนสูง
พลาสติก Polypropylene มีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 160 – 170 องศาเซลเซียส ทำให้มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง ใช้กับน้ำร้อน หรือ น้ำอุ่นก็ได้ โดยท่อ ppr ที่เหมาะกับน้ำอุ่น จะมีคาดสีน้ำเงิน ส่วนท่อppr ที่เหมาะกับน้ำร้อน จะมีคาดสีแดง
- กันรั่วซึมได้ดีเยี่ยม
ด้วยท่อ ppr ถูกผลิตขึ้น โดยการเชื่อมเนื้อท่อด้วยความร้อนสูง จนเนื้อท่อประสานกัน อีกทั้งยังถูกเชื่อมผสานกับข้อต่อเป็นเนื้อเดียว ทำให้มีคุณสมบัติกันรั่วซึมได้ดีเยี่ยม หมดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ 100%
- เนื้อท่อมีความเหนียวและยืดหยุ่น
นอกจากกันน้ำรั่วซึมได้ดีแล้ว เนื้อท่อ ppr ยังมีความเหนียวและยืดหยุ่น สามารถรับแรงกระแทกและแรงดันภายในท่อได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน
- ทนแรงดันน้ำสูง
ท่อppr ทนแรงดันน้ำได้สูงสุดถึง 20 บาร์ ทำให้ออกแบบระบบท่อประปาได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องต่อท่อให้ยาวขึ้น หรือ ต่อท่อให้คดเคี้ยว เพื่อลดแรงดันแต่อย่างใด
- ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
PPR เป็นพลาสติกที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารเคมีเจือปน และ ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง จึงปลอดภัยต่อสุขภาพ อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ท่อppr ข้อดี

- ซ่อมแซมง่าย
หากท่อ ppr มีปัญหารั่วซึม สามารถใช้แท่งซ่อมอุดรูรั่วได้เลย ต่างจากท่อ PVC ที่ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะต้องรื้อผนัง หรือ ขุดดิน เพื่อนำท่อเก่าออกมา
- ราคาถูกกว่าท่อเหล็ก
เมื่อเทียบกับท่อเหล็ก ซึ่งเป็นท่อประปาอีกแบบหนึ่งที่นิมใช้กับน้ำอุ่น หรือ น้ำร้อน ท่อ ppr จะมีราคาถูกกว่า โดยท่อเหล็ก 6 เมตร ขนาด ½” ราคา 570 บาท ส่วนท่อPPR 4เมตร ½” PN20 ราคาตั้งแค่ 220 บาทเอง หากเทียบราคาต่อเมตรแล้ว PPR ราคาดีกว่ากันถึงครึ่งนึง (55 บาท เทียบกับ 95 บาท)
- ใช้ร่วมกับท่อประปาชนิดอื่น ๆ ได้
ท่อ ppr ไม่จำเป็นต้องต่อกับท่อ ppr ด้วยกันเสมอไป แต่สามารถใช้ร่วมกับท่อประปาชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ท่อ PVC รวมถึง สุขภัณฑ์ต่าง ๆ
- วางท่อทับกันได้ด้วยท่อ Cross pipe
ข้อต่อท่อ ppr จะมีข้อต่อที่โค้งงอ เรียกว่า ท่อ Cross pipe ช่วยให้เราวางท่อประปาทับกันได้ ทำให้ออกแบบ และ ติดตั้งท่อประปาได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องลากท่ออ้อมไปอ้อมมาเหมือนท่อ PVC หรือ ท่อเหล็ก
ท่อ ppr ข้อเสีย

- ราคาแพงกว่าท่อ PVC
ราคาท่อ ppr แพงกว่าท่อ PVC โดยสเปคเดียวกัน ท่อppr จะขายกันอยู่ที่ 220 บาท ส่วนท่อ PVC ขายกันอยู่ที่ 35 บาท ดังนั้น หากต้องการประหยัดเงินแล้วละก็ แนะนำให้ใช้ท่อ ppr เฉพาะจุดที่ต้องติดตั้งระบบน้ำอุ่นน้ำร้อนในอาคารเท่านั้น
- ต้องใช้เครื่องเชื่อมท่อในการติดตั้ง
เนื่องจากต้องเชื่อมท่อ ppr กับข้อต่อให้ผสานเป็นเนื้อเดียว ทำให้ต้องใช้เครื่องเชื่อมท่อในการติดตั้ง ส่งผลให้ค่าใช้จ่าย หรือ ค่าบริการติดตั้งท่อ ppr ของช่างประปา หรือ ผู้รับเหมา อาจมีราคาแพงพอสมควร
ท่อppr ใช้งานที่ไหนบ้าง

- ระบบประปา ระบบปรับอากาศใน บ้านพักที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล โรงแรม โรงเรียน ออฟฟิศต่าง ๆ
- ระบบประปา ระบบขนส่งสารเคมี ในโรงงานอุตสาหกรรม
- ระบบประปา สำหรับสระว่ายน้ำ
- ระบบประปา สำหรับการเกษตร
- ระบบประปา เพื่อการบริโภค
ปัจจัยที่ทำให้ต้องใช้ท่อ ppr

- แรงดันน้ำในอาคารสูง
หากบ้านพักที่อยู่อาศัยของคุณ มีแค่ชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น สามารถใช้ท่อ PVC ปกติได้ แต่ถ้าอาคารมีหลายชั้นแล้วละก็ ควรใช้ท่อ ppr เพื่อให้รองรับกับระบบประปาที่ต้องใช้แรงดันน้ำสูง สำหรับทำให้น้ำลำเลียงขึ้นไปได้
- ต้องการทำน้ำร้อน น้ำอุ่น น้ำเย็น
เพราะอาคารเช่น โรงแรม คอนโดมิเนียม ต้องมีทั้งน้ำร้อน น้ำอุ่น และ น้ำเย็น เพื่อการบริโภค หรือ สาธารณสุข ดังนั้น จึงควรใช้ท่อ ppr เพื่อให้ทนต่อความร้อน ยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น
- ลดการใช้ท่อเหล็ก
ท่อppr มีคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทก และ แรงดันน้ำได้ดี ทำให้มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้แทนท่อเหล็กได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดงบแล้ว ยังดูแลบำรุงรักษาได้ง่ายกว่าอีกด้วย
ขนาดท่อ ppr มีกี่ขนาด
ขนาดท่อ ppr | PN10 | PN12.5 | PN20 |
---|---|---|---|
20 mm. | – | 140 | 216 |
25 mm. | 184 | – | 332 |
32 mm. | 304 | – | 536 |
40 mm. | 452 | – | 836 |
50 mm. | 720 | – | 1300 |
63 mm. | 1148 | – | 2044 |
75 mm. | 1608 | – | 2532 |
90 mm. | 2248 | – | 3508 |
110 mm. | 3336 | – | 4996 |
125 mm. | 5268 | – | – |
160 mm. | 9800 | – | – |
ท่อppr เป็นท่อที่มีประสิทธิภาพมาก เหมาะสำหรับใช้ในระบบประปา ที่ต้องใช้น้ำร้อน น้ำอุ่น น้ำเย็น รวมถึงยังใช้ในระบบปรับอากาศ และ ระบบขนส่งสารเคมี ในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย ดังนั้น หากใครอยากรู้ว่า ขนาดท่อ ppr มีกี่ขนาด ราคาเท่าไหร่บ้าง แล้วละก็ ลองดูได้เลย เพื่อให้คุณเลือกท่อ ppr ที่เหมาะกับการใช้งานของตนเองได้มากที่สุด
บทความที่น่าสนใจ