วางแผน (ก่อน) ซ่อมบ้าน เรื่องง่าย ๆ ต้องรู้อะไรบ้าง?
ใคร ๆ ก็อยากให้บ้านของตัวเองสวยงาม มีบรรยากาศดี ๆ คนรักบ้านทั้งหลาย จึงพยายามปรับปรุง ซ่อมบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ให้น่าอยู่น่าอาศัย ตามกำลังทรัพย์ที่มี อย่างไรก็ตาม การปรับปรุง การวางแผนซ่อมบ้าน ก็มีหลายเรื่องให้ต้องคิด ถึงแม้จะเป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าไม่วางแผนให้ดีแล้ว อาจทำให้งบประมาณบานปลายได้ หรือไม่ก็ผลที่ออกมาไม่ตรงกับความต้องการของเราได้ อยากซ่อมแซม และปรับปรุงบ้าน ให้กลับมาใหม่ น่าอยู่อีกครั้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน หรือต้องวางแผนอย่างไร
วันนี้ KACHA เราจึงมีแนวทาง การซ่อมบ้าน มาฝากกัน จะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลย
ก่อน ซ่อมแซมบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง?
1. สำรวจบ้าน ลิสต์จุดที่ต้องการซ่อม
การ วางแผนซ่อมบ้าน ต้องเริ่มจากการเช็คจุดที่เราอยากซ่อมแซมปรับปรุง พร้อมจดลิสต์ให้ละเอียดว่าจุดไหนเกิดปัญหาอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนซ่อมแซมและปรับปรุงในขั้นต่อไป และสามารถบอกช่างได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การเช็คว่าบ้านมีปัญหาจากจุดไหนบ้างนั้น มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อ คือ
- สังเกตปัญหาด้วยตัวเองก่อน โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ปัญหาหลังคารั่ว มีน้ำซึม ซึ่งเราสามารถเห็นและสัมผัสได้ ยิ่งช่วงหน้าฝนยิ่งเห็นได้ง่าย หรือผนังร้าว เป็นต้น
- จ้างช่างมืออาชีพมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อวางแผนการซ่อมแบบจริงจัง โดยเฉพาะการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างบ้าน ที่ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน เพราะหากโครงสร้างบ้านทรุดโทรมจนยากจะซ่อมแซม การรื้อสร้างใหม่ อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
2. เรียงลำดับความเสียหาย ประเมินความเร่งด่วน
หลังจากทราบจุดที่ต้องการซ่อมแซมอย่างแน่นอนแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การเรียงลำดับความเสียหายและความสำคัญ ว่าจุดไหน คือ จุดเร่งด่วนต้องรับซ่อมแซม จุดไหนยังพอพลัดผ่อนไปได้ พร้อมทั้ง อย่าลืมจัดตารางว่ามีรายการใดที่พอจะทำไปพร้อม ๆ กันได้ เพื่อประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ อย่าลืมประเมินตัวเองว่า นอกจากการซ่อมจุดที่เกิดความเสียหายของบ้านแล้ว เจ้าของบ้านอย่างเราต้องการต่อเติมส่วนไหน หรือเปลี่ยนแปลงส่วนใดหรือไม่ เพราะหากคุณอยากต่อเติมบ้าน การวางแผนซ่อมบ้าน พร้อมต่อเติมในคราวเดียวกัน จะทำให้คุณประหยัดเงิน และเวลาได้มากขึ้น เช่น ต้องซ่อมพื้น เราอยากจะแค่ซ่อมส่วนที่เสียหาย หรือเปลี่ยนพื้นไปเลย หรือซ่อมผนังร้าว เมื่อต้องอุดผนังใหม่ ลองทาสีบ้านใหม่ไปเลยดีไหม เป็นต้น
3. ประเมินงบประมาณที่มี เพื่อจัดสรรอย่างฉลาด
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการซ่อมแซมบ้าน คือ งบประมาณที่มีอย่างจำกัด ดังนั้น การซ่อมแซมแต่ละจุด จึงต้องจัดสรรอย่างรอบคอบ ทั้งในแง่ค่าแรงของช่าง และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งหากเราไม่มีเงินก้อนโตพอที่จะทุ่มซ่อมบ้านแบบครั้งเดียว การแบ่งซ่อมทีละจุด ๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดี
ข้อแนะนำ คือ เรื่องวัสดุที่ใช้ในการซ่อม แน่นอนว่าเราย่อมอยากเลือกใช้วัสดุคุณภาพ เพื่อให้บ้านของเราคงอยู่กับเราไปอีกนาน ซึ่งนั่นเป็นข้อคิดที่เราแนะนำ แต่วิธีที่ช่วยประหยัดและไม่ทำให้งบฯ บานปลายคือ การคำนวณวัสดุที่ต้องใช้ให้พอดี เพราะการซื้อวัสดุมาเหลือทิ้งนั่นหมายถึง เงินที่หายไปอย่างเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ ควรเลือกแหล่งจำหน่ายวัสุดที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของวัสดุก่อสร้าง ความหลากหลายของแบรนด์ให้เราเปรียบเทียบและเลือกใช้ รวมทั้ง มีวัสดุอุปกรณ์ครบครัน ไม่ต้องวิ่งวุ่นซื้อหาจากหลาย ๆ ร้าน ก็เป็นอีกหนึ่งคำแนะนำ ที่ช่วยให้การ ซ่อมแซมบ้าน ของคุณมีคุณภาพ และเป็นไปอย่างราบลื่น
4. ถึงเวลาเลือกช่าง
หลังจากประเมินความเสียหาย และงบประมาณในกระเป๋าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การเลือกช่างเข้ามาซ่อมแซม และตีราคาค่าซ่อมอย่างจริงจัง แนะนำว่า ให้เรียกช่างมาตีราคาสัก 2 รายขึ้นไป เพื่อเปรียบเทียบราคา แม้ช่างที่เลือกมาจะมีคนรู้จักแนะนำมาอีกที แต่ก็ควรนัดช่าง 2 รายมาตีราคาเทียบกัน หากราคาที่ช่างตีมาใกล้เคียงกัน ก็ให้เลือกจากผลงานที่ผ่านมา โดยการจ้างช่างนั้น มี 2 แบบ คือ แบบเหมาจ่าย กับ จ่ายเฉพาะค่าแรง
ในฐานะที่เราเป็นเจ้าของเงิน ยังสามารถตกลงกับช่างได้ว่า จะให้ทางช่างเป็นผู้เลือกซื้อวัสดุก่อสร้าง ซึ่งกรณีนี้ จะเป็นการเหมาจ่าย หรือเราจะหาซื้อ และจัดสรรวัสดุด้วยตัวเอง ซึ่งเราจะจ่ายเฉพาะค่าแรงเท่านั้น โดยทั้ง 2 ทางเลือก ต่างมี ข้อดี-ข้อเสีย ต่างกัน หากเราเป็นผู้เลือก และซื้อวัสดุมาเอง แน่นอนว่าย่อมสามารถควรคุมงบประมาณ และได้วัสดุคุณภาพที่ตรงใจกว่า แต่ขณะเดียวกันเราไม่อาจประเมินได้ว่าต้องใช้วัสดุจำนวนเท่าไรจึงจะเพียงพอ
กรณีป้องกันช่างหนีงาน ควรมีหลักฐานการจ้างงานชัดเจน นั่นคือ เราควรทำสัญญารายการซ่อมให้ละเอียด ทั้งการจ่ายเงินที่แบ่งเป็นกี่งวด ระยะเวลาที่แน่ชัดในการซ่อมแซมแต่ละจุด จุดไหนเหมาจ่าย จุดไหนจ่ายเฉพาะค่าแรง ฯลฯ การทำสัญญานี้จะป้องกันช่างหนีงานและยังเป็นการรับประกันว่าช่างจะทำตามรายละเอียดอีกด้วย
5. ถ้าหากอยากเลือกซื้อวัสดุด้วยตัวเอง ต้องทำอย่างไร?
กรณีที่เราตกลงใจว่า จะเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างด้วยตัวเอง ข้อสำคัญ คือ ควรทำความรู้จักวัสดุแต่ละประเภทให้ชัดเจน ทั้งข้อดี-ข้อเสีย เหมาะกับบ้านแบบไหน ราคาเท่าไร เป็นต้น ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก หากเลือกซื้อวัสดุจากร้านค้าขนาดใหญ่ที่ครบครัน การเปรียบเทียบวัสดุก่อสร้าง จะยิ่งเป็นเรื่องง่าย ยิ่งถ้าร้านนั้น มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้วยแล้ว จะยิ่งลดความกังวล และเลือกวัสดุได้ตรงใจมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าการซ่อมบ้าน ซ่อมแซมบ้าน อาจดูเป็นเรื่องใหญ่ แต่ไม่ยากเกินการควบคุมของเรา หากเรามีการวางแผนที่ดี และมีผู้เชียวชาญที่วางใจได้ โดยเฉพาะเรื่องการหาซื้อวัสดุ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการซ่อมแซมปรับปรุงบ้านนั่นเอง และควรมีการวางแผนด้วยทุกครั้งด้วย
สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????