เชื่อว่า หลาย ๆ คน คงจะเคยเห็น หรือรู้จักกับ Fire Alarm หรือ ไฟอราม กันอยู่บ้างแล้ว ที่มักจะติดตามอาคารต่าง ๆ เป็นระบบ สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างไรบ้างนั้น ตาม KACHA ไปรู้จักระบบFir Alarm กันเลยดีกว่า ไปดูเลย
รู้จักกับ ระบบFire Alarm ในอาคาร
ระบบการทำงานของ อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) โดยเริ่มที่อุปกรณ์ตรวจจับ ที่มีทั้ง ตรวจจับควันไฟ และตรวจจับความร้อน ก่อนที่จะส่งสัญญาณต่อไปยังอุปกรณ์ควบคุมการทำงานหลัก เพื่อเปิดการทำงานของ สัญญาณแจ้งเตือนภัย ให้ผู้ที่อยู่ในอาคารรับรู้ถึงเหตุเพลิงไหม้ และอพยพหนีไฟออกมาได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับระบบFire Alarm แบ่งอุปกรณ์ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
- อุปกรณ์ควบคุมสัญญาณหลัก
- อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณเพลิงไหม้
- อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
ระบบFire Alarm มีอุปกรณ์อะไรบ้าง?
สำหรับระบบFire Alarm แบ่งอุปกรณ์ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ อุปกรณ์ควบคุมสัญญาณหลัก อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณเพลิงไหม้ และอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
อุปกรณ์ควบคุมสัญญาณหลัก
สำหรับอุปกรณ์ควบคุมสัญญาณหลัก มีหน้าที่ในการรับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณเพลิงไหม้ ที่ติดตั้งอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของอาคาร ก่อนที่จะส่งสัญญาณ ต่อไปยังอุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ให้ทำงาน มีลักษณะเป็นตู้ ที่เรียกว่า ตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ เพื่อทำงานร่วมกับ อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ เช่น
- อุปกรณ์ควบคุมหลัก ทำหน้าที่ควบคุม ระบบการทำงานของFire Alarm ทั้งหมด สามารถบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด ผ่านทางจอแสดงผล และสามารถสั่งพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารได้
- อุปกรณ์จ่ายไฟสำรอง เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือระบบไฟฟ้าขัดข้อง จะมีอุปกรณ์สำหรับจ่ายไฟสำรอง เพื่อให้ตู้ควบคุม สามารถทำงานต่อไปได้ และยังทำหน้าที่จ่ายไฟสำรอง ไปยังอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ทั้งหมดในอาคารอีกด้วย
อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณเพลิงไหม้
ติดตั้งอยู่นอกตู้ควบคุมสัญญาณหลัก และกระจายในบริเวณต่าง ๆ ของอาคาร มีการเชื่อมต่อด้วย สายสัญญาณ ให้ส่งข้อมูลกลับไปยัง ตู้ควบคุมสัญญาณหลัก เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ และรับกระแสไฟฟ้าจาก อุปกรณ์จ่ายไฟสำรอง ในกรณีที่กระแสไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายไฟหลักดับ แบ่งได้ ดังนี้
- อุปกรณ์ตรวจจับ เป็นอุปกรณ์ต้นทาง ที่ทำหน้าที่ตรวจจับสัญญาณการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งอุปกรณ์ตรวจจับ จะมีชนิดที่แตกต่างกัน ตามลักษณะของสิ่งที่ต้องการตรวจจับ แบ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน และอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ
- อุปกรณ์รับสัญญาณ ประกอบไปด้วย อุปกรณ์ที่รับสัญญาณ จากอุปกรณ์ตรวจจับ จะรับเอาสัญญาณมา แล้วทำการส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุมหลัก เพื่อส่งสัญญาณ ต่อไปยังอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ให้เริ่มทำงาน
อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
หลังจากตู้ควบคุม ได้รับสัญญาณการเกิดเพลิงไหม้ จากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณแล้ว จะสั่งการให้อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ให้ทำงาน ได้แก่ กระดิ่ง ไซเรน ไฟสัญญาณ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในอาคาร ได้รับรู้ถึงเหตุที่เกิดขึ้น และอพยพออกจากอาคารได้ทันที มอุปกรณ์เหล่านี้ มักจะะติดตั้งอยู่ในบริเวณที่สังเกตเห็นได้ง่าย เมื่อเกิดเหตุ สามารถดึง หรือทุบกระจก เพื่อส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ให้ผู้ที่อยู่ในอาคารได้ทราบได้
เป็นอย่างไรกันบ้าง กับระบบ ไฟอราม ที่เรานำมาฝากกับ คงทำให้หลาย ๆ คน หายสงสัยกันแล้วใช่ไหม เรียกได้ว่า การติดตั้งระบบ Fire Alarm จึงเป็นสัญญาณหนึ่ง ส่งสัญญาณเตือนภัยให้ผู้ที่อยู่ในอาคารได้ทราบ ได้วางแผน และรับรู้เหตุการณ์อย่างรวดเร็ว เพื่อวางแผนการอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง
บทความดี ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
- รู้จักกับ ระบบกันไฟกระชาก (Surge Protection) คืออะไร?
- ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดจากอะไร? มีวิธีป้องกันอย่างไร?
- ไฟช็อต ไฟดูด ไฟรั่ว ป้องกันได้ ปลอดภัยในช่วงหน้าฝน
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- ถังดับเพลิง อุปกรณ์ฉุกเฉิน เลือกแบบไหนดี?
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก harn.co.th