“สวิตซ์ไฟ” คืออะไร? เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม
หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับ สวิตซ์ไฟ กันอยู่แล้วใช่ไหม เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องมีทุกบ้าน ในบทความนี้ KACHA อยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า มันคืออะไร? มีกี่ประเภท และการใช้งานเป็นแบบไหน ตามไปดูกันเลยดีกว่า
สวิตซ์ไฟ คืออะไร?
สวิตช์ไฟ (Switch) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ควบคุมวงจรกระแสไฟฟ้า ทำหน้าที่เปิดกระแสไฟ หรือตัดกระแสไฟ ไม่ให้ไหลเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดไฟ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า และสวิตช์ไฟ ถูกออกแบบมาให้ติดตั้งได้ง่าย ใช้งานง่าย สามารถตอบสนองความต้องการได้รวดเร็ว เพียงแค่สัมผัส ส่วนใหญ่ผลิตจาก พลาสติกที่ทนความร้อน มีหลายดีไซน์ให้เลือกใช้งานตามความต้องการ
สวิตช์ จะมีอุปกรณ์ภายใน เรียกว่า หน้าสัมผัส ทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า คล้าย ๆ สะพานไฟ เมื่อกดเปิดสวิตช์ หน้าสัมผัสของสวิตช์ จะเชื่อมต่อกัน ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลในวงจร และเมื่อกดปิด หน้าสัมผัสจะไม่เชื่อมกัน กระแสไฟฟ้า จึงไม่สามารถไหลในวงจรได้นั่นเอง
สวิตซ์ไฟ มีกี่ประเภท?
สวิตช์จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป การออกแบบของสวิตช์ไฟแต่ละประเภทนั้น เพื่อการใช้งานที่สะดวก และเหมาะสมกับการใช้งานให้ใช้งานง่าย ติดตั้งง่าย เพื่อการใช้ชีวิตประจำวันสะดวกมากขึ้น โดยประเภทของสวิตช์ มีดังนี้
สวิตซ์แบบกระดก
สวิตช์กระดก เป็นสวิตช์ที่เจอบ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน นิยมใช้กับการ เปิด-ปิด หลอดไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ และปลั๊กพ่วง เป็นต้น ใช้งานโดยการกด เมื่อต้องการเปิดสวิตช์ ให้กดด้านที่ระบุว่าเป็นการเปิดสวิตช์ลง ส่วนอีกด้านจะกระดกขึ้น โดยส่วนใหญ่ จะมีตัวอักษรระบุการทำงานบนตัวสวิตช์ เช่น เปิด-ปิด หรือ ON-OFF
สวิตซ์แบบเลื่อน
สวิตช์แบบเลื่อน จะพบบ่อยในการใช้ สำหรับไฟฉาย นาฬิกาปลุก เม้าส์แบบบลูทูธ หรือของเล่นเด็ก เพื่อใช้เปิด-ปิดอุปกรณ์ มีลักษณะเป็นก้านสวิตช์ที่ยื่นออกมา โดยจะควบคุมได้โดยการผลัก หรือเลื่อนตัวสวิตช์ หากสวิตช์ถูกเลื่อนขึ้น จะเป็นการต่อสวิตช์ (ON) หากสวิตช์ถูกเลื่อนลงจะเป็นการตัด (OFF) นั่นเอง
สวิตซ์แบบกด
สวิตช์กด เป็นสวิตช์ที่พบได้บ่อยใน คอมพิวเตอร์ CPU (Central Processing Unit) โทรทัศน์ และวิทยุ เป็นต้น เป็นปุ่มที่ใช้งานเปิด-ปิดในปุ่มเดียวกัน โดยการทำงานของสวิตซ์ประเภทนี้ คือ กดปุ่มที่อยู่ส่วนกลางสวิตช์ กดปุ่มสวิตช์หนึ่งครั้งสวิตช์ต่อ (ON) และเมื่อกดปุ่มสวิตช์อีกหนึ่งครั้งสวิตช์ตัด (OFF) หรือสวิตช์แบบกดบางประเภท อาจเป็นชนิดกดติดปล่อยดับ (Momentary) คือ ขณะกดปุ่มสวิตช์เป็นการต่อ (ON) เมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มสวิตช์เป็นการตัด (OFF) ทันที
สวิตซ์แบบก้านยาว
สวิตช์แบบก้านยาว เป็นสวิตช์ที่ใช้งาน โดยการ โยกตัวก้านขึ้นบน หรือลงล่าง เพื่อควบคุมตัดต่อสวิตช์ ในการโยกก้านสวิตช์ขึ้น จะเป็นการต่อ (ON) และโยกก้านสวิตช์ลง จะเป็นการตัด (OFF) นั่นเอง
สวิตซ์แบบหมุน
สวิตช์แบบหมุน หรือ สวิตช์เลือกค่า เป็นสวิตช์ที่ประหยัดที่สุดในการเปลี่ยนแรงไฟฟ้า การทำงานของสวิตช์ คือ ต้องหมุนก้านสวิตช์ไปโดยรอบเป็นวงกลม สามารถเลือกตำแหน่งการตัดต่อได้หลายตำแหน่ง มีหน้าสัมผัสสวิตช์ให้เลือกต่อมากหลายตำแหน่ง เช่น 2, 3, 4 หรือ 5 ตำแหน่ง เป็นต้น
สวิตซ์แบบไมโคร
สวิตช์แบบไมโคร เป็นสวิตช์ชนิดที่กดแล้วติด ปล่อยแล้วดับ ที่สามารถใช้แรงจำนวนน้อย ๆ กดปุ่มสวิตช์ได้ มีด้วยกันหลายแบบ เช่น ปุ่มกดเฉย ๆ หรืออาจมีก้านแบบโยกได้ มากดปุ่มสวิตช์อีกที การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดย กดปุ่มสวิตช์ หรือกดก้านคันโยกเป็นการต่อ (ON) และเมื่อปล่อยมือออกจากปุ่ม หรือก้านคันโยกเป็นการตัด (OFF) นั่นเอง
สวิตซ์แบบดิพ
สวิตช์แบบดิพ เป็นสวิตช์ขนาดเล็กใช้งานร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นในรูปชิพ (Chip) หรือใช้งานกับไอซี (IC = Integrated Circuit) สามารถตัด หรือต่อวงจรได้ การควบคุมตัดต่อสวิตช์แบบดิพ จะต้องใช้ปลายมปากกา หรือปลายดินสอ ในการปรับเลื่อนสวิตช์ มักถูกติดตั้งบนแผ่นวงจรพิมพ์ ใช้กับกระแสไม่เกิน 30mA ที่แรงดัน 30VD เช่น มักจะใช้กับรีโมทประตูอัติโนมัติ ประตูอัติโนมัติ เป็นต้น
วิธีบำรุงรักษาสวิทช์ไฟ
- ระวัง อย่าให้สวิตซ์ไฟ อยู่ใกล้ความชื้น และที่ที่มีน้ำ
- ตรวจสอบการใช้งานของสวิตซ์ไฟฟ้าเป็นประจำ
- ตำแหน่งการติดตั้งสวิตซ์ไฟ ควรให้อยู่ในระดับที่สูงพอประมาณ อย่าติดตั้งต่ำจนเกินไป ยกเว้นบางกรณี ที่ต้องใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด เพราะการติดตั้งในระดับที่เหมาะสม ช่วยให้การใช้งาน และซ่อมบำรุงง่ายขึ้น
- หากมีสวิตซ์ไฟชำรุดเสียหาย ให้รีบเปลี่ยนทันที เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
- ปิดสวิตซ์ไฟ เมื่อไม่ได้มีการใช้งานทุกครั้ง
- เลือกใช้ประเภทสวิตช์ไฟให้ถูก และตรงกับประเภทใช้งานด้วย
จบไปแล้วกับ สวิตช์ไฟ ที่เรานำมาฝากกันนอกจากนี้ สวิตช์ไฟฟ้า ยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันกับ เต้ารับด้วยนั่นเอง อย่างไรก็ตามก่อนเลือกไปใช้งาน อย่าลืมศึกษาวิธีการใช้งานให้ละเอียด และเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานด้วย เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้านนั่นเอง
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รู้หรือไม่ “เต้ารับไฟฟ้า” ทำไมต้องมีหลายสี แต่ละสีคืออะไร?
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน
- Checklist “เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน” ที่จำเป็น มีอะไรบ้าง?
- ช่างไฟฟ้า ความรู้เบื้องต้นที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง?
- ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คืออะไร? ช่วยประหยัดไฟจริงหรือ!
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th