❝ หนึ่งในโจทย์สำคัญของงานออกแบบบ้าน ที่เจ้าของบ้านยุคปัจจุบัน นิยมบอกสถาปนิกนักออกแบบว่า ขอบ้านที่ไม่มีระเบียงบ้าน เนื่องด้วยบ้านที่อยู่อาศัยหลังปัจจุบัน มีระเบียงบนห้องนอน แต่ร้อยวันพันปีไม่เคยออกไปเลย บ้างก็บอกว่า เคยออกไปแค่ครั้งเดียว ช่วงซื้อบ้านใหม่ หลังจากนั้น ก็ไม่เคยออกมาอีกเลย ❞
เมื่อระเบียงบ้านไม่ได้ใช้งานนาน ๆ ย่อมกลายเป็นพื้นที่รกร้าง กักเก็บฝุ่น มีประโยชน์เพียงอย่างเดียว คือ ไว้สำหรับวางคอมเพรสเซอร์แอร์ บทความนี้ KACHA เลยพาไปรู้จักกับ ระเบียงบ้าน ต่อเติมระเบียงบ้าง อย่างไร ให้ใช้งานได้ ไม่เกิดรา ไม่ลื่น และกันเด็กตก ไปดูกัน
ระเบียงบ้าน คือ?
ระเบียง เป็นส่วนหนึ่งประกอบหนึ่งของบ้าน โดยมีลักษณะยื่นออกมาจากกำแพงรองรับโดยเสา หรือฉากที่ยึดติดกับตัวอาคาร โดยระเบียง มักจะมีประตูทางเข้าจากตัวบ้าน หรือตัวอาคาร และระเบียงยังสามารถ หมายถึง ส่วนเปิดของชั้นลอยภายในตัวอาคารได้อีกด้วย
ระเบียง เฉลียง ชาน ต่างกันอย่างไร?
เชื่อว่าหลายคยังคงสับสนอยู่ไม่น้อยว่า ระเบียง เฉลียง ชาน ทั้ง 3 อย่างนี้ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ดังนี้
???? ระเบียง
คือ พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้างของบ้าน จะมีขนาดยาวเท่าตัวเรือน และมีหลังคาคลุม โดยต่อใต้กันสาด และลาดเทออกไป สำหรับกันแดด และฝน |
???? เฉลียง
คือ พื้นเรือนที่ต่อออกไปด้านหัว หรือท้ายเรือน จะมีหลังคากันแดดกันฝน ไม่มีราวกันตก โดยบริเวณพื้น จะลดต่ำลงจากพื้นเรือน และบริวณเฉลียงนี้ จะไม่นิยมกั้นฝา เฉลียงจะอยู่บริเวณทางเข้าบ้าน ก่อนประตูทางเข้าหลัก อย่างที่เรียกกันคุ้นหูว่า “เฉลียงหน้าบ้าน” นั่นเอง |
???? ชาน
เจ้าตัวชานนี้ จะเป็นพื้นเรือนที่ต่อออกไปด้านข้างของระเบียง มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างขวาง พื้นชานจะต่ำกว่าระเบียง ลักษณะ คือ เป็นที่โล่งโดยไม่มีหลังคากันแดด และฝน บางครั้งคนจะเรียกว่า “นอกชาน” |
ต่อเติมระเบียงบ้าน อย่างไรให้ใช้งานได้จริง?
???? สำรวจทิศทางแสงแดดให้ระเบียง
สภาพอากาศเมืองไทยส่วนใหญ่ร้อนอบอ้าว หากระเบียงอยู่ในทิศทางที่ไม่เหมาะสม ย่อมไม่เกิดการใช้งานแน่นอน สำหรับทิศที่เหมาะกับพื้นที่ระเบียง แนะนำทิศเหนือ หรือรองลงมาเป็นทิศตะวันออก เนื่องด้วยค่าเฉลี่ยภูมิประเทศของไทย พระอาทิตย์ จะขึ้นฝั่งตะวันออก และอ้อมทางทิศใต้ เป็นผลให้ฝั่งทิศเหนือได้ร่มเงาจากตัวบ้านเกือบทั้งวัน แม้ระเบียงไม่มีหลังคาปกคลุมก็ยังได้ร่มเงาที่เย็นสบายนั่นเอง
แต่แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกบ้าน ที่จะทำระเบียงฝั่งทิศเหนือได้ หากระเบียงจำเป็นต้องไว้ในทิศทางอื่น ๆ แนะนำให้ต่อเติมหลังคากันแดดเพิ่มด้วย โดยการต่อเติมหลังคา หรืออุปกรณ์ใด ๆ ควรคำนึงถึงเรื่องการแยกโครงสร้างออกจากโครงสร้างเดิม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักโหลดลงบนโครงสร้างเดิมมากหนัก หรือหากต้องการต่อเติมติดกับโครงสร้างเดิมของตัวบ้านควรปรึกษาวิศวกรด้วย
???? เปิดประตูระเบียง ออกมาแล้วเจออะไร
หากระเบียงตรงกับช่องหน้าต่าง หรือโซนพักผ่อนของเพื่อนบ้าน ย่อมไม่อยากออกไปใช้งานกันอยู่แล้วใช่ไหม เพราะทั้งเขา และเราจะรู้สึกไม่เป็นส่วนตัว ให้ความรู้สึกว่ากำลังมีใครจ้องมองอยู่ หรือบางบ้านเปิดไปแล้ว เจอแต่พื้นที่รกร้างรอบรั้วบ้าน ก็ย่อมเสียอรรถรสในการพักผ่อนที่ดี การจะทำให้ระเบียงก่อเกิดการใช้งานจริงจึงจำเป็นต้องมีสิ่งให้น่ามอง
หากบ้านอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ มีวิวทะเล วิวภูเขา การตัดสินใจทำระเบียงย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่บ้านเรือนส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในตัวเมือง แถมที่ดินยังคับแคบ การทำระเบียง จึงจำเป็นต้องตกแต่งบรรยากาศไปพร้อม ๆ กัน หากบ้านมีระยะร่น 3 เมตรขึ้นไป สามารถปลูกไม้ยืนต้น เพื่อให้ต้นไม้เป็นทั้งร่มเงา และเกิดมุมมองทางสายตาที่ผ่อนคลาย แต่หากมีระยะร่นน้อยเพียง 2 เมตร การกั้นขอบเขตทางสายตา โดยใช้วัสดุพรางตา เช่น ระแนงไม้ จะช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับบ้าน ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยให้เกิดร่มเงาที่ดีด้วย
???? บานประตู เชื้อเชิญให้ออกไปใช้งาน
หากจุดไหนต้องการทำระเบียง จุดนั้นควรต้องทำประตูกระจกร่วมด้วย โดยออกแบบให้มีระยะความกว้างรวมของบานประตู เท่า ๆ กับความกว้างระเบียง จะทำให้พื้นที่ภายใน และภายนอกเชื่อมต่อเป็นพื้นที่เดียวกันทำให้พื้นที่น่าใช้สอยมากขึ้น ย่อมเป็นการเชื้อเชิญให้ออกไปสัมผัส จะช่วยเพิ่มชั่วโมงการใช้งานได้ดี โดยประตูที่แนะนำ อาจเลือกเป็นกระจกบานเลื่อน หรือบานเฟี้ยม
อีกหนึ่งสาเหตุที่ระเบียงไม่เกิดการใช้งานจริง นั่นเป็นเพราะเมื่ออยู่ภายในบ้านเรามองไม่เห็นมัน โดยเฉพาะบ้านเรือนสมัย 15-30 ปีก่อน ในยุคนั้นบานกระจกยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ประตูระเบียงนิยมใช้ประตูไม้บานเล็ก ๆ เหมือนประตูห้องนอน ส่วนที่เหลือเป็นผนังทึบ หรือมีหน้าต่างบานเล็ก ๆ ให้พอรับแสงได้เท่านั้น
???? พื้นผิวสัมผัสของระเบียงบ้านก็สำคัญ
โครงการบ้านส่วนใหญ่ ทำระเบียงพื้นคอนกรีต หรือปูพื้นกระเบื้องไว้ให้ ซึ่งจะดูแข็ง ๆ ไม่ผ่อนคลาย ลองเปลี่ยนผิวสัมผัสด้วยวัสดุธรรมชาติ อย่างพื้นไม้ ซึ่งปัจจุบัน มีให้เลือกใช้งานทั้งพื้นไม้แท้ และพื้นไม้จากวัสดุทดแทนอื่น ๆ จะช่วยให้ภาพรวมของระเบียงดูอบอุ่น ผ่อนคลาย น่านั่งมากยิ่งขึ้น
???? อย่าเพิ่งด่วน ต่อเติมระเบียงบ้าน เช็คงานโครงสร้างให้ชัวร์ก่อน
อย่าเพิ่งใจร้อนรีบเร่งไปต่อเติมระเบียงกันบ้านกันนะ เพราะความน่าอยู่ผ่อนคลายต้องมาพร้อมกับความปลอดภัยเสมอ หากบ้านใครมีระเบียงเดิมอยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยได้ใช้งาน แนะนำให้ทำการปรับปรุงเพิ่มตามแนวทางที่แนะนำไว้ข้างต้นได้เลย
หากบ้านไหนต้องการต่อเติมเพิ่ม สิ่งแรกต้องประเมิน คือ งานโครงสร้าง สำหรับการต่อเติมพื้นระเบียงชั้นล่าง แนะนำให้ใช้โครงสร้างพื้นเทคอนกรีตบนดิน โครงสร้างลักษณะนี้ จะให้ดินเดิมช่วยรับน้ำหนัก จุดสำคัญจำเป็นต้องเว้นระยะห่าง ห้ามให้พื้นระเบียงเชื่อมต่อกับคานบ้านเดิม ไม่อย่างนั้น โครงสร้างระเบียง จะดึงโครงสร้างบ้านให้เกิดการแคร็ก หรือทรุดตัวได้ กรณีดินอ่อน อาจเพิ่มความแข็งแรงด้วยเสาเข็มหกเหลี่ยม หรือเข็มเหล็ก แต่จะเพิ่มจำนวน หรือสเปคเท่าไหร่นั้น ควรปรึกษาวิศวกร หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการประเมินงานให้ก่อน
ขั้นตอนการสร้างระเบียงบ้านให้ปลอดภัย
ไม่อยากให้เกิดปัญหา ระเบียงบ้านรั่ว ขึ้นรา และลื่น ทำได้ดังนี้
- ทากันซึมทุกครั้งก่อนปูกระเบื้อง
จำไว้เลยว่างานกระเบื้องบริเวณที่ต้องสัมผัสกับความชื้นเป็นประจำ เช่น ห้องน้ำ ลานซักล้าง ระเบียงบ้าน อ่างเก็บน้ำ เมื่อก่อโครงสร้างซีเมนต์เรียบร้อยแล้วไม่ควรปูกระเบื้องในทันที จะต้องทำกันซึมเสียก่อน
- ใช้กาวซีเมนต์
เพราะกาวซีเมนต์ให้ แรงยึดเกาะสูง ทนแรงสั่นสะเทือนได้ดี ปูทับหลากหลายพื้นผิว สามารถปูได้พื้นและผนังภายใน – ภายนอกอาคาร หมดปัญหาเรื่องกระเบื้องโปร่ง หลุดล่อน แตกร้าวไปโดยปริยาย
- ใช้ยาแนว กาวยาแนว
ด้วยส่วนผสมของ กาวลาเท็กซ์โพลิเมอร์ ช่วยให้การยึดเกาะสูง ไม่หลุดล่อน ไม่หดตัว ทั้งยังผสมสารไมโครแบนหยุดยั้งการเกิดราดำอย่างได้ผล ร่องกระเบื้องขาวสะอาด สวยงาม ไม่ว่าจะผ่านการเช็คล้างสักกี่ครั้งก็ตาม
- ทาน้ำยากันพื้นลื่นป้องกันอุบัติเหตุ
เมื่อสร้างระเบียงเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้น แน่นอนว่าคุณจะได้ระเบียงบ้านที่ได้มาตรฐาน ไม่ร้าว ไม่รั่ว ไม่รา ขั้นตอนสุดท้าย คือ ทาน้ำยากันพื้นลื่น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะบ้านให้ที่มีเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ
ทิ้งท้ายสักนิด ราวแบบไหนกันตกระเบียงสำหรับเด็กได้
ราวกันตกและเหล็กดัดแบบไหนก
ราวกันตก ที่ปลอดภัยควรสูงอย
ระยะความถี่ของเหล็กดัดที่เหมาะสม คือ
- เหล็กดัดแนวตั้ง ระยะห่างไม่เกิน 10 เซนติเมตร
- เหล็กดัดตาราง ระยะห่างไม่เกิน 13 x 13 เซนติเมตร (คิดจาก เด็ก 1-4 ปี มีเส้นรอบวงศีรษะ 45-50 เซนติเมตร)
ราวกันตกต้องห้ามสำหรับเด็ก
บ้านที่มีเด็ก ควรตรวจสอบราว
- ราวที่มีระยะห่างซี่เกิน 15 เซนติเมตร และสูงน้อยกว่า 90 เซนติเมตร
- ราวที่มีขอบให้ยืนได้ ซึ่งเคยมีกรณีเด็กปีนขึ้นไป
ยืนบนขอบ แล้วตกลงมา - ราวที่เป็นซี่แนวนอน ซึ่งจะกลายเป็นบันไดให้เด็ก
ปีนได้ง่าย
เสริมความปลอดภัยราวกันตก แล
หากราวกันตก และเหล็กดัดหน้า
เป็นอย่างไรกันบ้างกับระเบียงบ้าน การต่อเติมระเบียงบ้านที่เรานำมาฝากกันวันนี้ อย่างไรก็ดีก่อนจะต่อเติม อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดี หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนลงมือทำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาตามมาภายหลังนั่นเอง
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★
สามารถเลือกซื้อสินค้าจาก KACHA ได้ที่นี่????https://www.kachathailand.com/shop/