วิธีใช้รอกยกของ ข้อควรระวัง และการใช้งาน มีอะไรบ้าง?
รอก อีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้เป็นตัวช่วยยกของ เคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ ในงานก่อสร้าง โดยรอกมีหลากหลายแบบ เช่น รอกโซ่มือสาว รอกไฟฟ้า รอกลม รอกวิ่ง และรอกสลิง แต่ละแบบก็ใช้งานแตกต่างกัน บทความนี้ KACHA จะพาไปดู วิธีใช้รอกยกของ ว่าจะสามารถทำได้อย่างไร? และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง?
ประเภทของรอก มีแบบไหนบ้าง?
รอกนั้น เป็นเครื่องจักรที่ช่วยในการผ่อนแรง เคลื่อนย้าย ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก สามารถยกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน มีทั้งชนิดที่เป็นโซ่ และเป็นลวดสลิง
-
รอกไฟฟ้า
ทำงานด้วยระบบมอเตอร์ ไม่ต้องใช้กำลังคน สามารถยกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน แบ่งประเภทตามการใช้งานได้ ดังนี้
- รอกสลิงไฟฟ้า เหมาะสำหรับงานยก เคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมาก สามารถเคลื่อนย้ายได้ทั้งแบบ 2 ทิศทาง (ขึ้น-ลง) และแบบ 4 ทิศทาง (ขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา) นิยมใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ต้องการยก เคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมาก
- รอกโซ่ไฟฟ้า เหมาะสำหรับการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักเบา เป็นรอกที่ดัดแปลงมาจากรอกแบบเดิมที่ใช้มือดึงนั่นเอง ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรใช้งานรอกโซ่ไฟฟ้ายกของที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่รอกโซ่ไฟฟ้าจะรับได้ ควรเลือกรอกให้เหมาะสมกับน้ำหนักของสิ่งของด้วย
- รอกวิ่งไฟฟ้า เป็นรอกอีกหนึ่งชนิด ที่ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนย้ายสินค้า ในแนวราบทิศทางเดียว เช่น การเคลื่อนที่จาก ซ้ายไปขวา รอกชนิดนี้ จะติดตั้ง และทำงานร่วมกันกับ โครงติดรอกยกของ และใช้ร่วมกับ รอกสลิงไฟฟ้า และรอกโซ่ไฟฟ้าได้
-
รอกโซ่มือสาว
เป็นรอกมือ สามารถติดตั้งใช้งานได้ทันทีโดยไม่ใช้ไฟฟ้า มีระบบเกียร์ ฟันเฟืองภายในเสริมแรงมือในการชักรอก ช่วยให้ยกของได้ง่ายขึ้น ความยาวที่นิยมใช้ คือ 3 เมตร แต่ไม่ควรเกิน 6 เมตร เหมาะสำหรับใช้งานยกแบบชั่วคราว
-
รอกลม
เป็นรอกที่ใช้ระบบแรงลมในการขับเคลื่อนแทนการใช้ไฟฟ้า และสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องได้ นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี หรือที่ที่มีวัตถุไวไฟ สามารถเคลื่อนย้ายได้ทั้งแบบ 2 ทิศทาง (ขึ้น-ลง) และแบบ 4 ทิศทาง (ขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา)
สินค้าแนะนำจาก KACHA
รอกไฟฟ้า รอกโซ่ รอกยกของ รอกสลิง มีทั้งแบบ มือสาว และรอกไฟฟ้า ติดตั้งง่าย แข็งแรงทนทาน ปลอดภัย ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับการใช้งานหลากหลาย
วิธีใช้รอกยกของ ทำได้อย่างไร?
สำหรับการใช้งานรอกนั้น มีข้อควรระวัง และข้อควรปฏิบัติ เพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัย ดังนี้
- เมื่อต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ทำงาน ควรสวมใส่อุปกรณ์ เพื่อป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น หมวกนิรภัย หมวกกันกระแทก Bump Cap รวมถึงต้องใส่รองเท้านิรภัยทุกครั้ง เมื่อเข้าไปปฎิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ
- เลือกขนาดรอกไฟฟ้าให้เหมาะกับน้ำหนักของวัสดุที่จะใช้ยกสิ่งของ อย่าใช้รอกยกสิ่งของที่หนักกว่าที่ป้ายบอกกำลังของรอก
- ผู้ใช้งานรอกไฟฟ้า ต้องอ่านคู่มือปฏิบัติงาน และเอกสารประกอบการใช้งานรอกไฟฟ้าอย่างละเอียด เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างของรอกไฟฟ้าก่อนการใช้งาน
- เช็คส่วนประกอบของรอกไฟฟ้าทุกส่วน ว่าถูกประกอบอย่างครบถ้วน และมีการติดตั้งสวิตช์อย่างถูกต้องแล้วหรือไม่
- ตรวจสอบความพร้อมของรอกไฟฟ้า รอกโซ่มือสาว เช่น เกียร์ ตะขอเกี่ยวต้องรัดแน่น โซ่ หรือลวดสลิงต้องไม่ชำรุดปุ่มบังคับ เป็นต้น
- ควรผูกยึดวัสดุด้วยโซ่อีกเส้นหนึ่ง อย่านำโซ่จากรอกโซ่ไฟฟ้าไปผูกวัสดุโดยตรง อย่าใช้เชือกผูกวัสดุแทนโซ่ เพราะอาจทำให้เชือกขาด วัสดุหล่นมาได้
- เมื่อผูกรอกโซ่ไฟฟ้า รอกสลิงไฟฟ้า รอกโซ่มือสาวแล้ว ให้ทดลองยกวัสดุ เพื่อตรวจเช็คสภาพของรอกก่อน
- ในขณะกำลังยกวัสดุด้วยรอกไฟฟ้า ห้ามบุคคลอื่น ๆ ยืนอยู่ใต้วัสดุที่ยกเด็ดขาด รวมถึงตัวผู้ยกเองด้วย
- เมื่อยกของไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ก่อนจะวางลง ค่อย ๆ หย่อนของลงอย่างช้า ๆ ในช่วงที่จะเอาของลง เพื่อป้องกันอันตราย
- หลังใช้งานเสร็จ ต้องจัดเก็บรอกโซ่ไฟฟ้าอย่างถูกวิธีด้วย
ข้อควรระวัง และวิธีบำรุงรักษารอกไฟฟ้า และรอกโซ่มือสาว
- ตรวจเช็กอุปกรณ์ ชิ้นส่วนของรอกก่อนใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หากเกิดความเสียหาย หรือชำรุด ไม่ควรนำมาใช้งาน
- ห้ามใช้รอกโซ่ไฟฟ้า รอกโซ่มือสาว ยกของที่มี น้ำหนักเกิน กว่าที่ระบุไว้ในตัวเครื่อง
- อย่าใช้รอกในการยกคน และห้ามขึ้นไปบนรอก ขณะที่รอกกำลังทำงานอยู่
- เมื่อใช้รอกไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว อย่าลืม ตัดแหล่งจ่ายไฟทุกครั้ง และจัดเก็บรอกโซ่ให้ถูกวิธี ด้วยการม้วนโซ่ให้เป็นระเบียบ
- ไม่ควรดัดแปลง แก้ไข ชิ้นส่วนต่าง ๆ ด้วยตนเอง หากชำรุด หรือเสียหาย ควรส่งให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
- เช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าแห้ง หากมีคราบสกปรก หรือฝุ่นเกาะ
- เลือกน้ำมันหล่อลื่น หรือน้ำมันเกียร์ที่ได้คุณภาพ จะช่วยลดแรงเสียดทาน ยืดอายุการใช้งาน และช่วยป้องกันสนิม
- คอยตรวจสอบ และสังเกตน้ำมันเกียร์อยู่เสมอว่าเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ ไม่ควรปล่อยให้แห้ง
- หากใช้งานรอกไฟฟ้ากลางแจ้ง ควรติดตั้งอุปกรณ์กันฝน เพื่อป้องกันน้ำไม่ให้เข้าไปในชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อป้องกันสนิม
เป็นอย่างไรกันบ้าง วิธีใช้รอกยกของ ที่เรานำมาฝากกัน บอกเลยว่า การใช้งานรอกนั้น จะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก และที่สำคัญ ควรใช้งานให้เหมาะสม และถูกประเภทด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อบุคคล และสิ่งของด้วย บทความหน้าจะมีอะไรดี ๆ มาฝากอีก อย่าลืมติดตามกันด้วย
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รอก คืออะไร? แยกได้กี่ประเภท?
- รู้จัก “เครื่องทุ่นแรง” ตัวช่วยสำคัญในการยกของหนัก มีแบบไหนบ้าง?
- รถยก คืออะไร? มีกี่ประเภท? นิยมใช้งานแบบไหน?
- พาไปรู้จักกับ “รถเฮี๊ยบ” คืออะไร? เหมาะกับการใช้งานอะไรบ้าง?
- ประเภทของ “เครน” เลือกใช้งานให้เหมาะสม!
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ หากคุณกำลังมองหา ผู้รับเหมา ออกแบบก่อสร้างโรงงาน โกดังสินค้าต่าง ๆ บริษัทของเรา มีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ อย่างแน่นอน เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย