รู้จักกับ มาตรฐานโรงงาน มีอะไรบ้าง?
สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงาน อุตสาหกรรม โกดังสินค้าต่าง ๆ ที่ต้องทำความเช้าใจ และศึกษาข้อมูล เพื่อยกระดับคุณภาพโรงงาน คือ มาตรฐานโรงงาน นั่นเอง ตาม KACHA ไปรู้จักกับ มาตรฐานโรงงาน ว่ามีอะไรบ้าง?
รู้จักกับ มาตรฐานโรงงาน
โรงงานอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค เพื่อให้สินค้า มีความปลอดภัยมากที่สุดก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค จึงต้องมีหลักเกณฑ์ ข้อกำหนดในการผลิตสินค้ามากมาย จึงต้องมีการรับรองมาตรฐานโรงงาน ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้วางไว้ เป็นการการันตีว่า สินค้าที่ผลิตออกจากโรงงานนั้นปลอดภัย และได้มาตรฐานทุกชิ้นนั่นเอง
มาตรฐานโรงงานสำคัญ ที่ควรรู้
มาตรฐานโรงงานที่สำคัญ ที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียด รอบคอบ มีรายละเอียด ดังนี้
-
มาตรฐาน ISO 9000
มาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ คือ การจัดการที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การบริการ เน้นให้องค์กรมีการวางแผน และการควบคุมคุณภาพ โดยการควบคุมที่กระบวนการดำเนินงานขององค์กร และการติดตามตรวจสอบดูความพึงพอใจของลูกค้าเมื่อส่งมอบ ได้รับผลิตภัณฑ์ หรือบริการไปแล้ว จากนั้นต้องมีการทบทวน และปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
-
มาตรฐาน ISO 14000
ISO 14000 คือ มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการ ปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การป้องกันมลพิษ และการดำเนินธุรกิจขององค์กร ภายใต้หลักเกณฑ์ PDCA (Planning, Doing, Checking, Action) ดังนั้น ISO 14000 จึงเป็นมาตรฐานสากลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า และเป็นที่ยอมรับทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม เนื่องจากการดำเนินการของระบบ จะช่วยให้องค์กรสามารถวางนโยบาย และวัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎระเบียบต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม
-
มาตรฐาน ISO 17025
ISO 17025 คือ มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ซึ่งทางห้องปฏิบัติการ (LAB) จะสอบเทียบตามมาตรฐานทั้งทางภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบว่า เครื่องมือยังอยู่ในมาตรฐาน และคุณภาพตามมาตรฐานสากลอยู่หรือไม่ สิ่งที่เราจะได้รับจากการส่งสอบเทียบทุกครั้ง ลูกค้าจะได้รับเครื่องมือ พร้อมเอกสารสอบเทียบ และสามารถใช้งานเครื่องมือนั้น ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งเอกสารสอบเทียบนี้ จะบอกถึงมาตรฐานของเครื่องมือ ว่ายังได้คุณภาพอยู่ไหม มีค่าความคลาดเคลื่อนบ้างหรือเปล่า
-
มาตรฐาน ISO 18000
ISO 18000 คือ มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กำหนดขึ้นโดยใช้ BS 8800 เป็นแนวทางและอาศัยหลักการของระบบการจัดการตามอนุกรมมาตรฐาน มอก. 9000/ISO 9000 และ มอก. 14000/ISO 14000 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำระบบการจัดการชีวอนามัย และความปลอดภัยขององค์กร รวมถึงพัฒนาปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลดความเสี่ยงต่ออันตรายและอุบัติเหตุต่าง ๆ ของพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง การปรับปรุงการดำเนินการของธุรกิจให้เกิดความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมของไทยยังคงมีการใช้แรงงานที่เสี่ยงอันตรายมากขึ้น ความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ใช้แรงงานในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรตระหนักและใส่ใจตลอดเวลา
-
มาตรฐาน ISO 22000
ISO 22000 คือ มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ระบบการจัดการความปลอดภัยที่มีมาตรฐานเกี่ยวข้องกับเรื่องของอาหาร การวิเคราะห์ถึงเรื่องอันตราย และจุดวิกฤตที่จำเป็นต้องได้รับการควบคุมในขั้นตอนการผลิตอาหาร ที่เรียกว่า HACCP (Hazard Analysis and Critical Point System) เป็นระบบการจัดการที่ช่วยให้อาหารเกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยการเข้าคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิต (CCP) ในระบบนี้ ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหารจะต้องนำไปใช้ทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตเบื้องต้น คือ Primary Producer ไปจนถึงผู้บริโภค
เครื่องหมายมาตรฐานโรงงาน มีอะไรบ้าง?
-
เครื่องหมาย มอก.
มอก. หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นข้อกำหนดทางวิชาการ ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตสินค้ามีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งาน ครอบคลุมตั้งแต่ คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต คุณสมบัติที่สำคัญ เทคนิคและกรรมวิธี วิธีการทดสอบ และประสิทธิภาพของการนำไปใช้
ปัจจุบันมีสินค้าที่กำหนดมาตรฐานมอก. กว่า 2,000 รายการ ครอบคลุมหลากหลายประเภทสินค้า เช่น อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการคนไหนต้องการจะเปิดโรงงาน อย่าลืมศึกษาดูว่า สินค้าที่จะผลิตนั้น ต้องผ่านมาตรฐาน มอก. หรือไม่ จะได้วางแผนยื่นขอมาตรฐานก่อนผลิตให้ถูกต้องนั่นเอง
อ่านบทความ: มอก. คืออะไร? มีความสำคัญแค่ไหน?
-
เครื่องหมาย GMP
ย่อมาจากคำว่า Good Manufacturing Practice เป็นกฎเกณฑ์ที่ป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงจะได้รับรองมาตรฐาน GMP จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่า อาหารนั้นปลอดภัย ซึ่งมาตรฐาน GMP เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยจะกำหนดครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการผลิต ความสะอาด สุขอนามัย และสุขาภิบาล เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าอาหารนั้น มีความปลอดภัยนั่นเอง
-
เครื่องหมาย HACCP
ย่อมาจากคำว่า Good Manufacturing Practice เป็นกฎเกณฑ์ที่ป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงจะได้รับรองมาตรฐาน GMP จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่า อาหารนั้นปลอดภัย ซึ่งมาตรฐาน GMP เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยจะกำหนดครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการผลิต ความสะอาด สุขอนามัย และสุขาภิบาล เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าอาหารนั้น มีความปลอดภัยนั่นเอง
-
เครื่องหมาย มาตรฐานอาหารฮาลาล
เป็นมาตรฐานสินค้าที่แสดงว่า ชาวมุสลิม สามารถบริโภค และใช้ประโยชน์จากสินค้านั้น ๆ ได้ มีลักษณะเป็นสากลได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยมาตรฐานฮาลาล จะกำหนดมาตรฐานตั้งแต่สถานที่ผลิต วัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต และแปรสภาพว่าต้องไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา เพื่อให้ชาวมุสลิมสามารถบริโภคสินค้านั้น ๆ ได้อย่างมั่นใจ
-
เครื่องหมาย มาตรฐาน Q
เป็นมาตรฐานรับรองสินค้าเกษตร เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัย สามารถบริโภคได้อย่างสบายใจไร้กังวล ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับเกษตรและธรรมชาติหากได้รับสัญลักษณ์นี้ จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้ามากขึ้นนั่นเอง
-
เครื่องหมาย ISO
ย่อมาจาก International Organization for Standardization เป็นมาตรฐาน เพื่อรับรองระบบการบริหารและการดำเนินงานของอุตสาหกรรม มีความเป็นสากลเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งมาตรฐาน ISO มีมาตรฐานย่อยอีกหลายประเภท เช่น ISO 9000 เป็นมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น
-
เครื่องหมาย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช. เป็นข้อกำหนดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ออกมากำหนดกฎเกณฑ์คุณลักษณะของสินค้าชุมชน ที่ผลิตกันแบบวิสาหกิจชุมชน SME หรือผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่น เพื่อบ่งบอกมาตรฐานของสินค้าว่าได้มาตรฐานทั้งวัตถุดิบ และกรรมวิธีการผลิต
-
เครื่องหมาย มาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์
เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยกรมวิชาการเกษตร รับรองให้กับโรงงานที่ผลิตสินค้าและอาหารแบบอินทรีย์ หรือออร์แกนิก ปราศจากการใช้สารเคมีปรุงแต่ง เป็นมิตรต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าออร์แกนิก ควรยื่นขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่า ปลอดภัย ปราศจากสารเคมี 100%
จบไปแล้ว มาตรฐานโรงงานที่ควรรู้ เรียกได้ว่า การจะเปิดโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสินค้าออกจำหน่ายนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ยังต้องใส่ใจกับคุณภาพและความปลอดภัยด้วยการยื่นขอรับรองมาตรฐาน เพื่อการันตีว่าโรงงาน ที่ผลิตสินค้าของเรานั้นผ่านมาตรฐานด้วย หวังว่าบทความนี้จะให้ข้อมูลสาระ ความรู้ดี ๆ แก่ผู้อ่านนะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- การวางผังโรงงาน คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
- “กฎหมายผังเมือง” ที่ควรรู้สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยต่างๆ มีอะไรบ้าง?
- “โรงงาน” มีกี่ประเภท ก่อนสร้างต้องรู้อะไรบ้าง?
- BOQ คืออะไร จำเป็นไหมในการก่อสร้างบ้าน?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ หากคุณกำลังมองหา ผู้รับเหมา ออกแบบก่อสร้างโรงงาน โกดังสินค้าต่าง ๆ บริษัทของเรา มีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ อย่างแน่นอน เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย
อ้างอิงข้อมูล tf-cons.com, ofm.co.th