“ลวดเชื่อม” เป็นวัสดุหลักที่ช่างเชื่อมใช้ทำงานในด้านงานเชื่อมโลหะ ทำให้ชิ้นงานที่เป็นโลหะ 2 ชิ้น หลอมเหลวเข้ากันเป็นชิ้นเดียวกัน น้ำโลหะเหลวที่เกิดจากลวดเชื่อม ทำให้ชิ้นงานติดกันมีความแข็งแรงสามารถรับแรงและคงรูปอยู่ได้ ช่างเชื่อมและคนใช้งานลวดเชื่อมทั่วไปคงคุ้นเคยกันดี ว่าแต่ลวดเชื่อมมีกี่ชนิดกันนะ? วันนี้ KACHA จะพารู้จักลวดเชื่อมให้มากขึ้นกัน . . .
???? ชนิดของลวดเชื่อม
การเลือกชนิดของลวดเชื่อมและการเลือกลวดเชื่อมที่ถูกต้องกับงานนั้น จะมีความสําคัญเช่นเดียวกับความสําคัญในด้านอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติสําหรับการเชื่อม ในปัจจุบันลวดเชื่อมที่ใช้สําหรับงานเชื่อมมีหลากหลายชนิด หลายยี่ห้อ จําเป็นอย่างยิ่งที่ช่างเชื่อมจะต้องมีความรู้ในรายละเอียดเพื่อเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งลวดเชื่อม สามารถแบ่งออกได้ 6 ชนิด ดังนี้
1) ลวดเชื่อมธูปหรือลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์ (Covered Welding Electrode) |
---|
เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้งานกันมาก จะมีลักษณะคล้ายธูปด้านในเป็นลวดโลหะ เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก และลวดเชื่อมสแตนเลส สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม มีราคาที่ไม่แพง มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ 2.0, 2.6, 3.2, 4.0 และ 5.0 |
▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾
2) ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire) |
3) ลวดเชื่อมมิก (MIG) หรือลวดเชื่อม CO2
|
---|---|
เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเป็นม้วนแกนกลวงบรรจุด้วยสารพอกอยู่ภายในลวด ต่างจากลวดเชื่อมธูปไฟฟ้าที่สารพอกจะอยู่ภายนอกลวดเชื่อม ลวดเชื่อมชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมได้รวดเร็วและสวยงาม | เป็นลวดเชื่อมแบบลวดโลหะเปลือกไม่มีสารพอกหุ้มภายนอก แบบเปลือย มีลักษณะเป็นม้วน ข้อดีคือเชื่อมได้เร็ว ต้องใช้แก๊สซีโอทู Co2 (แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) และมีต้นทุนค่าลวดเชื่อมต่ำ ใช้ในอุตสาหกรรมงานประกอบเหล็กทั่วไป งานอุตสาหกรรมรถยนต์ และงานโครงสร้างทั่วไป |
▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾
4) ลวดเชื่อมทิก หรือลวดเชื่อมอาร์กอน
|
5) ลวดเชื่อมเซาะร่องหรือลวดเชื่อมเกาจ์(Gouging Electrode)
|
---|---|
มีลักษณะคล้ายลวดเชื่อมมิก คือเป็นลวดเชื่อมเปลือยเช่นเดียวกัน แต่จะมาแบบเป็นเส้น ๆ แต่ละเส้นยาวประมาณ 1 เมตร ไม่ได้มาเป็นม้วนเหมือนลวดเชื่อมมิก นิยมใช้กับงานเชื่อมที่มีความละเอียด มีทั้งที่เป็น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส (308L, 309L, 310L, 316L) ทองเหลือง และโลหะอื่น ๆ มีขนาดตั้งแต่ 1.6, 2.0, 2.4 และ 3.2 มม. | เป็นลวดเชื่อมแบบพิเศษที่มีไว้ใช้ในการกำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพให้ออกไปจากชิ้นงาน มีลักษณะกลมและสามารถใช้ทำความสะอาดแนวเชื่อมสำหรับเตรียมชิ้นงานก่อนเชื่อมโดยใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เหมาะสำหรับใช้ในการเซาะร่อง เจาะรู หรือใช้ในงานตัด |
▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾
6) ลวดเชื่อมพิเศษ |
---|
เป็นลวดเชื่อมที่แบ่งกลุ่มออกมาเพื่อใช้งานเฉพาะ เช่น ลวดเชื่อมทนแรงดึงสูง, ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง, ลวดเชื่อมอินโคเนล, ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม, ลวดเชื่อมนิกเกิลอัลลอยด์, ลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง และลวดเชื่อมประสาน เป็นต้น |
???? หลักการเลือกลวดเชื่อมไฟฟ้า
► ความแข็งแรงของชิ้นงาน
► ส่วนผสมของโลหะชิ้นงาน จะต้องเลือกลวดเชื่อมที่มีส่วนผสมเหมือนกันกับโลหะชิ้นงาน
► ชนิดของกระแสไฟที่ใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับกระแสไฟเชื่อม เพราะลวดเชื่อมบางชนิดจะเชื่อมได้ผลดีกับไฟกระแสตรงเท่านั้น หรือบางชนิดจะเชื่อมได้ผลดีกับไฟกระแสสลับเท่านั้น
► ความหนาและรูปร่างของชิ้นงาน ควรเลือกใช้ลวดเชื่อมที่มีความเหนียวสูงกับงานที่มีความหนาและซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการแตกร้าว
???? การเลือกลวดเชื่อมต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?
- เชื่อมวัสดุอะไร
- สถานที่เชื่อม indoor/ outdoor
- ท่าเชื่อม
- คุณสมบัติของรอยเชื่อมที่ต้องการ
รู้ไหม? อันตรายที่แฝงกับงานเชื่อมและข้อปฎิบัติในการเชื่อม เป็นอย่างไร?
การเชื่อมโลหะ เป็นอุตสาหกรรมที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างอาคารร้านค้าต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องจักรกลต่าง ๆ ต้องมีการเชื่อมยึดเพื่อให้เกิดความมั่นคง การเชื่อมโลหะก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมากมาย ตั้งแต่รังสีจากการเชื่อมด้วยไฟฟ้า หรือแก๊ส คือรังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อผู้เชื่อมได้รับรังสีนาน ๆ อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้ หรือทำให้ผิวหนังตกกระแก่ก่อนวัย ผิวหนังเหี่ยว แสงที่เกิดจากการเชื่อมเป็นแสงที่มีความเข้มข้นมากถ้ามองด้วยตาเปล่า สายตาอาจจะเสียหรือบอดได้ นอกจากแสงแล้วอาจจะมีสะเก็ดโลหะที่ร่อนกระเด็นเข้าสู่ตาได้
???? ซึ่งควันและแสงจากการเชื่อมเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยแบ่งอันตรายที่เกิดขึ้นนี้ออกเป็น 3 ข้อ คือ
1. อันตรายจากแสงจากการเชื่อม แสงจากการเชื่อม เป็นอันตรายต่อดวงตาและอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้รังสีในห้องเชื่อมที่เป็นอันตรายจะอยู่ในช่วงความถี่ตามองไม่เห็น คือช่องรังสีใต้แดง (infrared) และรังสีเหนือม่วง (ultraviolet) รังสีทั้งสองชนิดนี้ทำให้เกิดอันตรายต่อสายตาและผิวหนังได้อย่างรุนแรง คือ ดวงตาระคายเคืองถึงกับอักเสบและน้ำตาไหล ผิวหนังส่วนที่ได้รับรังสีจะเป็นเหตุให้ผิวไหม้และรู้สึกปวดแสบปวดร้อนเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงขึ้นไป ยาวนานตามระยะเวลาที่ได้รับรังสีนั้น ๆ ก๊าซบางชนิด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ จะสามารถกรองและดูดซับรังสีนี้ได้มาก |
2. อันตรายจากควันของการเชื่อม ควัน (Fume) เป็นอนุภาคของแข็งที่เกิดขึ้นจากการควบแน่นของสารที่อยู่ในสถานะที่เป็นก๊าซ โดยทั่วไปสารนั้น ๆ จะอยู่ในสถานะของแข็งที่อุณหภูมิห้อง เมื่อได้รับความร้อนจะระเหยและจะควบแน่นทันที ตัวอย่างฟูมที่พบในการทำงาน ได้แก่ ฟูมของตะกั่วออกไซด์ ฟูมของเหล็กออกไซด์ ฯลฯ |
3. ไฟฟ้าดูด ระบบไฟฟ้าในการเชื่อมชนิดเชื่อมไฟฟ้า จะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟและจบลงที่สายดิน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสู่ชิ้นงาน กระแสที่มีประจุตรงกันข้ามจะไหลในทิศทางกลับกัน กระแสไฟฟ้าจะต้องไหลลงสู่ดินเพื่อให้วงจรสมบูรณ์ และในการไหลลงสู่ดินนี้กระแสไฟฟ้า จะเลือกทางเดินที่สะดวกที่สุดเสมอ กระแสไฟฟ้าที่ใช้จะมีความต่างศักย์ 80 โวลต์ การลัดวงจรของกระแสไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ดังกล่าว อาจไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก่อให้เกิดอันตรายอื่น ๆ ได้ เช่น เป็นแหล่งความร้อน ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ไม่ควรใช้เครื่องเชื่อมที่ใช้ในไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับบนชิ้นงานเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน |
???? ข้อปฏิบัติในการเชื่อมโลหะ
เพื่อความปลอดภัยในการเชื่อมโลหะ ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- ตรวจสอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์การเชื่อมโลหะให้มีความสมบูรณ์ในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฟฟ้า
- ปิดเครื่องเชื่อมทุกครั้งหลังจากหยุดการเชื่อมและเคลื่อนย้ายเครื่องเชื่อม
- สวมหน้ากากหรือต้องสวมแว่นตาและเลือกกระจกแสงให้ถูกต้องทุกครั้งในการเชื่อม จะเป็นชนิดสวมหัว (Helmet shield) หรือชนิดมือถือ (Hand shield) ก็ได้ และต้องเลือกกระจกกรองแสงให้ตรงตามมาตรฐานตามลักษณะงานที่นำไปใช้และจำนวนกระแสไฟเชื่อมด้วย
- สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
- ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงไม่ควรมองแสงอาร์กด้วยตาเปล่า
- บริเวณงานเชื่อมควรมีฉากป้องกันแสงอาร์ก เพื่อไม่ให้รบกวนบุคคลอื่น
- บริเวณทำงานเชื่อมไม่ควรเปียกชื้น เพราะจะทำให้ไฟฟ้าดูดต่อผู้ปฏิบัติงานและบุคคลอื่นได้
- บริเวณทำงานเชื่อมจะต้องปราศจากสารไวไฟชนิดต่าง ๆ
- เครื่องเชื่อมไฟฟ้าควรจัดตั้งในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
หมายเหตุ : ควันจากการเชื่อมและก๊าซเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แสงจ้าจากการเชื่อมเป็นอันตรายต่อดวงตา และอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้ กระแสไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อชีวิต
จะเห็นได้ว่า ลวดเชื่อมนั้นเป็นวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในงานเชื่อมของบรรดาช่างที่ทำงานในด้านการเชื่อมโลหะ ใช้ทำให้ชิ้นงานที่เป็นโลหะผสานเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียวกัน โดยในการเลือกลวดเชื่อมนั้น จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงลักษณะงานที่ทำ ลักษณะของรอยเชื่อมที่ต้องการ เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง ????