ผ้าม่าน อุปกรณ์แต่งบ้านที่แทบทุกบ้านจะต้องมี นอกเหนือจากหน้าที่หลักของม่านที่ช่วยปกป้องแสงแดด และช่วยให้ความเป็นส่วนตัวแล้ว ผ้าม่านยังช่วยสร้างบรรยากาศแบบต่าง ๆ ได้ ช่วยสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้บ้านอีกด้วย บทความนี้ KACHA จะพาไปดู วิธีติดผ้าม่าน ได้อย่างไร? และใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง?
การเลือกผ้าม่าน ให้เหมาะกับห้องทำได้อย่างไร?
ผ้าม่านในปัจจุบัน มีหลากสีสัน หลายขนาด และมีแพทเทิร์นแตกต่างกัน จนบางครั้งผู้ใช้งานมักเกิดความสับสนว่าแต่ละพื้นที่ควรต้องเลือกใช้ผ้าม่านแบบใด และจะสามารถเลือก รูปแบบผ้าม่าน ชนิดของผ้าม่าน ให้ตรงกับความต้องการได้อย่างไร การเลือก และวัดขนาดผ้าม่านนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ดังนี้
- ศึกษาผัง และภาพรวมของห้อง เพื่อให้ผ้าม่านที่เลือกมีความกลมกลืน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับบรรยากาศภายในห้อง
- เข้าใจลักษณะการใช้งาน และความต้องการของผู้อยู่อาศัย เช่น หากผู้ใช้งานชื่นชอบความสะดวกสบาย สามารถใช้ผ้าม่านระบบมอเตอร์ ที่ช่วยควบคุมการเปิด-ปิดของม่านได้ หรือหากชอบความทึบแสง สามารถเลือกใช้ผ้าม่าน Black Out ตรงกันข้าม หากชอบความโปร่งแสง ควรเลือกเป็นม่านโปร่ง เป็นต้น รวมทั้งควรคำนึงเรื่องสัดส่วน พื้นที่ให้เหมาะสมกับความต้องการด้วยเช่นกัน
- วัดขนาด ความกว้าง-สูง ของขนาดหน้าต่าง ที่ต้องการติดตั้งผ้าม่าน ในกรณีที่ต้องการให้ม่านคลุมหน้าต่าง เพื่อลดแสงลอดจากด้านข้าง ควรเผื่อขนาดม่านด้านข้าง ส่วนด้านบน และด้านล่างของหน้าต่าง สามารถวัดเผื่อได้เช่นกัน เพราะนอกจากจะช่วยลดแสงลอดแล้ว ยังเผื่อไว้สำหรับระยะเก็บม่านได้ด้วย
- กรณีที่ต้องมีการใช้มือดึง เพื่อควบคุมการทำงานของผ้าม่าน ควรกำหนดด้านดึง ที่สะดวกต่อการใช้งาน เช่น ระบบโซ่ดึง ที่เลือกได้ทั้งด้านซ้าย และขวา โดยดูตามความเหมาะสม และทิศทางการเปิดรับทิวทัศน์จากภายนอก
- หลังจากที่เลือกคอนเซ็ปต์ผ้าม่านที่ต้องการแล้ว ให้มาลงรายละเอียดของสี ลวดลาย เนื้อผ้า ให้ได้ตามความสวยงามที่ต้องการ
สำหรับสิ่งที่ต้องคำนึงถึงใน การเลือกผ้าม่าน นั้น มีอยู่ 3 จุดหลัก ๆ ได้แก่ Function, Emotion และ Budget นั่นเอง
วิธีติดผ้าม่าน ทำได้อย่างไร?
ก่อนจะติดตั้ง ต้องทราบขนาดที่ถูกต้องของหน้าต่าง ซึ่งสำคัญต่อการเลือกผ้าม่านให้ออกมาสวยตรงใจ มี 5 ขั้นตอนง่าย ๆ เพื่อความง่ายดายและแม่นยำในการวัดขนาดหน้าต่าง
- วัดความสูงของขอบหน้าต่าง โดยเผื่อพื้นที่เหนือขอบหน้าต่าง 10 ซม. ไว้ติดราว รางม่าน หรือมู่ลี่
- วัดความกว้างของขอบหน้าต่าง โดยเผื่อพื้นที่ข้างขอบหน้าต่าง ด้านละ 10 ซม. เพื่อให้ได้ความกว้างของราว หรือรางม่านที่พอดี หากต้องการรูดม่าน ไม่ว่าจะเป็นม่านธรรมดา และม่านสไลด์ได้กว้างยิ่งขึ้น ให้เผื่อพื้นที่เพิ่ม
- วัดความกว้างของขอบหน้าต่างด้านใน หากต้องการติดมู่ลี่ด้านในขอบหน้าต่าง เพื่อให้มั่นใจว่ามู่ลี่ปิดหน้าต่างได้พอดี
- วัดความสูงของขอบหน้าต่างด้านใน เพื่อให้ทราบความยาวของมู่ลี่
- วัดความสูงของห้อง หากต้องการม่านแบบยาวจากพื้นจรดเพดาน ให้หักขนาดความสูงที่วัดได้ออก 5-10 ซม. สำหรับติดราว หรือรางม่า
การติดตั้งผ้าม่านสำเร็จรูป
ขั้นตอนที่ 1 มาร์คจุดเจาะรู เพื่อยึดขาจับราวม่าน และตะขอแขวน
|
ขั้นตอนที่ 2 เจาะรู และแขวนรางม่าน
เมื่อมาร์คจุดเจาะเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้สว่านเจาะรู จากนั้น ตอกพุกลงในรูที่เจาะไว้ให้ครบทุกจุด แล้วนำแขนจับราวผ้าม่านมายึดกับผนัง และขันสกรูวให้แน่นตามจุดให้ครบ |
ขั้นตอนที่ 3 แขวนม่าน นำม่านสำเร็จรูปที่เตรียมไว้ทั้ง 2 ผืนร้อยเข้าไปราวม่าน โดยหันหน้าผ้าออก และขันหัวราวปิดทั้ง 2 ด้าน จากนั้น นำราวที่สอดผ้าม่านเรียบร้อยแล้วขึ้นไปวางตรงขาจับราวม่านให้พอดี แล้วยกรางขึ้นเพื่อนำห่วงริมสุดของทั้ง 2 ข้างมาบังขาจับราง เพื่อล็อคไม่ให้ขอบม่านเคลื่อนเวลาเปิดปิด สุดท้ายหมุนน็อตล็อคราวม่านให้แน่นครบทุกจุด เป็นอันเสร็จเรียบร้อย |
สำหรับการติดตั้งผ้าม่านสามชั้น
สำหรับการติดตั้งม่านสามชั้น โดยใช้รางม่านแบบสองชั้น ชั้นแรกเป็นผ้าทึบประกบกับผ้า Lining Blackout ด้วยตีนตุ๊กแก ช่วยสะท้อนแสงแดด และป้องกันรังสียูวีได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนผ้าม่านโปร่งเป็นชั้นสุดท้าย
- เตรียมการติดตั้งโดยปูผ้ารอง และนำอุปกรณ์ทั้งหมดมาวางเรียง เพื่อให้หยิบใช้เฉพาะชิ้น ป้องกันคราบสกปรกหรือฝุ่นผงมาโดนผ้า
- วัดขนาดของราง โดยวัดให้ห่างจากวงกบด้านข้างและด้านบน ด้านละ 10 เซนติเมตร ป้องกันแสงที่ลอดจากด้านข้าง แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้างานด้วย เช่น หากมีพื้นที่เหลือจากขอบ 15 เซนติเมตร ก็ควรทำม่านเต็มพื้นที่ไปเลย เพื่อความสวยงาม
- เจาะรูสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ พร้อมกับดูดฝุ่นไปด้วย เพื่อไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย
- ในท้องตลาดมีอุปกรณ์รางม่านสองชั้นให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งรางเอ็ม (M) และรางไมโคร ส่วนใหญ่จะเลือกใช้เป็นชนิดราง ไมโคร ทำจากอะลูมิเนียมชั้นดีชนิดหนา ไม่เกิดสนิม ตัวเกี่ยวรางม่านเลื่อนแบบโค้ง เมื่อปิดม่านผ้าจะเกยกันนิดหน่อย ช่วยป้องกันแสงแดดลอดเข้ามา
- ติดตะขอเกี่ยวให้พร้อมสำหรับการติดตั้ง ส่วนม่านเป็นการใช้ผ้าทึบกับผ้า Lining Blackout มาประกบติดกันด้วยตีนตุ๊กแก หากต้องการเปลี่ยนผ้า ก็ดึงออกได้ง่าย เปลี่ยนใหม่สะดวก ที่สำคัญหัวผ้าม่านจะมีป้ายบอกชื่อ ขนาดของผ้า รุ่นของผ้าที่ใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ หากต้องการเปลี่ยนผ้าเฉพาะชิ้นก็สะดวกไม่ยุ่งยาก
- เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ช่างจะใช้เครื่องรีดผ้าไอน้ำรีดม่านให้เรียบ และจับจีบให้เข้ารูป
เคล็ดลับ :
- ตัวสไลซ์หัวรางต้องติดตั้งให้เกยกันข้างละ 10 เซนติเมตร เพื่อกันแสงแดดลอดเข้ามา
- ผ้าม่านโปร่ง (Sheer) มีทั้งแบบมีลาย และไม่มีลาย ผ้าหน้ากว้าง 3 เมตรไม่มีรอยต่อ โซ่ถ่วงม่านโปร่งจะเป็นชนิดเล็กพิเศษ น้ำหนักเบา ผ้าประเภทนี้ จะช่วยกรองแสงในชั้นสุดท้าย
- ราคาของผ้าม่านขึ้นอยู่กับการเลือกประเภทของผ้า เพราะราคาของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในท้องตลาดไม่ค่อยต่างกันเท่าไร เช่น บานประตูเลื่อน ขนาด 3.60x 20 เซนติเมตร ประเมินราคาคร่าว ๆ อยู่ที่ 8,000-12,000 บาท ในส่วนของผ้า จะคิดราคาต่อหลา ค่าเย็บ และตัวราง คิดเป็นเมตร ส่วนอุปกรณ์ราง เช่น ก้านจูง ตะขอ คิดเป็นชิ้น
- การทำความสะอาดผ้าม่าน แนะนำให้ใช้การดูดฝุ่นเพียงอย่างเดียว เนื่องจากผ้าม่านไม่ได้โดนฝุ่น หรือเหงื่อแบบเสื้อผ้า และการซัก จะทำให้ผ้าเสียรูปทรง หากกลัวเรื่องกลิ่นอับ แนะนำให้ดูดฝุ่นเป็นประจำ และฉีดสเปรย์น้ำยาทำความสะอาดผ้าแทน
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ วิธีติดผ้าม่าน ที่เรานำมาฝากกัน การเลือกผ้าม่านเพื่อใช้งานนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของบ้านเอง และควรเลือกใช้ให้เหมาะสมด้วย เพื่อการใช้งานที่ยาวนานนั่นเอง ☺️
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เลือกดูสินค้า กล่องใส่อะไหล่ ชั้นวางเครื่องมือช่าง คลิกเลย ????????