ประตูอลูมิเนียม เลือกใช้งานอย่างไร?
ประตูอลูมิเนียม ในปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความแข็งแกร่ง ทนทาน เกิดสนิมและผุพังได้ยาก น้ำหนักเบา เป็นวัสดุที่ทนความร้อนได้สูงแต่แผ่ความร้อนต่ำ นอกจากนี้ ยังมีระบบเคลือบสีให้เลือกหลากหลาย และทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนได้ดีอีกด้วย
บทความนี้ KACHA จะพาไปรูจักกับ ประตูอลูมิเนียม ให้มากขึ้นกัน
ประตูอลูมิเนียม คือ?
ประตูอลูมิเนียมนั้น เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีการสกัดจากแร่อลูมินา มีความแข็งแรง ทนความร้อนสูง แผ่ความร้อน น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง ไม่เป็นสนิม หาซื้อได้ง่าย อลูมิเนียมมักถูกนำมาทำเป็นกรอบประตู ประตูอลูมิเนียมกระจก ขอบหน้าต่าง ขอบประตูบานเลื่อน เป็นต้น สามารถพบเห็นอลูมิเนียมได้ตามคอนโด และยังไม่ต้องมากังวลเรื่องตวามชื้น ปลวก แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ความชื้นจากไอเค็มทะเล จะเกิดการผุกร่อนได้
ประตูอลูมิเนียม สามารถทำได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ประตูบานเปิด, ประตูบานเลื่อน, ประตูบานเฟี้ยม, ประตูบานหมุน ซึ่งสามารถแยกย่อยออกลงไปได้อีกเช่น ประตูบานเปิดเดี่ยว, ประตูบานเปิดคู่ หรือประตูบานเลื่อน ก็สามารถทำเป็นบานเลื่อนเดี่ยว บานเลื่อนสลับ หรือบานเลื่อนซ้อนสามบานก็ได้เช่นกัน
หากเป็นอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ มีความยืดหยุ่นของเนื้อวัสดุ ต้านทานการแตกหักได้สูง ไม่มีการหดตัว ไม่เกิดสนิม เนื้อผิวมีความบางไม่เกิดรอยต่อต่าง ๆ สามารถออกแบบการตกแต่งได้ง่าย งานผิวอลูมิเนียมไม่มีสะดุด
คุณสมบัติของอะลูมิเนียมที่ใช้ทำประตู
1. ชนิดของอะลูมิเนียม
อะลูมิเนียม ที่ใช้ทำประตูนั้น เนื้ออะลูมิเนียมจะต้องเป็น ALLOY 6063 T5 หรือ 50S T5 ขึ้นรูป ชนิดที่มีคุณภาพ และความแข็งแรงเหมาะสมกับงานสถาปัตยกรรม ความแข็งสูง และทนต่อการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม สามารถขัดเงาได้ดีและชุบอโนไดซ์สีได้ผิวสวยงาม หรือเลือกใช้งานผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน มอก. 218-2520
2. ความหนาของอะลูมิเนียม
ความหนาของหน้าตัดอะลูมิเนียม (ความหนาโปรไฟล์) หากยิ่งหนาก็จะยิ่งทนทาน ซึ่งในท้องตลาดจะมีความหนาให้เลือกคือ 1.0, 1.2, 1.5, 1.7, 1.8, 2.0 และ 2.5 mm. ซึ่งความหนาของหน้าตัดอะลูมิเนียมจะเป็นเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้
- ขนาดของประตูนับว่ามีส่วนสำคัญที่สุดในการกำหนดความหนาของอะลูมิเนียม หากประตูบานใหญ่หรือสูงมากก็ย่อมต้องใช้อะลูมิเนียมที่มีความหนามากขึ้น เพื่อความแข็งแรง
- รูปแบบการใช้งานของประตูก็เป็นส่วนที่สำคัญ เช่น ประตูอลูมิเนียมบานติดตาย หรือบานเลื่อนสามารถใช้อะลูมิเนียมที่มีความหนาน้อยกว่าประตูอลูมิเนียมบานเปิดได้ เนื่องจากลักษณะการใช้งานที่มีการกระแทกน้อยกว่า
- หากใช้งานภายใน อาจจะเลือกประตูอลูมิเนียม ที่มีความหนาน้อยกว่าบานประตูที่ใช้ภายนอกได้
- ถ้าเป็นประตูอลูมิเนียมที่ใช้ในพื้นที่สูง ก็ควรมีความหนา และแข็งแรงทนทานกว่า เพราะต้องรับแรงลมที่มากระทำมากกว่าชั้นล่าง ๆ
การเคลือบสีของประตูอลูมิเนียม
กรรมวิธีการทำสีเคลือบเนื้ออะลูมิเนียมในปัจจุบัน สามารถทำได้หลายแบบซึ่งผู้ใช้งานควรตรวจสอบหนังสือรับรองความหนา และระบบการชุบเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงงานผู้ผลิต
- การชุบสี (Anodize) เป็นการทำสีที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากันระหว่างเคมี กระแสไฟฟ้า และโลหะอะลูมิเนียม ซึ่งต้องมีการควบคุมทุกปัจจัยให้คงที่ ทั้งปริมาณเคมี ปริมาณกระแสไฟฟ้าและเวลาในการชุบ เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่แข็งแรง มีพื้นผิวที่สวยงาม สม่ำเสมอทุกรอบการผลิต ปัจจุบันมีให้เลือกหลากเฉดสี แต่จะให้เนื้อสีที่ค่อนข้างบาง รอยขูดขีดเล็กน้อยก็อาจทะลุถึงเนื้อในได้
- การพ่นฝุ่นอบสี (Powder Coatings) กรรมวิธีนี้จะมีการควบคุมคุณภาพทุกเม็ดสีและควบคุมการพ่นให้เรียนเนียนเท่ากันหมดตลอดขั้นตอนการพ่นสี ผิวที่ได้จึงมีสีสันที่สวยงาม สดใส มีเนื้อสีที่ค่อนข้างหนา มีให้เลือกหลากเฉดสี เช่น สีลายไม้ สำน้ำตาล สีเงิน สีดำ สีขาว สีชา ฯลฯ
- การพ่นฝุ่นอบสีแบบผิวทราย (Powder Coatings Texture Sahara) กรรมวิธีนี้จะให้พื้นผิวที่มีความหยาบ สาก โทนสีที่ได้รับความนิยม คือ สีดำ สีเงิน สีชา สีเทา ฯลฯ
อุปกรณ์ประกอบประตูอลูมิเนียม
- สำหรับสกรูที่ใช้ยึดตัววงกบกับ กำแพง ค.ส.ล. เสา ค.ส.ล. หรือผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ใช้ตะปูควงหรือสกรูที่ขัน และต้องใช้ร่วมกับพุก พลาสติก (Plastic) ที่ทำด้วย ไนล่อน (Nylon)
- ส่วนที่เป็นบาน เปิดชนกับวงกบ หรือชนกับบานเปิดอื่น ให้ใส่สักหลาด โดยเลือกใช้ขนาดและแบบให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันอากาศไหลผ่าน ป้องกันน้ำ ความชื้น และฝุ่นละออง สำหรับประตูอลูมิเนียมที่ติดกับภายนอก จะต้องใช้เส้นสักหลาดประเภทที่เสริมแผ่น Polyurethane ตรงกลาง
- ประตูอะลูมิเนียมบานเลื่อน ให้ติดลูกล้อสำหรับบานเลื่อนทุกบาน ลูกล้อจะต้องเป็นไนล่อนชนิดที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ โดยใช้รุ่นที่เหมาะสมกับขนาดและน้ำหนักของบานเลื่อน ประตูอะลูมิเนียมบานเลื่อนทุกบาน จะต้องมีระบบป้องกันไม่ให้บานประตูหลุดจากราง และจะต้องตกแต่งให้เรียบร้อยทั้งภายนอกและภายใน
วัสดุอุดและยาแนวประตูอลูมิเนียม
ปัญหาน้ำรั่วส่วนใหญ่แล้วมาจากการที่วัสดุยาแนวเสื่อม หรือมีรูรั่วนั่นเอง ทางป้องกันที่ดีที่สุด คือ การตรวจสอบจุดรอยต่อนี้ตั้งแต่ตอนติดตั้ง แต่หากเกิดปัญหาแล้วจะแก้ไขตามวิธีนี้ก็สามารถทำได้เช่นกัน ในขั้นแรก คือ ต้องทำความสะอาดรอยต่อของวงกบอะลูมิเนียมที่ติดแนบกับปูน คอนกรีต ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ เสียก่อนแล้วอุดด้วยยาแนว หรือวัสดุอุดรอยต่อ ซึ่งมีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน ดังนี้
- ยาแนวซิลิโคน (Silicone Sealant) โดยให้เลือกสีที่มีความใกล้เคียงกับสีของอลูมิเนียมหรือสีของผนังสามารถใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน แต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถทาสีทับได้
- ยาแนวโพลียูริเทน (Polyurethane Sealant) สามารถทาสีทับได้ แต่ต้องใช้สำหรับประตูที่อยู่ภายในเท่านั้นเนื่องจากโพลียูริเทนจะไม่ทนต่อแสงยูวี
- ยาแนวอะคริลิค (Acrylic Sealant) เป็นการรวมคุณสมบัติของซิลิโคน และโพลียูริเทนเข้าด้วยกัน คือ สามารถใช้ภายนอกได้และสามารถทาสีทับได้
หน้าตัดของประตูอลูมิเนียม
นอกเหนือจากรูปแบบของบานประตูแล้ว การเลือกหน้าตัดของรางบนและรางล่างรวมถึงวงกบอะลูมิเนียมนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะปัญหาหลาย ๆ อย่างนั้นไม่สามารถแก้ได้ได้เพียงบานประตูแต่ต้องอาศัยการทำงานของทั้งระบบ เช่น การต้านทานแรงลม การป้องกันน้ำรั่ว การป้องกันอากาศรั่วไหล และการป้องกันเสียงรบกวน โดยคำนึงถึงตำแหน่งที่ติดตั้งเป็นหลัก
- หากเป็นพื้นที่ภายใน ควรเลือกใช้เป็นบานแขวนเพราะบานแขวนจะไม่มีรางด้านล่าง หรือเลือกใช้รางล่างรุ่นที่ออกแบบมาให้ไม่มีเหลี่ยมด้านข้าง เพื่อให้เข็น Wheel chair ผ่านได้โดยไม่สะดุด ไม่เกะกะ และทำความสะอาดได้ง่าย
- หากเป็นพื้นที่ภายนอก ควรใช้รางบนที่มีดีเทลกันน้ำฝนไหลย้อนได้ และควรใช้รางล่างที่มีดีเทลกันน้ำได้ สังเกตง่าย ๆ คือ หน้าตัดของด้านที่ติดตั้งถายในจะสูงกว่าอีกด้าน
- หากต้องการติดตั้งมุ้งลวด ควรเลือกหน้าตัดที่มีรางสำหรับมุ้งลวดเผื่อไว้ด้วยเลย และต้องเผื่อระยะของผนังบริเวณที่ติดตั้งวงกบให้มีความกว้างมากพอสำหรับประตูอลูมิเนียมทั้งชุด เพื่อความแข็งแรงทนทาน และเรียบร้อยสวยงาม
- หากต้องการติดม่าน หรือมู่ลี่ ควรเผื่อระยะสำหรับการติดตั้งไว้ด้วย ในปัจจุบันมีระบบมู่ลี่สำเร็จรูป คือ เป็นมูลี่ที่อยู่ในกระจก 2 ชั้น โดยมีให้เลือกทั้งบานประตูและหน้าต่างอะลูมิเนียม ใช้งานง่ายสะดวก ทั้งยังกันเสียงและกันน้ำได้ดีอีกด้วย
ข้อดี – ข้อเสียของประตูอลูมิเนียม
ข้อดี
- ไม่มีปัญหาการรั่วซึม บริเวณระหว่างรอยต่ออะลูมิเนียม
- อะลูมิเนียมแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา
- ติดตั้งง่ายถอดประกอบได้สะดวกต่อการใช้งาน
- ประตูอลูมิเนียมมีหลากสีสัน ดีไซน์บ้านได้ง่าย
- ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย
- มีอายุการใช้งานนาน รีไซเคิลได้
ข้อเสีย
- ระวังการติดเทปกาวมาบริเวณอลูมิเนียม เมื่อถูกความร้อนจะทำให้เป็นรอย และติดกาวเป็นระยะเวลานาน
- อะลูมิเนียมบริสุทธิ์ ระวังเรื่องไอเค็มจากนำทะเล
- ระวังเรื่องการได้รับแรงกระแทก เพราะอลูมิเนียมอาจบุบได้
- อะลูมิเนียมเป็นตัวกระแสไฟฟ้า ระวังเรื่องไฟฟ้าใต้ดิน
- ระวังการใช้สารเคมีชนิดกรด ด่าง ทำความสะอาด
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย
บทความดี ๆ น่าอ่าน: