บันไดหน้าบ้าน เลือกแบบไหนให้เหมาะสมและถูกกฎหมาย

บันได อีกหนึ่งสิ่งที่ทุกบ้านต้องมี ใช้สำหรับขึ้น-ลง ทำหน้าที่เชื่อมต่อทางเดินระหว่างแต่ละชั้นภายในบ้าน หรือแม้แต่ทางเข้าบ้าน บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ บันไดหน้าบ้าน มีแบบไหนบ้าง และเลือกแบบไหนให้เหมาะสม และถูกกฎหมาย ปลอดภัยในการใช้งาน ตามไปดูกันเลย

บันไดหน้าบ้านที่ถูกกฎหมาย เป็นแบบไหน?

การออกแบบสร้างบ้านให้ถูกต้องตามหลัก ต้องมีกฎหมายควบคุมอาคารด้วย เพื่อให้ได้มาตรฐาน ความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย และผู้คนในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งรวมไปถึการออกแบบบันไดหน้าบ้านด้วยเช่นกัน แบบบันไดหน้าบ้าน ที่ถูกกฎหมาย มีดังนี้

  • บันไดต้องมีความกว้างให้เดินขึ้น-ลงสะดวกไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ไม่แคบจนเกินไป ความกว้างสุทธิ ไม่รวมสิ่งกีดขวางที่อยู่กับบันได เช่น ราวกันตก ความกว้างของบันได ส่งผลต่อความเป็นไปได้ในการขนของใหญ่ขึ้น-ลงอีกด้วย ดังนั้น อย่าลืมตรวจเช็กขนาดของบันไดก่อนซื้อด้วย
  • ช่วงหนึ่งของบันได ต้องสูงไม่เกิน 3 เมตร คือ ความสูงจากระดับพื้นก่อนบันไดขั้นแรก ไปยังระดับพื้นบ้านของชั้นถัดไป
  • ระยะความสูงระหว่างขั้นบันได หรือลูกตั้งบันได ต้องสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร เพื่อใช้ก้าวขึ้น-ลง อย่างสะดวก และปลอดภัย
  • ขั้นบันได หรือลูกนอนบันได ต้องเหลือระยะไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร เพื่อให้มีระยะวางเท้าได้ และปลอดภัยเวลาเหยียบลงไปแต่ละขั้น
  • พื้นหน้าบันได ต้องมีความกว้าง และความยาว ไม่น้อยกว่าความกว้างบันได เพื่อให้เดินขึ้น-ลงได้มีที่พักที่ปลายทาง เตรียมตัวก้าวขาลงได้อย่างถนัด
  • หากแต่ละชั้นในบ้าน มีความสูงต่างกันเกิน 3 เมตร จะต้องมีชานพัก และชานพัก ต้องมีความกว้าง และความยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
  • ผู้ใช้บันได ต้องสามารถเดินขึ้น-ลงได้ โดยแต่ละขั้นที่เดิน ศีรษะต้องไม่ชนกับส่วนหนึ่งส่วนใดของบ้านด้านบน โดยกฎหมายกำหนดความสูงบริเวณนี้ไว้ไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร
  • บันไดสามารถอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ของบ้านได้หลากหลาย แต่ต้องคำนึงถึงแสงสว่างที่ส่องถึง เพื่อความสะดวกในการเดินขึ้น-ลงบันไดด้วย สามารถติดโคมไฟ หรือแสงธรรมชาติจากหน้าต่างได้

4 แบบ บันไดหน้าบ้าน ที่นิยม มีอะไรบ้าง?

เมื่อรู้ถึงกฎหมายบันไดหน้าบ้านไปแล้ว มาดูแบบบันไดหน้าบ้าน กันดีกว่า ว่ามีแบบไหนบ้าง ดังนี้

บันไดหน้าบ้านช่วงเดียว

มีลักษณะเป็นทางเส้นตรง แบบท่อนเดียว ไม่มีส่วนเว้าส่วนโค้ง หรือรอยต่อทางเลี้ยว เหมาะกับบ้านที่มีประตูหน้าบ้านทรงยาว ประตูด้านหน้าของบ้านค่อนข้างแคบ นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบพื้นที่ส่วนข้าง ๆ ของบันไดบ้านแบบช่วงเดียว ให้เป็นชั้นวางหนังสือ หรือชั้นใส่ของต่าง ๆ ได้
230428-Content-บันไดหน้าบ้าน-02

บันไดหน้าบ้านรูปตัว “L”

มีลักษณะตั้งฉากคล้ายกับรูปตัว “L” เหมาะกับตัวบ้านที่มีลักษณะเล็ก และต้องการประหยัดพื้นที่ในการใช้สอย และบันไดบ้านแบบนี้ จะมีการแบ่งบันไดบ้านออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงฐาน ก่อนจะเลี้ยวตั้งฉากขึ้นไป ให้มีลักษณะเหมือนรูปตัว “L” ตรงช่วงบริเวณชานพักของบันไดนั่นเอง

บันไดหน้าบ้านรูปตัว “U”

มีลักษณะคล้ายกับบันไดหนีไฟ มีจำนวนชั้นเท่า ๆ กัน แบบหักกลับเป็นมุม 180 องศา หรือรูปตัว “U” บันไดแบบนี้ จะมีในบ้าน หรืออาคารที่มีความสูงเพดานของแต่ละชั้นในระยะที่เท่า ๆ กัน หรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน โดยทั่วไป บันได เป็นแบบทอดยาวไปจนถึงชั้นชานพักตรงกลางของช่วงบันได ก่อนจะวนกลับทิศทางเดิมจากชานพักบันได เหมาะกับบ้านที่มีขนาดเล็ก และมีเนื้อที่จำนวนจำกัด
230428-Content-บันไดหน้าบ้าน-03

บันไดหน้าบ้านโค้ง

มีลักษณะนี้ โค้งมนเป็นวงกลม จะออกแบบให้แต่ละชั้นเป็นวงกลมหมุนเวียนต่อกันไปเรื่อย ๆ เหมาะสำหรับบ้านที่หรูหรา มีพื้นที่ขนาดใหญ่ จะตอบโจทย์กับตัวบ้านเป็นอย่างมาก เพราะสามารถโชวร์ความสวยงามของบ้านได้ดี

เรียกได้ว่า บันไดหน้าบ้าน ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรพิถีพิถันในการเลือก และควรเลือกให้เหมาะสมกับบ้านด้วย เพื่อการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หวังว่า บทความนี้ จะทำให้ผู้อ่านหลาย ๆ คนได้รู้จักกับ บันไดหน้าบ้านกันมากขึ้นด้วย บทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ มาฝากผู้อ่านอีกนั้น ติดตามกันด้วยนะจ๊ะ รับรองว่า ได้ความรู้ไปเต็ม ๆ อย่างแน่นอน

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????