วัสดุที่มีความสำคัญสำหรับงานก่อสร้างบ้านหรืออาคารต่าง ๆ ซึ่งให้บรรยากาศของความเป็นธรรมชาติได้ดี ก็คืองานไม้ทุกประเภท แต่ปัจจุบันงานไม้มีราคาแพง และวัสดุทำจากไม้บางประเภทยังหายาก ทำให้มีการนำไม้เทียมมาใช้ทดแทนมากขึ้น ซึ่ง “ไม้เทียม” เป็นวัสดุในงานช่างที่ไม่ได้ทำมาจากไม้ แต่นำวัสดุอื่น ๆ มาผสมกับไม้และสารเคมีบางอย่าง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติ และการใช้งานทางด้านสถาปัตยกรรมเหมือนกับไม้จริงนั่นเอง 
ซึ่งไม้เทียมแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ตามวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตได้หลายชนิด จะมีอะไรบ้าง ตาม KACHA ไปดูกันเลยดีกว่า . . .

ไม้เทียม คืออะไร?

ไม้เทียม หรือไม้สังเคราะห์ เป็นวัสดุที่ทำเลียนแบบให้เหมือนไม้ ทั้งรูปร่าง สีสัน หรือมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไม้ เพื่อให้สามารถใช้งานทดแทนไม้จริงในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยไม้เทียมเป็นวัสดุสังเคราะห์เกิดจากการนำวัสดุอื่นมาผสมกับไม้และสารเคมีบางชนิด จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติและสามารถใช้งานได้เหมือนหรือใกล้เคียงกับไม้จริง

210417-Content-รู้จัก-“ไม้เทียม”-ข้อดี-ข้อเสียเป็นอย่างไร-02-edit

ชนิดของไม้เทียม

ไม้เทียม หรือไม้สังเคราะห์ ที่ผลิตขึ้นมาทดแทนไม้ในประเทศไทย หลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่  ไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber cement) และไม้เทียม Wood Plastic Composite หรือ WPC

1. ไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber cement)

ผลิตจากเส้นใยเซลลูโลส ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และซิลิก้า โดยนำมาผ่านกระบวนการอัดขึ้นรูปในแบบต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งาน เช่น ไม้พื้นไม้ระแนง ไม้เอนกประสงค์ และไม้บัว 

2. ไม้เทียม Wood Plastic Composite หรือ WPC

เป็นการนำวัสดุไม้และะพลาสติกมาผสมกันในขั้นตอนการผลิต ทำให้ไม้เทียมที่ได้มีคุณสมบัติเหมือนไม้และพลาสติก ซึ่งผลิตภัณฑ์นั้น ๆจะโน้มเอียงไปทางใด ก็ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของไม้ และพลาสติกที่นำมาผสมกัน

เปรียบเทียบคุณสมบัติไม้เทียมและไม้จริง

ปัจจุบันมีไม้หลากหลายประเภทในท้องตลาดให้เลือกทั้ง ไม้จริงและไม้เทียม ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าไม้ทั้ง 2 ประเภทนั้นมีข้อดี ข้อเสีย และคุณสมบัติที่แตกต่างกันอย่างไร

ไม้เทียมในปัจจุบันที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ประเภท คือ ไม้เทียมที่ผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์ มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์และเส้นใยต่าง ๆ ซึ่งมีความยืดหยุ่นตัวสูง และไม้เทียมที่ผลิตจากพอลิเมอร์อย่างไวนิลผสมกับผงไม้จริง ลักษณะของสีและผิวสัมผัสคล้ายไม้จริงมาก อีกทั้งมีความทนทาน ต่อสภาพอากาศและการใช้งาน

ข้อดี ข้อเสีย
การติดตั้งทำได้ง่าย สามารถใช้งานได้ทันที ดูแลรักษาง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก แมลง มาให้กวนใจ รูปแบบที่หลากหลาย ง่ายต่อการจัดตกแต่งในรูปแบบต่าง ๆ ลวดลายบนแผ่นไม้ไม่เป็นธรรมชาติ สามารถซ่อมแซมด้วยการทาสีใหม่ มีขนาดและความยาวจำกัด


ไม้จริง
คือ ไม้แปรรูปที่ผ่านกระบวนการอาบน้ำยา และอบแห้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันศัตรูตัวร้ายอย่างปลวก และแมลง  อีกทั้งยังผ่านการลดความชื้นในเนื้อไม้ก่อนการนำไปใช้งานด้วย โดยไม้จริงนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ 

  • ไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้ที่ได้มาจากต้นไม้จำพวกสน ซึ่งลักษณะโครงสร้างของไม้เนื้ออ่อนเป็นแบบธรรมดาซึ่งจะมีความแตกต่างจากไม้เนื้อแข็งอย่างชัดเจน โดยไม้ชนิดนี้มีน้ำหนักเบาและแข็ง จึงสามารถนำไปใช้สำหรับงานก่อสร้างโดยทั่วไปได้ 
  • ไม้เนื้อแข็ง เป็นไม้ที่ได้มาจากต้นไม้ที่มีใบกว้าง ซึ่งไม้ที่เป็นของไทยส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีลักษณะโครงสร้างยุ่งยาก และซับซ้อนกว่าไม้เนื้ออ่อน โดยความแข็งแรง และคุณสมบัติของไม้เนื้อแข็ง จะมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด อีกทั้งยังทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีอีกด้วย 
ข้อดี ข้อเสีย
แผ่นไม้แต่ละแผ่นมีความสวยงามจากลวดลายและสีสันตามธรรมชาติแตกต่างตามชนิดและอายุของไม้ สามารถนำไปทำพื้นผิวได้ตามต้องการ เช่น ผิวเรียบหรือผิวหยาบ โชว์เสี้ยนไม้ การทาสีย้อมไม้ เมื่อใช้งานไปเป็นเวลานานการซีดจางอาจเกิดขึ้น แต่ยังสวยงามมากกว่าไม้เทียม เพราะเป็นของจริงจากธรรมชาติ มีราคาค่อนข้างสูง ต้องระมัดระวังเรื่องปลวก แมลง หากใช้งานหนักจะทำให้พื้นผิวไม้เป็นรอยเสียหายและเป็นสาเหตุทำให้เกิดการผุกร่อนในภายหลังได้ นอกจากนี้ยังต้องหมั่นทาน้ำยารักษาเนื้อไม้เป็นประจำ ถ้าใช้ไปในระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดการซีดจางของไม้

???? รู้ไหม? ไม้อัดเทียมที่นิยมใช้กันในท้องตลาดไทยปัจจุบันมี 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ 

  • ไม่เทียมลามิเนต เป็นไม้ที่มีลักษณะคล้ายไม้จริง เนื่องจากผิวสัมผัสด้านหน้าทำมาจากไม้จริง เหมาะกับการใช้งานปูพื้นภายใน แต่ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีความชื้นสูงอย่างห้องครัว หรือห้องน้ำ เนื่องจากอาจมีปัญหาเรื่องปลวกได้
  • ไม้เทียมไวนิล หรือกระเบื้องยาง ผลิตจาก PVC มีคุณสมบัติทนต่อความชื้น ป้องกันปลวก น้ำหนักเบา รองรับน้ำหนักได้ดี และทำการติดตั้งง่าย
  • ไม้เทียมกระเบื้องลายไม้ เป็นวัสดุเซรามิกที่สามารถใช้งานได้ทุกพื้นที่ของบ้าน มีความทนทาน ดูแลรักษาง่าย อายุการใช้งานสูง และไม่มีปัญหาเรื่องปลวกหรือแมลงกัดกิน
210417-Content-รู้จัก-“ไม้เทียม”-ข้อดี-ข้อเสียเป็นอย่างไร-03

จะเห็นได้ว่าไม้เทียม ยังเป็นผลิตภัณฑ์ หรือวัสดุก่อสร้าง ที่ผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบ ทั้งคุณสมบัติและรูปลักษณ์ เพื่อให้สามารถใช้แทนงานไม้ได้อย่างเหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานแต่ละประเภท หวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<