สิ่งที่ระบบครัวเรือนต้องมี นั่นคือ มิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือ มาตรวัดน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ทุกบ้านพักอาศัย อาคารต่าง ๆ หรือแม้แต่คอนโดมิเนียมต้องมี บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามิเตอร์น้ำนั้น มีความสำคัญอย่างไร รู้กันเพียงว่า หากมีการขอใช้น้ำประปาก็ต้องมีมิเตอร์น้ำเป็นตัววัด ที่จะบอกว่าค่าใช้น้ำของเราแต่ละเดือนนั้นเป็นเงินเท่าไหร่ จริง ๆ แล้วมิเตอร์น้ำก็เป็นเครื่องมือวัดปริมาตรการใช้น้ำในแต่ละบ้าน โดยน้ำจะไหลผ่านตัวมิเตอร์ และมิเตอร์จะคำนวณปริมาณน้ำที่ไหลผ่านแล้วบอกค่าต่าง ๆ ไว้ที่หน้าปัดโดยจะแสดงปริมาตรเป็นลิตร เป็นลูกบาศก์เมตร เป็นต้น

บทความนี้ KACHA จะพาไปดูกันว่า มิเตอร์น้ำ มาตรวัดน้ำ ????สำคัญอย่างไร ทำไมทุกบ้านต้องมี


มิเตอร์น้ำ คืออะไร?

มิเตอร์น้ำที่เราเรียกการติดปาก คือ มาตรวัดน้ำ ที่เป็นตัวช่วยคำนวณปริมาณการใช้น้ำ โดยจะมีอุปกรณ์ภายในที่ทำหน้าที่คำนวณปริมาตรน้ำ ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามแต่ชนิด หลัก ๆ คือ เมื่อน้ำไหลผ่านมิเตอร์ อุปกรณ์การวัดภายในจะหมุน แล้วคำนวณตามปริมาตรของน้ำที่ไหลผ่านไป อุปกรณ์การวัดจะเชื่อมต่อกับแกนหมุนตัวเลข หรือส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังชุดแสดงผล เพื่อแสดงค่าของปริมาณน้ำที่หน้าปัด ที่เราสามารถมองเห็นได้ การแสดงผลของมิเตอร์น้ำ

220104-Content-รู้จักมิเตอร์น้ำ-อุปกรณ์สำคัญของบ้านการใช้งานเป็นอย่างไร-02


ในปัจจุบัน จะมีทั้งแบบที่เป็นกลไกแบบ Analog ดั้งเดิม มีทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีทั้งระบบส่งข้อมูลออกไปเป็นสัญญาณดิจิตอล กลไกของมิเตอร์น้ำ มีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ เช่น มิเตอร์น้ำแบบ Single jet, มิเตอร์น้ำแบบ Multi jet, มิเตอร์น้ำแบบ Piston และมิเตอร์น้ำแบบที่ใช้การเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า การที่จะบอกได้ว่ามิเตอร์น้ำยี่ห้อไหนดีนั้น ยังรวมไปถึงวัสดุที่ใช้ผลิต ฟังก์ชั่นความเสถียร และความแม่นยำในการคำนวนค่าน้ำที่ต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน


ประเภทของมิเตอร์น้ำ

ก่อนที่จะรู้ว่ามิเตอร์น้ำยี่ห้อไหนดี เราไปศึกษาข้อมูลกันก่อนดีกว่าว่า นอกจากที่มิเตอร์น้ำที่เราเห็นใช้งานตามบ้านพักอาศัยทั่วไปแล้ว ยังมีอีกกี่ประเภท ที่เป็นที่นิยม และมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน แบ่งออกได้ ดังนี้ 

1. มิเตอร์น้ำแบบ Displacement Water Meter

เป็นมิเตอร์ที่ใช้การวัดปริมาณน้ำในพื้นที่หนึ่ง ในชั่วขณะหนึ่ง โดยจะมีชุดการคำนวณเป็นแบบลูกสูบ Piston ที่ควบคุมการทำงานของแม่เหล็ก ซึ่งจะส่งผลคำนวณปริมาณที่ได้ไปแสดงค่าปริมาตรของน้ำบนหน้าปัด

2. มิเตอร์น้ำแบบ Positive Displacement Meter

เป็นมิเตอร์ที่นิยมใช้ตามอาคารก่อสร้าง ที่พักอาศัย หรือธุรกิจขนาดเล็ก สามารถวัดได้อย่างแม่นยำ เที่ยงตรง ถึงแม้จะมีปริมาณน้ำที่ใช้วัดน้อยมากก็ตาม มีให้เลือกขนาดใช้งานที่เหมาะกับอัตราการไหลในช่วงต่าง ๆ มากมายหลายขนาด โดยมีขนาดตั้งแต่ 5/8 นิ้วขึ้นไป

3. มิเตอร์น้ำแบบ Velocity Meter

เป็นมิเตอร์ที่ใช้วัดความเร็วของน้ำ ที่เคลื่อนที่ผ่านอุปกรณ์ที่ใช้คำนวณ ที่อยู่ภายในตัวมิเตอร์ โดยอาศัยความเร็วของน้ำ (Velocity) และจะแปลงค่าเป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาตรน้ำแสดงบนหน้าปัด มีประเภทย่อยลงไปอีก ทั้งแบบใบพัดเดี่ยว, แบบ 2 ใบพัด, แบบหลายใบพัด, แบบอัลตร้าโซนิค ฯลฯ

4. มิเตอร์น้ำแบบ Inferential Meter

เป็นมิเตอร์ที่ใช้อัตราการไหลแบบทางอ้อมของปริมาณน้ำ โดยใช้การคำนวณปริมาตรจากภาชนะ ที่ถูกลำเลียงผ่านกังหัน เช่น Turbine meters, Woltman meters, Impeller meters, Propeller-type flow meters

5. มิเตอร์น้ำแบบ Oscillatory Flow Meter

เป็นมิเตอร์ที่ใช้อัตราการไหลของปริมาณน้ำ ผ่านการแกว่งของตัวชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายใน ซึ่งเกิดจากการไหลผ่านของน้ำ ที่ทำให้เกิดการแกว่งตัว และเอาสัญญาณที่เกิดจากการแกว่งตัวเหล่านี้ไปแสดงผล

6. มิเตอร์น้ำแบบ Electromagnetic Flow Meter หรือ Magflows/Magmeters

เป็นมิเตอร์อีกแบบ ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยจะอาศัยหลักการทำงานตามกฎของฟาราเดย์ Faraday’s law ซึ่งเมื่อมีตัวนำ หรือปริมาณน้ำวิ่งผ่าน หรือตัดผ่านสนามแม่เหล็ก ไปทำให้เกิดแรงดันตกคร่อม ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามความเร็วจากการไหลของน้ำ

7. มิเตอร์น้ำแบบ Ultrasonic flow meter

มิเตอร์แบบนี้ จะเป็นชิ้นอุปกรณ์ 2 ชิ้น ที่มีการยึดติดกับท่อด้านใน และจะปล่อยคลื่นผ่านท่อให้กระทบน้ำ เพื่อนำสัญญาณที่ส่งจาก Transducer ผ่านท่อจากด้านหนึ่ง ไปยังอีกด้านหนึ่ง มาคำนวณความเร็ว และปริมาณของน้ำ มิเตอร์แบบนี้ นิยมใช้กับการวัดปริมาณน้ำในปริมาณมาก


คำนวณค่าน้ำ จากการอ่านค่าตัวเลขมิเตอร์น้ำ ราคาค่าใช้น้ำ

หลายคนอาจคุ้นหน้าคุ้นตาหน้าปัดของมิเตอร์น้ำเป็นอย่างดี เพราะเห็นกันบ่อย ๆ แต่ตัวเลขบนหน้าปัดบอกอะไรบ้าง เชื่อว่ายังมีหลายคนที่ไม่รู้ ลองฝึกการอ่านค่ามิเตอร์น้ำ ราคาค่าใช้น้ำในแต่ละเดือน เพื่อจะได้คำนวณค่าการใช้น้ำของเราเองได้อย่างถูกต้อง ดังนี้

  1. หน้าปัดบนมิเตอร์น้ำ หรือ มาตรวัดน้ำ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบแสดงตัวเลข 4 หลัก และแบบแสดงตัวเลข 7 หลัก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และแบรนด์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน
  2. หน่วยวัดปริมาตรน้ำบนหน้าปัดมิเตอร์ จะแสดงผลเป็นลูกบาศก์เมตร โดย 1 ลูกบาศก์เมตร จะเท่ากับ 1,000 ลิตร
  3. วิธีคำนวณค่าน้ำ มิเตอร์น้ำแบบ 4 หลัก โดยตัวเลขหลัก 4 ตัว จะเป็นจำนวนเต็มหน่วยลูกบาศก์เมตร หรือคิว ส่วนตัวเลขที่แสดงบนวงกลม 3 วง จะเป็นตัวเลขทศนิยม 3 ตำแหน่งของลูกบาศก์เมตร มีหน่วยนับเป็นลิตร 
  4. วิธีคำนวณค่าน้ำ มิเตอร์น้ำแบบ 7 หลัก โดยตัวเลขสีดำ 4 ตัว จะเป็นจำนวนเต็มมีหน่วยลูกบาศก์เมตร หรือคิว ส่วนตัวเลขสีแดง 3 หลัก จะเป็นตัวเลขทศนิยม 3 ตำแหน่งของลูกบาศก์เมตร มีหน่วยนับเป็นลิตร ซึ่งตัวเลขสีแดงของมิเตอร์น้ำแบบนี้ คือ ตัวเลขเดียวกับตัวเลขในวงกลมของมิเตอร์น้ำแบบ 4 หลักนั่นเอง
  5. การคำนวณค่าน้ำในแต่ละเดือน ให้นำตัวเลขบนมิเตอร์น้ำที่อ่านค่าได้ตอนสิ้นเดือน หรือตอนที่มีเจ้าหน้าที่การประปามาเปิดมิเตอร์ ลบกับตัวเลขมิเตอร์เดือนที่ผ่านมา ผลจะออกมาเป็นจำนวนหน่วยของน้ำที่ได้ใช้ไป แล้วนำมาคูณกับอัตราค่าน้ำต่อหน่วย เช่น เดือนตุลาคมใช้น้ำไป 5 ลูกบาศก์เมตร เดือนพฤศจิกายนใช้น้ำไป 15 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับ 15 ลบ 5 ผลที่ได้ออกมาคือ เดือนล่าสุดใช้น้ำไป 10 ลูกบาศก์เมตร
  6. นำค่าการใช้น้ำในเดือนที่คำนวณได้ คือ 10 ลูกบาศก์เมตร มาคูณกับค่าน้ำประปา สมมุติว่าหน่วยละ 10 บาท ก็เท่ากับ 10 x 10 นั่นก็เท่ากับว่า เราใช้น้ำประปาไปจากการคำนวณมิเตอร์น้ำ ราคา 100 บาท
220104-Content-รู้จักมิเตอร์น้ำ-อุปกรณ์สำคัญของบ้านการใช้งานเป็นอย่างไร-03


การตรวจสอบดูแล มิเตอร์น้ำด้วยตัวเอง

มิเตอร์น้ำแต่ละบ้านนั้น ติดตั้งไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ถ้าเป็นบ้านพักอาศัย จะติดตั้งอยู่นอกบ้าน หรือติดกับรั้วด้านในของบ้าน เพื่อสะดวกในการให้เจ้าหน้าที่การประปา ในการอ่านค่าการใช้น้ำในแต่ละเดือนได้ง่าย แต่การที่ติดตั้งอยู่ด้านนออก ทำให้มิเตอร์น้ำนั้น ต้องโดนทั้งแดดทั้งฝน และแต่ละยี่ห้อก็ผลิตจากวัสดุที่แตกต่างกัน มิเตอร์น้ำยี่ห้อไหนดี-ไม่ดีนั้น จะส่งผลต่อคุณภาพ และมาตรฐานที่ต่างกันด้วย วิธีตรวจสอบมิเตอร์น้ำอย่างไร ว่ายังใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  1. วาล์วเปิด-ปิดน้ำ ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ทดสอบได้โดยการหมุนเข้าหมุนออกได้ปกติ
  2.  ฝาปิดพับบนหน้าปัด ต้องไม่หักชำรุด
  3.  สภาพของมิเตอร์น้ำ ไม่เป็นสนิม หรือมีคราบตะไคร่ คราบตะกรัน เกรอะกรัง
  4.  เลขบนหน้าปัดมิเตอร์น้ำ มองเห็นได้ชัด หน้าปัดไม่ขุ่นเป็นฝ้า หรือมัว
  5.  ไม่มีน้ำหยดออกมาตามข้อต่อต่าง ๆ หากพบการรั่วซึม ต้องรีบดำเนินการแก้ไขโดยทันที เพราะหากปล่อยนานไป ราคาค่าน้ำก็จะพุ่งสูงขึ้น


เป็นอย่างไรกันบ้างมิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือมาตรวัดน้ำ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่หลายคนมองข้ามไป มิเตอร์น้ำยี่ห้อไหนดีขึ้นอยู่กับคุณภาพ มาตรฐาน และอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่หากเกิดมีปัญหามิเตอร์น้ำ โดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น น้ำรั่วซึม หรืออุปกรณ์เสื่อมชำรุดขึ้นมา ก็จะเกิดผลกระทบอย่างมากมาย เพราะจะทำให้เราต้องเสียค่าน้ำแพงโดยใช่เหตุ ดังนั้น การหมั่นตรวจสอบ ดูแล และบำรุงรักษามิเตอร์น้ำให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน ก็จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายลงไปได้มากทีเดียว

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<