เชื่อเลยว่าคงมีอีกหลาย ๆ คน คงยังไม่รู้จักกับ “ธรณีประตู” นั้นมันคืออะไรกัน แล้วมีความสำคัญหรือไม่ บทความนี้ KACHA จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับธรณีประตูกัน จะเป็นอย่างไรนั้น ตามไปดูกันเลย ????

ธรณีประตู คืออะไร?

ธรณีประตูคือ ส่วนล่างที่อยู่ระหว่างวงกบประตูซ้าย-ขวา มีลักษณะสูงขึ้นจากระดับพื้น 5 เซนติเมตรขึ้นไป และธรณีประตู มีมาตั้งแต่สมัยก่อนในอดีตที่เทคโนโลยียังไม่เจริญเท่าปัจจุบัน ที่การปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ ไม่ได้ใช้ตะปูในการยึดติด การทำบานประตูและวงกบนั้น ต้องอาศัยการเข้าเดือยไม้เป็นกรอบเพื่อให้ประตูนั้นแข็งแรงคงทน ทนทาน จึงจำเป็นต้องมีไม้รับล่างวงกบด้วยการเข้าเดือยยึดติดวงกบไม้ 4 มุม จึงได้เกิดเป็นธรณีประตูขึ้นมา เพราะเมื่อมีไม้รับล่างแล้วก็ทำให้สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันฝุ่นละอองไปในตัว และต้องทำให้ใหญ่ เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน จะได้ไม่เดินสะดุดล้มนั่นเอง

220225-Content-รู้จักกับธรณีประตู-ส่วนสำคัญของบ้านที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้02

ธรณีประตูสามารถป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้ปลิวจากพื้นเข้าสู่ห้องได้ยากขึ้น ช่วยปิดแสงลอดใต้ประตูได้ นอกจากนั้น ยังสามารถป้องกันน้ำฝนไหลเข้าบ้าน ในกรณีฝนตกหนัก และระบายน้ำลงใต้ถุนไม่ทันได้อีกด้วย ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนั้น ทำให้ธรณีประตูยังคงได้รับความนิยมต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

ธรณีประตู มีความสำคัญอย่างไร?

1. ช่วยลดแสงเข้าสู่ห้อง

ธรณีประตูเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดแสงสว่างที่ลอดเข้าสู่ห้องผ่านทางช่องว่างใต้ประตู จึงควรติดตั้งไว้กับประตูทุกห้อง โดยเฉพาะห้องนอน ซึ่งอาจมีแสงลอดเข้า และรบกวนการนอนหลับพักผ่อนได้

2. ช่วยรักษาอุณหภูมิ

ธรณีประตูช่วยป้องกันความเย็นจากเครื่องปรับอากาศลอยออกนอกห้อง เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากเกินไป เพราะอากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศจะลอยอยู่ในระดับพื้นห้อง ทำให้อากาศเย็นไหลผ่านช่องใต้ประตูได้ง่าย 

3. ป้องกันเศษฝุ่นและสิ่งสกปรก

เศษฝุ่นและสิ่งสกปรกภายในห้อง อาจมีสาเหตุหนึ่งมาจากร่องใต้ประตูห้อง ยิ่งร่องกว้างมาก เศษฝุ่นก็ยิ่งปลิวเข้าห้องได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้น การติดตั้งธรณีประตู จึงช่วยป้องกันปัญหาสิ่งสกปรกเข้าสู่พื้นที่ภายในห้องได้เป็นอย่างดี

4. ลดความชื้น

การติดตั้งธรณีประตูบ้าน โดยเฉพาะพื้นที่ห้องน้ำ ที่เป็นพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เพราะเกี่ยวข้องกับน้ำและความเปียกชื้นอยู่ตลอด ดังนั้น ควรติดตั้งธรณีประตูห้องน้ำ เพื่อลดความชื้นเข้าสู่พื้นที่อื่น ๆ ภายในบ้าน นอกจากนี้ ควรป้องกันความชื้นด้วยวัสดุอุดรอยต่อ สำหรับอุดร่องรอยต่อบริเวณวงกบประตู หน้าต่าง ช่วยป้องกันการรั่วซึมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

5. เพิ่มความปลอดภัย

อุบัติเหตุจากการสะดุดหกล้ม เนื่องจากธรณีประตูหลุดล่อนไม่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงธรณีประตู ที่มีสีสันกลมกลืนกับพื้นมองเห็นได้ยาก เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอุบัติเหตุที่เกิดในบ้าน ดังนั้น การติดตั้งธรณีประตูสำเร็จรูปแบบเรืองแสงในที่มืด จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในบ้านให้มากยิ่งขึ้น

220225-Content-รู้จักกับธรณีประตู-ส่วนสำคัญของบ้านที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้03

วิธีติดตั้งธรณีประตู วัสดุกันกระแทกด้วยตัวเอง ทำอย่างไร?

ธรณีประตูเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบเล็ก ๆ ที่สำคัญที่ช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์แบบ ให้กับประตูบ้าน อีกทั้งยังมีประโยชน์อีกหลายด้าน ที่หลายคนอาจมองข้ามไป โดยปัจจุบัน วิธีติดตั้งธรณีประตูนั้น ก็ทำได้ง่ายสะดวกสบายมากขึ้น จนใคร ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน ดังนี้

  • รื้อธรณีประตูเดิมออก

กรณีธรณีประตูเติมเสื่อมสภาพ เสียหาย หรือหลุดออก อาจจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจากการสะดุดหกล้มได้ โดยเฉพาะในบ้านที่มีผู้สูงอายุ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ จึงควรรื้อของเดิมออกเสียก่อน 

  • ทำความสะอาดพื้นผิว

ขัดคราบกาว ที่ติดธรณีประตูบ้านเดิมออกให้หมด และทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาด ปราศจากฝุ่นผง เศษสิ่งสกปรก หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ออกให้หมด รวมถึงเช็ดถูพื้นให้สะอาดหมดจดด้วย

  • วัดขนาดพื้นที่ ที่ต้องการ

ใช้ตลับเมตร วัดขนาดพื้นที่ ที่ต้องการติดตั้งวัสดุปิดขอบกันกระแทก เป็นธรณีประตูสำเร็จรูป 

  • ตัดวัสดุกันกระแทกตามขนาดที่วัดได้

ใช้กรรไกรตัด PVC หรือกรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดวัสดุปิดกันกระแทก ตามขนาดที่วัดได้ หลังจากตัดเสร็จแล้ว ให้นำไปทาบกับพื้นที่ ที่ต้องการติดอีกครั้ง เพื่อความแม่นยำ

  • ลอกเทปกาว และแปะลงบนพื้นที่ที่ต้องการ

ลอกเทปกาวด้านหลังวัสดุปิดขอบกันกระแทกออก และแปะลงบนพื้นที่ที่ต้องการ แล้วกด รีดด้วยฝ่ามือให้แน่นสนิท เพียงเท่านี้ ก็จะได้ธรณีประตูใหม่ พร้อมใช้งานแล้ว

ธรณีประตูตามหลักฮวงจุ้ย ควรทำหรือไม่?

บ้านสมัยก่อนนิยมทำธรณีประตูเอาไว้หน้าบ้าน เพื่อบ่งบอกถึงอาณาเขตที่เป็นส่วนของภายในบ้านกับภายนอกบ้าน นอกจากนี้ธรณีประตู ยังเป็นเสมือนเขื่อนเพื่อป้องกันฝุ่นละออง น้ำ หรือสิ่งสกปรกจากตัวคน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่จะเข้าสู่ตัวบ้านอีกด้วย คนโบราณเชื่อกันว่า การทำธรณีประตูเอาไว้ ก็เพื่อให้ความเคารพต่อเทพที่ดูแลประตูทางเข้า หรือนายทวาร การเดินเข้าบ้าน จึงมีการกล่าวว่าห้ามเหยียบธรณีประตู ให้ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าบ้าน หากมองในเชิงฮวงจุ้ย การมีธรณีประตูหรือไม่มี ไม่ได้ระบุเอาไว้ชัดในตำรา เพียงแต่บอกเอาไว้ว่า บริเวณทางเข้าประตู จะต้องไม่มีสิ่งใดมาขวางกั้น เพื่อให้ ชี่ ไหลเข้าสู่ตัวบ้านอย่างสะดวก

กรณีที่บ้านควรมีธรณีประตูหรือไม่นั้น มีการถกเถียงกันมากพอสมควรโดยมีความเห็นต่างอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ

  1. ขวางโชคลาภเข้าสู่บ้าน
  2. กั้นทรัพย์ไม่ให้ไหลออกนอกบ้าน
220225-Content-รู้จักกับธรณีประตู-ส่วนสำคัญของบ้านที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้04
  • ประเด็นเรื่องขวางทรัพย์ไม่ให้เข้าบ้าน ก็มีเหตุผล เพราะการมีธรณีประตู ก็เปรียบเสมือนมีเขื่อนกั้นอยู่หน้าบ้าน ส่วนเรื่องกั้นทรัพย์ไม่ให้ไหลออกนอกบ้าน ก็มีเหตุผลอีกเช่นเดียวกัน เพราะถ้าไม่มีธรณีประตูกั้นไว้ ทรัพย์ก็ไหลออกไปได้ง่าย

ในกรณีนี้หากมองในเชิงตรรกวิทยา จะใช้กรณีที่พื้นที่ด้านหน้าบ้านสูงกว่าตัวบ้าน ธรณีประตูจะช่วยป้องกันน้ำ หรือฝุ่น ที่จะพัดเข้ามาได้ ส่วนข้อเสีย ของการทำธรณีประตู คือ เรื่องอุบัติเหตุสะดุดล้ม ยิ่งบ้านที่มีเด็กและคนชราด้วยแล้วต้องระวังให้มาก ส่วนที่มีการระบุว่าจะต้องทำธรณีประตูเอาไว้ที่ประตูหลังบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ทรัพย์ไหลออกนั้น ในตำราก็ไม่มีระบุเอาไว้ แต่สันนิษฐานได้ว่า น่าจะใช้เพื่อป้องกันสิ่งที่อยู่นอกบ้าน ไม่ให้เข้ามาบ้านมากกว่า กรณีเหมือนประตูบ้านนั่นเอง

  • สำหรับประเด็นเรื่องขัดทรัพย์ไม่ขัดทรัพย์นั้น หากมองตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว การไม่มีธรณีประตู น่าจะเป็นการดีกว่า เพราะทรัพย์ หรือโชคลาภก็น่าจะไหลเข้ามาได้ง่าย เพราะหากไม่มีธรณีประตู ทรัพย์ก็จะไหลเข้าบ้าน การเดินเข้าบ้าน ก็ไม่ต้องมาพะวงว่าจะสะดุดธรณีประตู การเดินจึงราบรื่นไม่ติดขัด

วิถีชีวิตของคนสมัยก่อนกับปัจจุบัน มีความแตกต่างกันมากพอสมควร สมัยนี้ผู้คนจะต้องใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย รวดเร็ว และต้องการความสะดวกสบายให้มากที่สุด เพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์เต็มที่ ซึ่งไม่เหมือนคนสมัยก่อน ที่วิถีชีวิตไม่ต้องดิ้นรนแข่งขันกันมากมาย แบบบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จึงออกแบบให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนปัจจุบัน การทำธรณีประตู จึงไม่ค่อยพบเห็นกันมากนัก กับบ้านรุ่นใหม่ ๆ เพราะถือว่าเป็นสิ่งกีดขวางมากกว่านั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเรื่องธรณีประตูที่เรานำมาฝากกันหวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจและรู้จักกับธรณีประตูกันมากขึ้น บทความหน้า KACHA จะมีอะไรมาฝากอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ ☺️

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

อ่านบทความเพิ่มเติม :

สินค้าแนะนำจาก KACHA