บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ หรือ บ้านไม้กึ่งปูน ถือเป็นแบบบ้านประเภทหนึ่ง ที่คนไทยนิยมมาก ๆ เพราะมีความร่วมสมัย เนื่องจากเป็นการผสมผสาน ความอบอุ่นจากงานไม้ และความทันสมัยจากงานปูนเข้าไว้ด้วยกัน บทความนี้ KACHA จะพาไปไปดู ข้อควรรู้ ก่อนจะสร้าง หรือรีโนเวทบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ ว่ามีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย

ในปัจจุบัน การออกแบบบ้าน และที่อยู่อาศัยนั้น มีอยู่มากมายหลากลหายรูปแบบให้ได้สรรหา ไอเดียหนึ่ง ที่ดูจะเป็นที่นิยมทั้งการก่อสร้างบ้านหลังใหม่ และการปรับปรุงรีโนเวทบ้านหลังเก่าดั้งเดิม ให้แลดูทันสมัยน่าใช้งานขึ้น คือ การออกแบบบ้านสไตล์ผสมผสานแบบบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน นั่นเอง 

ข้อดี-ข้อเสีย ของบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้

ข้อดีของ บ้านไม้กึ่งปูน

  • ​แข็งแรงทนทาน

บ้านไม้กึ่งปูนที่พบเห็นส่วนใหญ่ จะเป็นบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮมเป็นหลัก เป็นการผสมผสาน 2 วัสดุหลัก โดยใช้ปูนเป็นฐานราก และใช้ไม้ไว้ส่วนบน เนื่องจากปูนมีน้ำหนักมากกว่าไม้ จึงช่วยเสริมให้แบบบ้านไม้กึ่งปูน มีความความแข็งแรงทนทาน และยังถ่ายเทอากาศได้ดี ซึ่งเป็นจุดเด่นหลักของทั้งไม้ และปูน

  • ประหยัดพลังงาน

หนึ่งในจุดเด่นหลักของแบบบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน คือ เรื่องของการถ่ายเทอากาศ เนื่องจากไม้ จะมีช่องลมช่วยระบายอากาศ และยังทำให้ภาพรวมของบ้านโปร่ง โล่ง สบาย ส่วนปูน ก็สามารถดูดซับความเย็นของอากาศได้ดี ลดอุณหภูมิของบ้านที่ร้อนในช่วงเวลากลางวัน เมื่อนำมาใช้คู่กัน จึงเข้ากันได้อย่างลงตัว ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย

  • สวยงาม เข้ากันได้ลงตัว

ด้วยโทนสี และเนื้อวัสดุของไม้ และปูน เมื่อนำมาออกแบบ ตกแต่ง สามารถเข้ากันได้ลงตัวในงานสถาปัตยกรรม โดยปูนให้ความดิบ เท่ ในสไตล์ลอฟท์และอินดัสเทรียล ส่วนไม้ ให้ความคลาสสิก ร่วมสมัย และคันทรีได้เป็นอย่างดี

  • วัสดุหาง่าย ราคาไม่แพง
ไม้ และปูน เป็นวัสดุก่อสร้างหลัก ที่หาซื้อได้ง่าย สำหรับใช้ในการวางฐานราก และตกแต่ง ในแง่ของราคา บ้านไม้กึ่งปูน ยังช่วยประหยัดงบประมาณได้ ถ้าเทียบกับแบบบ้านไม้ ที่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลักเพียงอย่างเดียว เพราะไม้ดี ๆ ไม้เนื้อแข็ง จะมีราคาค่อนข้างสูง ขณะที่ปูนนั้น มีราคาถูกกว่า เมื่อผสมผสานทั้ง 2 วัสดุเข้าด้วยกัน ลดการใช้ไม้ลง ก็ทำให้บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ เป็นอีกหนึ่งแบบบ้าน ที่ประหยัดงบประมาณ ลดต้นทุนการปลูกสร้างได้สำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด
  • เสริมจุดเด่น กลบจุดด้อยระหว่างกัน

หากใช้งานไม้ทั้งหมด จะมีราคาแพง การเลือกใช้ปูน เป็นฐานราก ช่วยลดต้นทุนการปลูกสร้างได้ และถึงแม้ว่าไม้จะให้อารมณ์ และความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าปูน ที่อาจดูแข็งกระด้าง แต่ในทางกลับกัน ไม้ก็อาจเจอกับปัญหาจากปลวกที่มากวนใจ แต่ปูนช่วยกลบจุดด้อยดังกล่าวได้ ทั้ง 2 วัสดุ จึงเป็นส่วนเสริมระหว่างกัน ในการทำให้ภาพรวมแบบ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

220907-Content-บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้02

ภาพจาก: simon-holzbau.de

ข้อเสียของ บ้านไม้กึ่งปูน

  • เสียงรบกวน
เมื่อนำไม้มาเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้าน อาจเจอกับปัญหาเสียงรบกวน ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเสียงยืดหดตัวของไม้ เสียงจากระบบพื้น ผนังแบบโครงเบาของไม้ ซึ่งสั่นสะเทือนง่าย เช่น ขณะเดินในบ้าน หรือขณะมีรถวิ่งผ่านหน้าบ้าน รวมถึงเสียงรบกวน ทั้งจากนอกบ้าน และในบ้าน ที่ลอดผ่านช่องรอยต่อไม้ฝา ไม้พื้น นั่นเอง
  • ปัญหาปลวก

การใช้ไม้ เป็นองค์ประกอบในการสร้างบ้าน แม้ว่าจะมีข้อดี ในเรื่องของความแข็งแรง หากเกิดแผ่นดินไหว บ้านไม้จะมีความยืดหยุ่น คงทน และแข็งแรงมากกว่าบ้านปูน เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหว บ้านปูน จะเกิดรอยร้าวขึ้นได้ง่ายกว่า รวมทั้งมีปัญหาเรื่องความอับชื้น แต่บ้านไม้ ก็มักจะมีปัญหาเรื่องของปลวก และแมลงต่าง ๆ ที่มากัดกินไม้ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ วิธีดูแลรักษาไม้ รวมทั้งวิธีกำจัดปลวก ไม่ให้เข้ามาก่อความเสียหายในตัวบ้าน

อ่านบทความ: กำจัดปลวก แบบง่ายๆไม่ทำลายบ้าน และทรัพย์สินที่คุณรัก

  • รั่วซึม สีหลุดรอก

ไม้อาจจะยืด-หด ตามสภาพอากาศ ทำให้ระหว่างช่องว่างของบ้านไม้ รอยต่อระหว่างไม้กับปูน อาจจะเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ นอกจากนั้น ปูนมักมีปัญหาสีหมองง่าย หลุดลอกร่อน ทำให้ต้องมีการซ่อมบำรุง และหากออกแบบมาไม่ดี เลือกใช้โทนสีที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้บ้านดูมืดทึบ และอึดอัดได้

อ่านบทความ: เลือกสีทาบ้านภายนอก ให้ทนทาน อยู่ได้นาน ทำได้อย่างไร? และ เลือกสีทาบ้านภายใน สีสวย คงทนยาวนาน ทำได้อย่างไรบ้าง?

  • ราคาค่อนข้างสูง เสี่ยงงบบานปลาย

ในส่วนของไม้ ที่นำมาใช้ในการสร้างบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ ต้นทุนที่มักมีราคาค่อนข้างสูง หากเป็นไม้เนื้อดี ไม้เนื้อแข็ง จะมีราคาแพงกว่าบ้านไม้แบบอื่น ๆ อีกทั้งในการสร้าง หรือซ่อมบำรุงบ้านไม้ จะต้องใช้ช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความพิถีพิถันเป็นอย่างมาก ทำให้แบบบ้านไม้กึ่งปูน ที่ใช้ทั้งไม้ และปูนมาเป็นองค์ประกอบของโครงสร้าง จากที่คิดว่า จะช่วยประหยัดงบประมาณ อาจไม่ใช่เสมอไป

  • เคลื่อนย้าย ปรับปรุง ต่อเติมได้ยาก

บ้านไม้ง่ายต่อการรื้อถอน และปรับปรุงมากกว่าบ้านแบบอื่น ๆ มาก สามารถยก-ย้ายไปได้ทั้งหลัง แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักการทางวิศวกรรม ขณะที่บ้านปูนนั้น ทำได้ยากกว่า โดยเฉพาะบ้านปูน ที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast ซึ่งนิยมใช้ในโครงการบ้านจัดสรร

หากต้องการต่อเติมห้อง จะต้องมีวิศวกรคุมงาน ดูแลและให้คำปรึกษา หรือไม่ก็ต้องทุบทิ้ง เพื่อสร้างใหม่ ทำให้บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ หากจะเคลื่อนย้าย ปรับปรุง ต่อเติม ต้องคำนึงถึงโครงสร้างทั้งหลังที่เชื่อมต่อกันด้วย

  • ความร้อน
ปัญหาที่พบบ่อยในบ้านไม้ โดยเฉพาะแบบบ้านไม้กึ่งปูน ที่ชั้นที่ 2 เป็นไม้ และไม่มีการติดตั้ง ฝ้ากันความร้อน ทำให้ชั้นที่ 2 ของบ้าน แทบจะอยู่ไม่ได้เลยในเวลากลางวัน เนื่องจากมีอากาศร้อนมาก แม้จะสามารถติดตั้งแอร์ได้ แต่ต้องปรับปรุงหลายจุด

วิธีการดูแลรักษา บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้

วิธีดูแล และบำรุงรักษา เพื่อให้บ้านสภาพดี สวยเหมือนใหม่ และอยู่กับเราไปนาน ๆ โดยแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. งานไม้

หากเป็นการทำความสะอาดไม้ส่วนที่เคลือบผิวแล้ว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำ หรือผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดแบบอ่อน ๆ เช็ดคราบสิ่งสกปรกออก แต่ถ้าหากสี ที่ทาไม้รอบนอกเกิดการหลุดร่อน ให้ขัดสี ไสผิวไม้ให้เรียบก่อนลงสีใหม่ เลือกสีที่ออกแบบ เพื่องานไม้โดยเฉพาะ ทาอย่างน้อย 2-3 ชั้น เว้นระยะห่างกัน 6 ชั่วโมง

โดยก่อนทาสีบ้านไม้ ควรใช้น้ำยาป้องกันแมลงกินไม้ เพื่อป้องกันปลวก และมอด นอกจากนี้ ควรขัดผิว และทาสีบ้านไม้ภายนอกด้วยสีย้อมไม้สำหรับนอกบ้านทุก 3 ปี เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน และตรวจเช็กเนื้อไม้ของบ้านไม้ทุก 4 เดือน หรือตามที่ช่างผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

อ่านบทความ: รู้จักกับ โครงสร้างบ้านไม้ องค์ประกอบต่าง ๆ มีอะไรบ้าง?

2. งานปูน

บ้านปูน จะมีปัญหาในเรื่องของความอับชื้น ทำให้เกิดปัญหาการเกิดเชื้อราได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องหมั่นเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อช่วยในการระบายอากาศ และความชื้นภายในบ้าน ซึ่งจะลดปัญหาการเกิดเชื้อราคาบนผนังบ้าน แต่ถ้าจะให้ดี ควรทาสีป้องกันเชื้อรา ซึ่งจะดีกว่าการเลือกใช้วอลเปเปอร์ เพราะในระยะยาวจะเสี่ยงกับการเกิดปัญหาเชื้อราได้เหมือนกัน

อ่านบทความ: บ้านปูน คืออะไร? ทำไมนิยมสร้าง ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้

ข้อควรระวัง ก่อนรีโนเวทบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้

บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้นั้น ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุค 80-90 เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ก็อาจจะไม่สวยเช่นเดิม แต่การจะตัดใจทุบรื้อเพื่อสร้างใหม่ก็อาจทำใจลำบาก ไหนจะงบประมาณที่อาจบานปลายอีกด้วย ซึ่งการปรับปรุงบ้านเก่าไม่ใช่อยากตัด รื้อ เติม ตรงไหนก็ทำได้ทันที แม้จะรู้สึกว่าบ้านยังไม่ทรุดโทรมแต่ในแง่ของโครงสร้าง มีข้อควรระวังที่ต้องตรวจเช็คให้ดีก่อนจะเริ่มปรับปรุงบ้านด้วย 

  • เช็คโครงสร้างเดิม โดยผู้เชี่ยวชาญก่อนต่อเติมและรื้อถอน การปรับรื้อ ซ่อมแซม จึงต้องระมัดระวัง ซึ่งโดยปกติแล้ว งานรีโนเวท มีทั้งความต้องการเปลี่ยนแปลงหน้าตาบ้านภายนอก และปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยภายใน ซึ่งหลาย ๆ จุดสามารถรื้อได้ในทันที แต่บางจุดไม่ควรตัดสินใจรื้อ หรือต่อเติมเอง
  • ไม่เพิ่มภาระให้โครงสร้างบ้านเก่า ต้องตรวจสอบก่อนว่า พื้นรับน้ำหนักได้หรือไม่ เพื่อป้องกันบ้านทรุด หรือผนังแยกจากบ้านเดิม ควรปรึกษาสถาปนิก วิศวกร ควรปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการไม่เพิ่มภาระให้กับโครงสร้างมากเกินไป
  • บ้านเก่า มักมาพร้อมกับอาการรั่วซึม สาเหตุของอาการรั่วซึมบนฝ้าเพดานนั้น อาจมีที่มาต่อเนื่องมาจากการรั่วซึมบนหลังคา กระเบื้องหลังคาแตก อุปกรณ์หลังคาเสื่อมสภาพ การติดตั้งวัสดุมุงหลังคาผิดวิธี ตลอดจนโครงสร้างของงานหลังคาแอ่น ทำให้น้ำไหลย้อนเข้ามาทางรอยต่อได้  ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนฝ้าใหม่ ต้องทำการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ ให้เรียบร้อยเสียก่อน หาช่างที่มีความชำนาญ มาซ่อมแซมในจุดที่มีปัญหา แต่หากหลังคาบ้านชำรุดเสียหายมาก การรื้อเปลี่ยนใหม่ทั้งผืน น่าจะตอบโจทย์และจบทุกปัญหาได้ดีกว่า
  • ไม้เก่าสภาพดีมีค่า เก็บไว้ใช้ประหยัดงบ หากไม้เก่ายังมีสภาพดีอยู่ ควรระมัดระวังในการรื้อถอน เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานต่อได้ ด้วยการนำไปขัดผิวหน้าเดิมออก หรือย้อมสีใหม่ แต่หากไม้จริง มีสภาพผุพังแล้ว แต่เจ้าของยังต้องการบ้านไม้เช่นเดิม อาจเลือกใช้วัสดุทดแทนไม้ ที่ง่ายต่อการดูแลรักษา ปลวก และแมลงไม่กินแทนได้

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ ที่เรานำมาบอกถึงข้อดี-ข้อเสีย เพื่อเป็นตัวช่วยในการรีโนเวท หรือคนที่กำลังจะสร้างบ้านประเภทนี้ ได้มีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะบ้านประเภทไหน อย่าลืมหมุ่นตรวจสอบ และดูแลบ้านของตัวเองอยู่สม่ำเสมอกันด้วยนะจ๊ะ เพื่อบ้านที่อยู่กับเราไปนาน ๆ 

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA  คลิกเลย ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก: ddproperty.com, assetdata.land