วิธีใช้ไขควง เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน
อัพเดตเมื่อ 10 มกราคม 2025
วิธีใช้ไขควง เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน
ไขควง (Screw driver) อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับขันแน่น หรือคลายสกรูด้วยมือ ส่วนของปลาย มีลักษณะเป็นสกรู ด้ามไขควงเป็นฉนวนสำหรับจับ โดยจะมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อให้ใช้ได้กับสกรูชนิดต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายในงานอุตสาหกรรม วิธีใช้ไขควง เป็นแบบไหน วิธีเลือกไขควงให้เหมาะกับงาน จะทำได้อย่างไร ตามไปดูกัน
วิธีเลือกไขควง
การเลือกไขควงที่ถูกต้อง จะต้องเลือกขนาดของไขควงให้ตรงกับเบอร์ หรือขนาดของสกรู โดยเลือกขนาดไขควงที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของสกรูเพียงเล็กน้อย หากขนาดไม่พอดี ให้ลองเลือกขนาดไขควงที่เล็กลงกว่าอันแรก เมื่อได้ขนาดไที่พอดีกับขนาดสกรูแล้ว ก็สามารถใช้ขันได้ทันที หากเลือกไขควงที่มีขนาดเล็กกว่าร่องของหัวสกรูมากเกินไป จะทำให้หัวสกรูเสียหายระหว่างขันเข้า หรือคลายออกนั่นเอง
โดยไขควง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- ไขควงทั่วไป มีแกนอยู่ตรงกึ่งกลางของด้ามจับ มีทั้งแบบที่ยึดระหว่างด้ามกับไขควงแบบถาวร และแบบที่ถอดเปลี่ยนปลายไขควงได้ตามการใช้งาน
- ชนิดด้ามทะลุ มีแกนทะลุผ่านด้ามจับ สามารถใช้ค้อนตอกที่ปลายด้าม เพื่อเพิ่มแรงในการคลายสกรูที่ขันแน่น หรือสกรูที่ขึ้นสนิมนั่นเอง
ขนาดไขควง ที่นิยมใช้กันทั่วไป มีดังนี้
- ไขควงหัวแบน (Slotted) : 7/32″, 1/4″, 5/16″
- ไขควงหัวแฉก (Phillips) : PH1, PH2
- ไขควงหัวดาว (TORX®) : T10, T15, T20, T25
วิธีใช้ไขควง
วิธีใช้ไขควง เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสียหายกับวัสดุ ควรเลือกไขควงที่ถูกต้องกับงานด้วย โดยวิธีใช้ไขควง ทำได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เลือกไขควง กับงานที่ใช้
ขั้นตอนที่ 1 เลือกไขควง กับงานที่ใช้
- เลือกชนิดของสกรูที่ใช้กับไขควง และเลือกไขควงให้เหมาะกับงาน เช่น สกรูหัวแฉก ใช้ไขควงหัวแฉก สกรูหัวแบน ใช้ไขควงหัวแบน เป็นต้น งานในพื้นที่จำกัด ให้ใช้ไขควง ก้านสั้น และงานที่ต้องการความแน่น หรือไขลึกเข้าไปในผนัง ให้ใช้ไขควง ก้านยาว
คำแนะนำ: อย่าลืมเลือกวัสดุที่จับให้เหมาะด้วย เช่น ด้ามจับแบบนุ่ม จะลดความเมื่อยล้าของมือระหว่างใช้งานเป็นเวลานานได้ ส่วนงานที่ไม่หนักมาก ใช้สกรูไม่กี่ตัว เลือกด้ามจับพลาสติก จะช่วยควบคุมได้ดีกว่า
ขั้นตอนที่ 2 วางตำแหน่งกรูที่จะขัน
ขั้นตอนที่ 2 วางตำแหน่งกรูที่จะขัน
- วางสกรูในตำแหน่งที่ต้องการไข จากนั้นวางปลายไขควงในหัวสกรู กดไขควงลงบนหัวสกรู เพื่อเตรียมขัน
คำแนะนำ: สำหรับงานไม้ ที่ไม่มีการเจาะรูนำร่อง การขันสกรู จำเป็นต้องใช้มืออีกด้านจับตัวสกรู แล้วขันสกรูเข้าไป เพื่อไม่ให้สกรูเกิดการหลุดออกจากตำแหน่ง แต่ถ้ามีการเจาะนำร่องอยู่แล้ว ก็จะง่ายต่อการขันสกรูนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 3 ขันไขควง
ขั้นตอนที่ 3 ขันไขควง
- ถือไขควงให้ปลายหัวไขควงตรงกับหัวสกรู เพื่อไม่ให้หัวสกรูเกิดการเยิน จากนั้นออกแรงหมุนไขควงไปทางขวา (ตามเข็มนาฬิกา) จนสกรูจมลงวัสดุที่กำลังไขอยู่จนแน่น
คำแนะนำ: สำหรับวิธีคลายสกรูออก ให้หมุนไขควงไปทางซ้าย (หมุนทวนเข็มนาฬิกา) จนสกรูคลายออกจากชิ้นงาน
DID YOU KNOW?
ข้อห้ามในการใช้งานไขควง ที่ควรรู้
- การใช้ไขควงด้วยมือเดียว จะทำให้ก้านไขควงเกิดการขยับ ไม่มั่นคง ทำให้ไม่สามารถขันสกรูให้แน่น ทำให้สกรูเกิดการคลายตัวได้ ดังนั้น การขันสกรูที่ถูกต้อง ต้องใช้มือทั้ง 2 ข้างในการขัน โดยเฉพาะการขันในขั้นตอนสุดท้าย
- ห้ามใช้ไขควงธรรมดาในการขันวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านโดยเด็ดขาด เพราะด้ามจับไขควงธรรมดาไม่ใช่วัสดุฉนวน อาจทำให้อันตรายต่อชีวิตได้ หากต้องการใช้ในงานไฟฟ้า ต้องเลือกใช้ไขควงหุ้มฉนวนกันไฟฟ้าเท่านั้น
ก้านไขควง ปากไขควง เป็นแบบไหน?
- ก้านไขควง มีทั้งก้านกลม และก้านเหลี่ยม โดยไขควงก้านกลม ใช้สำหรับงานเบา และไขควงก้านเหลี่ยม เหมาะสำหรับงานหนัก เพราะสามารถใช้ประแจ หรือคีมจับที่ก้านไขควงเพื่อเพิ่มแรงบิดได้
- ปลายปากไขควง ใช้สวมเข้าไปยังร่องของหัวสกรู หรือสลักเกลียวที่ต้องทำการถอด มี 2 แบบ คือ
1) ไขควงปากแบน โดยความยาว ความกว้างปากไขควง ถูกกำหนดตามมาตรฐาน JIS เช่น ไขควงขนาด 4.5 x 50 mm หรือ 6 x 100 mm เป็นต้น
2) ไขควงปากแฉก ขนาดของไขควงจะระบุตามเบอร์ไขควง มีตั้งแต่เบอร์ 1-4 ออกแบบเพื่อใช้กับสกรูหัวผ่าไขว้กัน สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องเลือกใช้ไขควงที่ปากแนบสนิทกับร่องผ่าบนหัวสกรูด้วย
ได้รู้จักกับ วิธีซื้อไขควง วิธีใช้ไขควง กันไปแล้ว ก่อนนำไปใช้งาน อย่าลืมเลือกใช้ให้เหมาะกับงานกันด้วย หากใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์งานช่าง สินค้าเครื่องมือช่างต่าง ๆ ที่ KACHA มีสินค้าช่างจัดจำหน่าย สินค้าทุกชิ้นมีคุณภาพได้มาตรฐาน สำหรับอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน พร้อมจัดส่งสินค้าทั่วประเทศ บริการที่ประทับใจแน่นอน