หินขัด (Terrazzo) เป็นการตกแต่งพื้นผิว โดยใช้ปูนซีเมนต์ขาว หินเกล็ด สีผสมซีเมนต์ แบบฝุ่น หรือวัสดุอื่น ๆ เป็นเทคนิคที่คิดค้นขึ้นโดยชาวอิตาลี ในสมัยศตวรรษที่ 16 เพื่อหาวัสดุทางเลือก ที่มีความแตกต่างจาก หินอ่อน หรือโมเสค ที่ใช้กันทั่วไปในขณะนั้น และใช้งานแพร่หลายต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบันอย่างที่เรามักเห็นกันตามสถานที่ต่าง ๆ นั่นเอง
บทความนี้ ตาม KACHA ไปรู้จักกับ พื้นหินขัด เป็นอีกหนึ่งวัสดุปูพื้นที่กำลังมาแรงในตอนนี้ จะมีข้อดี-ข้อเสีย การดูแลรักษา อย่างไรบ้าง?
ประเภทของหินขัด มีแบบไหนบ้าง?
หินขัด เป็นวัสดุที่สามารถสร้างลวดลายสีสันได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของหิน ขนาดของหิน และสีที่ผสมลงไป พื้นหินขัด จะมีความแข็งแรง ทนทานมาก ดูแลรักษาง่าย มีลวดลายในตัว จึงไม่ค่อยสกปรกง่าย ใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอก และประเภทของหินขัด มีดังนี้
1. Cement Terrazzo
หินขัดประเภทนี้ เหมาะสำหรับบริเวณที่มีผู้คนพลุกพล่าน เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามบิน และมหาวิทยาลัย เพราะเป็นหินขัดที่มีความทนทาน คุ้มค่า และออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์ โดยในการทำหินขัดประเภทนี้ ต้องแน่ใจว่าอยู่ในสภาพอากาศแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันรอยแตกร้าวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และที่สำคัญ ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการผสมปูน
2. Sand Cushion Terrazzo
หินขัดประเภทนี้ มีลักษณะโดดเด่นด้วยโครงสร้างพื้นฐาน โดยทำมาจากวัสดุหลายชั้น เช่น ตาข่ายลวด หรือโครงสร้างเสริม แผ่นฉนวนกันความร้อน และชั้นทราย
3. Epoxy Terrazzo
หินขัดประเภทนี้ ได้รับความนิยมมาก ๆ เพราะต้องการสวยงาม และดูแลไม่มาก อีกทั้งยังใช้งานได้อเนกประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นพื้น หรือเคาน์เตอร์ นอกจากนี้ยังมีสไตล์การออกแบบ ที่ยืดหยุ่นได้ตามความต้องการของเจ้าของพื้นที่ แต่ Epoxy Terrazzo เป็นหินขัด ที่ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานภายนอก เพราะไม่ค่อยทน ต่อสภาพอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงนั่นเอง
4. Bonded Terrazzo
หินขัดประเภทนี้ เป็นการใช้ซีเมนต์ฉาบด้านบนประมาณครึ่งนิ้ว ส่วนด้านล่าง ทำจากทราย ปูนซีเมนต์ และแผ่นคอนกรีต
5. Monolithic Terrazzo
หินขัดประเภทนี้ เป็นการใช้ปูนซีเมนต์ท็อปด้านบนครึ่งนิ้ว ส่วนด้านใน ประกอบด้วยสารยึดเหนี่ยว และวัสดุตกแต่ง
6. Rustic Terrazzo
หินขัดประเภทนี้ เหมาะกับการใช้งานภายนอก เพราะมีความเรียบ แต่มีความขรุขระ ที่จะช่วยลดความลื่นของพื้นได้ จึงทำให้พบได้บ่อยในบริเวณภายนอกของโรงแรม ห้างสรรสินค้า พิพิธภัณฑ์ สระว่ายน้ำ บ่อน้ำพุ และน้ำตก
7. Thin-Set Epoxy
หินขัดประเภทนี้ โดดเด่นเรื่อง สีสันสวยงาม และความทนทาน เพราะทำจาก เรซิ่น ท็อปด้านบนประมาณ ¼ หรือ 3/8 นิ้ว ส่วนวัสดุตกแต่ง ก็สามารถใช้ได้ทั้งกระจก วัสดุสังเคราะห์ และหินแกรนิต
ขั้นตอนการทำพื้นหินขัด
- กั้นพื้นที่ย่อย เป็นลวดลายต่าง ๆ ตามต้องการ ด้วยเส้นแบ่งรูปตัวที (T) ซึ่งมีทั้งแบบพลาสติกสี และโลหะ เช่น ทองเหลือ หรือทองแดง โดยพยายามให้มีขนาดของพื้นที่ย่อย ในแต่ละส่วน ไม่เกิน 10 ตารางเมตร เพื่อลดการแตกร้าว
- ผสมปูนซีเมนต์ขาว มวลวัสดุ สีผสมซีเมนต์ และน้ำ ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม นำมาเทลงในพื้นที่ย่อย ที่กั้นไว้ให้เต็ม
- ปาดหน้าให้เรียบ ปล่อยระยะเวลา เพื่อให้ปูนเซตตัว และมีความแข็งแรงประมาณ 15 วัน
- จากนั้น จึงขัดลอกหน้าด้วยเครื่องขัด สำหรับหินขัดในพื้นที่แคบ ๆ หรือบริเวณผนัง ก็จะเปลี่ยนไปใช้เครื่องขัดแบบเจียรมือ เพื่อให้เรียบเนียน
- หลังจากนั้น จึงลงน้ำยาเคลือบผิว เพื่อให้พื้นหินขัดเงางามยิ่งขึ้น และเมื่อใช้งานหินขัดไปสัก 2 ปี ความเงางามของน้ำยาเคลือบผิวอาจจะลดลง หรือผิวหินขัดอาจเป็นคราบสรกปก สามารถลงน้ำยาแล้วขัดพื้นใหม่อีกครั้ง จะทำให้พื้นหินขัด กลับมาดูใหม่อีกครั้งนั่นเอง
ปัจจุบัน มีการผลิต พื้นหินขัด เป็นแผ่นสำเร็จรูป เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำมาปูพื้น และทำให้สามารถออกแบบสลับลวดลายต่าง ๆ ได้ แต่ตามที่พักอาศัยทั่วไป ไม่ค่อยนิยมทำพื้นหินขัดกันมากแล้ว เพราะมีวัสดุทดแทน ที่ให้ความสวยงามหรูหรา และดูมีรสนิยมกว่า อีกทั้งการออกแบบลวดลาย และสีสันให้แก่พื้นหินขัด ก็ทำได้อย่างจำกัด แต่ยังสามารถพบเห็นพื้นหินขัดได้ตามห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าต่าง ๆ เนื่องจากให้ความแข็งแรง ดูแลรักษาง่าย และราคาไม่แพงด้วย
ข้อดี-ข้อเสีย ของพื้นหินขัด
- ข้อดี คือ ดูแลรักษาง่าย ราคาไม่แพง มีลูกเล่น สามารถออกแบบ ให้มีลวดลาย และสีสันได้มาก ไม่มีรอยต่อ
- ข้อเสีย คือ ดูแข็งกระด้าง จะลื่น เมื่อเวลาโดนน้ำ ขั้นตอนการทำค่อนข้างยุ่งยาก เป็นงานเปียก ทำให้ดูเลอะเทอะ และเมื่อแตกร้าว จะซ่อมแซมได้ยาก
การดูแลรักษา พื้นหินขัด
การดูแลพื้นหินขัด สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ใช้เพียงผ้าชุบน้ำทำความสะอาด แนะนำว่า ควรลงน้ำมันเคลือบผิวอย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน ซึ่งการลงน้ำมันช่วยให้พื้นหินขัดสะอาด ป้องกันคราบสกปรก และควรหลีกเลี่ยงน้ำยาทำความสะอาด ที่มีกรดแรง เพราะจะทำให้พื้นผิวหินชำรุดเสียหายนั่นเอง
เป็นอย่างไรบ้าง กับข้อมูลที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าหลาย ๆ คน ได้รู้จักกับ พื้นปูดขัดกันมากขึ้น และเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัยด้วย บทความหน้าจะมีอะไรดี ๆ มาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันเหมือนเดิมนะ ????
บทความที่เกี่ยวข้อง :
- ผนังขัดมัน คืออะไร? วิธีฉาบปูนผนังขัดมัน ทำง่ายๆด้วยตัวเอง
- พื้นขัดมัน คืออะไร? มีขั้นตอนการทำอย่างไร?
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก : beelievesourcing.co.th, baansanruk.blogspot.com