วิธีติดตั้ง “ฉนวนกันเสียง” ในห้องส่วนตัวด้วยตัวเองที่บ้าน
เชื่อเลยว่า หลาย ๆ คน คงเคยเจอปัญหา เสียงรบกวน ที่เล็ดลอดจากเพื่อนบ้าน ที่บ้านติดกัน หรือใช้ผนังร่วมกัน ทั้งเสียงที่รบรบกวน จากเพื่อนบ้าน หรือเพื่อนบ้านได้ยินเสียงรบกวนจากบ้านของเรา จะป้องกันเสียงรบกวนเหล่านี้อย่างไร
ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ฉนวนกันเสียง และวิธีติดตั้งฉนวนกันเสียง วัสดุกันเสียง ว่าจะทำได้อย่างไร ตามไปดูกันเลย
ประเภทของฉนวนกันเสียง
- ฉนวนใยแก้วความหนาแน่นต่ำ ผลิตจากใยแก้วเส้นสั้น ขึ้นรูปด้วย binder ทำให้ฉนวนมีรูปร่างตามที่ต้องการ ราคาไม่แพง ไม่ติดไฟ หาซื้อง่าย ช่วยแก้ปัญหาเสียงดัง แบบไม่รุนแรง
- ฉนวนใยแก้วความหนาแน่นต่ำ ยังไม่มีผลิตในประเทศไทย หากต้องการ จะต้องนำเข้าจากต่างประเศเท่านั้น ช่วยแก้ปัญหาเสียงดังแบบรุ่นแรง เช่น ในโรงงาน ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ และทนต่ออุณหภูมิที่สูงมาก
- ฉนวนใยหิน มักใช้สำหรับงานบางประเภท เช่น ผนังตู้คอนเทนเนอร์ ห้องเครื่องยนต์เรือขนส่งสินค้า กล่องครอบลดเสียงดัง สำหรับมอเตอร์ หรือปั๊มน้ำ เป็นต้น สามารถใช้กันเสียงแบบชั่วคราว หรือกันเสียงที่ไม่ดังมากนัก ราคาไม่แพง หาซื้อง่าย
- ฉนวนยางสังเคราะห์ ผลิตจากยางสังเคราะห์ ข้อดี คือ กันน้ำ กันฝุ่น ไม่เป็นเชื้อรา
- แผ่นซับเสียง ผลิตจากขี้เลื่อย หรือวัสดุสังเคราะห์ นิยมนำมากรุผิวหน้า เพื่อป้องกันเสียงสะท้อน ส่วนใหญ่จะใช้ในห้องประชุม โรงแรม ข้อดี คือ มีสีมันให้เลือกหลากหลาย ป้องกันเสียงสะท้อนได้ดี มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย
ประโยชน์ของฉนวนกันเสียง
- ปรับระดับเสียงให้พอดี การเลือกใช้วัสดุกันเสียงรบกวนติดตั้งตามผนังในห้องที่มีการใช้เสียงดัง เช่น ห้องประชุม ห้องนั่งเล่น จะช่วยตกแต่ง และปรับระดับเสียงให้อยู่ในระดับพอดี เมื่อเสียงไม่ดังเกินไป ก็ทำให้ทุกคนสามารถพูดคุยได้ง่ายมากขึ้น
- สร้างพื้นที่ส่วนตัว บ้าน หรือห้องพักที่ผนังติดกับเพื่อนบ้าน คงต้องการความเป็นส่วนตัว การใช้วัสดุกันเสียง จะช่วยกันเสียงจากภายในห้องไม่ให้ออกไปข้างนอก รวมทั้งกันเสียงข้างนอกเข้ามาข้างในด้วย ทำให้สามารถสร้างพื้นที่ และบรรยากาศส่วนตัว ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
- ลดเสียงสะท้อน ห้องที่มีขนาดใหญ่ และเพดานสูง มักประสบปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อน การใช้วัสดุกันเสียง ฉนวนกันเสียง จะช่วยลดเสียงเหล่านี้ได้
- เพิ่มคุณภาพเสียง สำหรับบ้านที่ต้องการสร้างโฮมเธียเตอร์ ควรเลือกติดตั้งวัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทโฟมอะคูสติกไว้ภายในห้องนั้น เพื่อกันเสียงรบกวนจากภานนอก รวมทั้งปรับสภาพเสียงในการรับชมภาพยนตร์ที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ยังเหมาะแก่การติดตั้งในห้องอัดเสียง ห้องสมุด และห้องประชุม อีกด้วย
- ลดมลพิษทางเสียง วัสดุกันเสียงรบกวนจะช่วยกันเสียงไม่พึงประสงค์จากสภาพแวดล้อมภายนอกออกไป ซึ่งช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อประสาทการได้ยิน ทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงฟังเสียงที่ดังมากเกินไปได้ อีกทั้งยังลดปัญหาการนอนหลับ ความเครียด ความจำ อันอาจเกิดจากเสียงรบกวนต่าง ๆ ได้
วิธีติดตั้งฉนวนกันเสียง ทำได้อย่างไร?
- วัดพื้นที่ บริเวณที่ต้องการติดตั้งฉนวนเสียง คำนวณหาจำนวนของแผ่นฉนวนที่ต้องใช้
- ทำความสะอาดพื้นที่บริเวณที่จะติดตั้ง โดยขจัดฝุ่น และคราบน้ำมันที่ติดอยู่ออกให้หมด
- เตรียมฉนวนกันเสียง โดยทากาวบริเวณด้านหลังของแผ่น ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที
- ทากาวที่ผนัง ให้ทั่วบริเวณที่จะติดตั้ง ทิ้งไว้หมาด ๆ ประมาณ 5-10 นาที
- นำแผ่นฉนวนกันเสียงที่ทากาวแล้ว มาติดตั้งเข้ากับผนังที่เตรียมไว้ จนเต็มพื้นที่ผนัง
- ตรวจสอบความเรียบร้อย พร้อมเก็บรายละเอียดของงาน เสร็จเรียบร้อย
ป้องกันเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้าน ได้อย่างไร?
สำหรับทาวน์โฮม ตึกแถว หรือคอนโด ที่ต้องใช้ผนังร่วมกับเพื่อนบ้าน วิธีป้องกัน และลดเสียงรบกวน คือ
- ป้องกันเสียงรบกวนลอดตามรอยต่อปลั๊กไฟบนผนังที่ใช้ร่วมกัน หากปลั๊กไฟของเรากับเพื่อนบ้านอยู่ตรงกัน ให้ย้ายปลั๊กไฟของเราไปไว้ตำแหน่งอื่นแทน
- ป้องกันเสียงรบกวนลดเสียงลอดผ่านช่องว่างผนังเหนือฝ้าเพดาน หากเปิดฝ้าเพดาน แล้วพบว่า มีช่องว่างดังกล่าว ให้ก่ออิฐ หรือใช้ผนังเบาปิดช่องว่างระหว่างผนังกับใต้ท้องคานให้เรียบร้อย
- ป้องกันเสียงรบกวนจากการปิดประตูหน้าต่างแรง ๆ หรือเปิดเพลงเสียงดัง ควรเจรจาขอความร่วมมือกับเพื่อนบ้านเท่าที่ทำได้ ในส่วนของบ้านเรานั้นอาจทำการ ซีลขอบยาง ประตู-หน้าต่าง ให้แนบสนิท เพื่อช่วยลดแรงกระแทก เวลาเปิด-ปิด ไม่ให้ไปรบกวนเพื่อนบ้าน
- ป้องกันเสียงรบกวนด้วยการเพิ่มค่าการกันเสียงของผนัง คือ ขณะเสียงเดินทางผ่านอากาศ หากมีวัสดุมากั้น เสียงที่ทะลุผ่านวัสดุไปจะเบาลง เช่น ผนังอิฐอาจก่อซ้อนเพิ่มอีกชั้น หรือทำผนังโครงเบาติดทับ โดยสามารถนำวัสดุที่มีค่า STC สูง อย่างฉนวนกันเสียง มาซ่อนในโครงผนังเบา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียงได้ด้วย จะใช้วางเหนือฝ้าเพดาน เพื่อป้องกันเสียงจากเพดานก็ได้ สามารถช่วยลดทั้งเสียงรบกวนที่เดินทางผ่านอากาศ และลดแรงสั่นสะเทือน ที่ผ่านโครงสร้าง จึงเหมาะในการป้องกันเสียงรบกวนผ่านผนัง ที่ต้องใช้ร่วมกับเพื่อนบ้าน
จะเห็นได้ว่า ฉนวนกันเสียง เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ ในการสร้างบ้าน หรือห้องที่ต้องใช้เสียงดัง ๆ เพื่อให้อาคาร หรือบ้านที่สร้างออกมาปราศจากเสียงรบกวน อย่างไรก็ตาม ก่อนการติดตั้งควรที่จะวางแผน ศึกษาหาข้อมูล และขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงโดยตรง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างดีที่สุด บทความหน้าจะมีอะไรดี ๆ มาฝากกันอีกนั้น อย่าลืม ติดตามกันเหมือนเดิมนะจ๊ะ
บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ:
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก: scghome.com, m-pe.com, ฉนวนกันเสียง.com