รถยก คืออะไร? มีกี่ประเภท? นิยมใช้งานแบบไหน?
รถยก (Forklift) คืออะไร?
บางคนอาจเรียก รถโฟร์คลิฟท์ เป็นรถที่ใช้สำหรับยก และขนย้ายสิ่งของ รถยกสมัยใหม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 ในปัจจุบัน รถยกถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า เป็นการช่วยลดเวลาการทำงาน ทุ่นแรงยก และการเคลื่อนย้าย ลดการบาดเจ็บจากการยกของหนัก และลดการจ้างมนุษย์ ลักษณะโดยทั่วไปของรถยก มีแท่งเหล็กยื่นออกมาจากโครงสร้างหลักของตัวรถเรียกว่า “งา” เพื่อใช้สำหรับวาง และยกสิ่งของ เพื่อทำการเคลื่อนย้าย โดยอาศัยกลไกการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ
รถยกมีกี่ประเภท?
รถยก หรือ “โฟร์คลิฟท์” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “FORKLIFT” ซึ่งเป็นการผสมคำสองคำ คือ “FORK” ที่แปลว่า “ช้อนส้อม” และคำว่า “LIFT” ที่แปลว่า การขึ้นลงในแนวตั้ง รถยก แบ่งออกตามประเภทของต้นกำลังขับเคลื่อนได้ 2 ประเภท คือ
ENGINE FORKLIFT
รถยกที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง โดยใช้นำมันเป็นเชื้อเพลิง รถยกประเภทนี้สามารถแบ่งออกตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ได้ 3 ประเภท คือ
- DIESEL ENGINE (เครื่องยนต์ดีเซล)
- GASOLINE ENGINE (เครื่องยนต์แก๊สโซลีน)
- L.P.G. ENGINE (เครื่องยนต์แก๊ส L.P.G.)
นอกจากนั้น รถยกที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง สามารถแบ่งตามระบบส่งกำลังได้ 2 ประเภท คือ
- ระบบส่งกำลังด้วยทอร์ค (Toro flow Transmission)
- ระบบส่งกำลังด้วยคลัทซ์ (Direct Drive)
BATTERY FORKLIFT
รถยกไฟฟ้า ใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังขับเคลื่อน โดยได้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ รถยกไฟฟ้า สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกได้เป็น 2 แบบ คือ
- แบบ COUNTER BALANCIT (แบบนั่งขับ)
- แบบ REACH TURCK (แบบยืนขับ)
ทั้งนี้ การเลือกใช้รถยกแต่ละประเภท ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ สภาพการใช้งาน และความต้องการของผู้ใช้ โดยแต่ละชนิดต่างก็มีข้อเด่นและข้อด้อยต่างกันไป
เลือกซื้อรถยก รถโฟล์คลิฟท์ ประเภทไหนดี?
เลือกรถยก รถโฟล์คลิฟท์ มาใช้งานประเภทไหนเหมาะกับคุณ? โดยรวมแล้ว โฟล์คลิฟท์ (Forklift) ทั่วไปที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 ประเภท
-
รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift)
ข้อดี
- ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้านการทำงานดี คือ เสียงเงียบ ไม่มีเขม่าควัน ไร้มลพิษ ดีต่อสุขภาพของพนักงาน
- ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิง
- เลี้ยวในวงแคบ ๆ ได้ดีกว่ารถน้ำมัน
- ลดความกังวลเรื่องของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ หรือน้ำในหม้อน้ำ เพราะรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า ไม่มีเครื่องยนต์ และชุดเกียร์
- ไม่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ขณะรอเวลายกสินค้า
ข้อเสีย
- รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า ไม่เหมาะสำหรับการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง (เว้นแต่มีแบตเตอรี่สำรอง)
- ต้องมีการชาร์ตแบตเตอรี่ หลังเลิกใช้งานในทุกวัน
- มีข้อจำกัดด้านสภาพอากาศในการทำงานอยู่มาก เช่น กลางแจ้ง เปียกชื้น หรือเย็นจัด ซึ่งจะส่งผลให้ โฟล์คลิฟท์เสียหายได้ง่ายกว่าชนิดอื่น ๆ
- ราคาแพงกว่าโฟล์คลิฟท์ชนิดอื่น ๆ
เหมาะกับงานแบบไหน? ถ้าการทำงานของคุณทำงานในที่ร่ม ทำงานไม่หนักถึงขนาด 24 ชั่วโมง และต้องมีพนักงานคอยดูแลเรื่องการชาร์ตไฟในทุก ๆ วันหลังใช้งาน
-
รถโฟล์คลิฟท์ดีเซล
ข้อดี
- ซ่อมบำรุงง่าย เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลโฟล์คลิฟท์ จะเหมือนกับเครื่องยนต์ดีเซลของรถทั่ว ๆไป และที่สำคัญ คือ อะไหล่หาง่าย เนื่องจาก โฟล์คลิฟท์ดีเซล มีการใข้งานกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยม
- ทนต่อความร้อน และความเย็น มากที่สุดในทั้ง 3 ระบบ และสามารถทำงานกลางแจ้งได้
ข้อเสีย
- รถประเภทนี้ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ รถโฟล์คลิฟท์ดีเซล จะมีเสียงดัง และมีเขม่าควันออกมามาก ซึ่งไม่เหมาะกับการทำงานในโรงอาหาร หรือที่ ๆ ต้องการรักษาด้านความสะอาดเป็นพิเศษ
- มีต้นทุนด้านเชื้อเพลิงสูงกว่ารถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
เหมาะกับงานแบบไหน? รถโฟล์คลิฟท์ดีเซล เหมาะสำหรับการทำงานในทุกสภาพการทำงาน ยกเว้นแต่เป็นสถานที่ ๆ ต้องการความสะอาด หรือรักษาสภาพแวดล้อมเป็นพิเศษจะไม่เหมาะ เนื่องจากโฟล์คลิฟท์ดีเซลมีเสียงดัง และเขม่าควันมาก ในด้านสภาพอากาศประเทศไทยเป็นเมืองร้อน รถประเภทนี้ จึงนิยมใช้ในประเทศไทยมากที่สุด
-
รถโฟล์คลิฟท์แก๊ส LPG
ข้อดี
- ราคาต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับโฟล์คลิฟท์ดีเซล และโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
- ไอเสียที่ออกมาจาก โฟล์คลิฟท์ LPG ค่อนข้างสะอาดกว่าไอเสียที่ออกมาจาโฟล์คลิฟท์ดีเซล
- ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานค่อนข้างต่ำ
ข้อเสีย
- มีความเสี่ยงที่แก๊สจะรั่วไหลออกมาขณะทำการเปลี่ยนถัง หรือขณะทำงาน ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อโรงงานในขั้นหนึ่ง
- รถโฟล์คลิฟท์แก๊ส ค่อนข้างสตาร์ทติดยาก และการบำรุงรักษาค่อนข้างยุ่งยาก มีปัญหาจุกจิกอยู่บ่อยครั้ง และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูงที่สุดในโฟล์คลิฟท์ทั้ง 3 ระบบ
- วิสัยทัศน์ในการมองเห็นด้านหลังถูกจำกัด เนื่องจากมีถังแก๊ส LPG วางอยู่
- เชื้อเพลิง LPG ค่อนข้างหาได้ยากกว่า ไฟฟ้า และดีเซล ในสถานที่ห่างไกล
เหมาะกับงานแบบไหน? รถโฟล์คลิฟท์ชนิดนี้เหมาะการทำงานหนัก ๆ และต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนเชื้อเพลิง แต่ควรจะมีช่างซ่อมบำรุงไว้แก้ไขปัญหาจุกจิกที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งด้วย
การบำรุงรักษารถโฟล์คลิฟท์หลังการใช้งาน
รถโฟล์คลิฟท์เป็นรถยกที่ต้องทำงานหนักตลอดเวลา และรับน้ำหนักของสิ่งของที่ค่อนข้างหนักมาก นอกเหนือจากการใช้งานแล้ว จึงควรดูแลบำรุงรักษาหลังการใช้งานด้วยทุกครั้ง การเช็คสภาพรถและการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัย ที่ควรทำหลังจากการเลิกใช้งานแล้ว มีดังนี้
การจอดรถ
- จอดรถในที่สำหรับจอดรถโฟล์คลิฟท์เท่านั้น เนื่องจากรถประเภทนี้ มีความอันตราย และต้องได้รับการควบคุมดูแล จึงไม่ควรนำไปจอดที่อื่นเด็ดขาด
- เมื่อจอดรถแล้ว ควรลดงาของรถยกให้อยู่ในแนวราบกับพื้น เพราะงาเป็นส่วนที่อันตรายมาก หากไม่ลดระดับของงาลงอาจเกิดอันตรายต่อผู้อื่นได้
- ล็อกเบรกมือทุกครั้งเมื่อจอดรถ เพื่อความปลอดภัย
- เมื่อนำรถไปจอด ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบา ๆ สัก 3 นาที แล้วจึงค่อยดับเครื่อง เป็นการถนอมเครื่องยนต์ให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น
- ควรปลดเกียร์ว่างไว้ และดึงกุญแจออกไปเก็บที่เสมอ ที่สำคัญอย่าลืมเติมน้ำมันให้เต็มถัง เพื่อพร้อมในการใช้งานต่อไป
การบำรุงดูแล
- เมื่อเลิกใช้งาน ควรหล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ เช่น โซ่ยกของ ชุดแผ่นทองเหลืองหลังเสา และจุดต่าง ๆ ที่ต้องมีการหล่อลื่นให้เรียบร้อย
- หลังการใช้งานควรตรวจดูว่า มีบริเวณใดมีการรั่วซึมจากการใช้งานบ้างหรือไม่ เช่น น้ำมันไฮดรอลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำ
- หมั่นตรวจสอบฟังเสียงต่าง ๆ ดูว่า มีเสียงใดผิดปกติหรือไม่ โดยเฉพาะเสียงเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน รถยก
รถโฟล์คลิฟท์ แม้จะมีประโยชน์อยู่มาก แต่หากใช้เพียงอย่างเดียว ไม่รู้จักดูแลบำรุงรักษา ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้ขับ และผู้ร่วมงานได้ รวมถึงสร้างความเสียหายให้กับเจ้าของได้เช่นกัน ดังนั้น หลังการใช้งานควรเก็บรถอย่างถูกต้อง และหมั่นเช็คสภาพให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ก็จะเกิดประโยชน์ และคุ้มค่าในการใช้รถโฟล์คลิฟท์
อย่างไรก็ตาม ก่อนเลือกใช้งาน รถยก รถโฟร์คลิฟท์ แนะนำให้ศึกษาสเปก และคุณสมบัติเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อให้ได้ตรงรถยกที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด และการใช้งานที่เหมาะสม สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย
สำหรับใครที่สนใจรถกระเช้า เราขอแนะนำ รถ Xlift ลิฟท์ขากรรไกร หรือ เครนยกของ สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน