“สีสายไฟ” แต่ละสี มีความหมายอย่างไรบ้าง?
การเลือกใช้ สายไฟ ให้เหมาะสมนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวผู้ใช้งานอย่างมาก เพราะการเลือกใช้สายไฟ โดยส่วนใหญ่จะต้องเป็นผู้ชำนาญการในการเลือกใช้ แต่ทั้งนี้ หลายคนคงยังไม่รู้ว่าสายไฟนั้นมีกี่สีกันนะ และวิธีการเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมด้วย
ตาม KACHA ไปทำความรูจักกับ สีสายไฟ ให้มากขึ้นกันดีกว่า
สายไฟฟ้า คือ วัสดุที่ประกอบไปด้วยธาตุโลหะที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้า และนำความร้อนได้ดี สามารถนำมาแปรรูปได้ตามต้องการได้ ซึ่งสายไฟแต่ละชนิด จะออกแบบแตกต่างกันตามโครงสร้าง และคุณสมบัติการใช้งาน เช่น
- สายที่ประกอบไปด้วยตัวนำไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
- สายที่ประกอบด้วยฉนวนหุ้มตัวนำไฟฟ้า
- สายที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้ม หรือชั้นป้องกันเสริม เป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน
ระบบส่งไฟ มีอะไรบ้าง?
1) ระบบไฟฟ้า 1 เฟส
เป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปตามบ้าน เป็นกระแสสลับระบบ 1 เฟส 2 สาย แรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยสายไฟ 2 สายที่ใช้ คือ
- สายที่ 1 คือ สายเคอร์เรนต์ (Current line) จะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
- สายที่ 2 คือ สายนิวทรัล (Neutral line) จะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
ยกตัวอย่าง เช่น ปลั๊กไฟตามบ้าน ที่มีช่องเสียบอยู่ 2 ช่อง ถ้าเอาไขควงวัดไฟลองวัดดู จะเห็นว่ามีช่องหนึ่ง จะมีไฟแดงปรากฏ ส่วนอีกช่อง จะไม่มีไฟแดงปรากฏ แสดงว่า ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สาย เพื่อให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร
สำหรับปลั๊กไฟ มี 3 ช่องนั้น ยังเป็นระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟสเหมือนกัน แต่ช่องที่เพิ่มขึ้นมานั้น เป็นช่องที่ต่อกับสายดิน (Ground) เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดินเวลาเกิดไฟรั่ว เป็นการเพิ่มความปลอดภัยนั่นเอง
2) ระบบไฟฟ้า 3 เฟส
เป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 4 สาย แรงดัน 380 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยที่ 3 สาย จะเป็นสายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยส่วนใหญ่ระบบไฟฟ้านี้ จะนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่าง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง
สำหรับการนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้ในบ้านนั้น จะต้องแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไปตามจุดต่าง ๆ ที่ต้องใช้ไฟฟ้า การกระจายจุดแบบนี้ ทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมาก เป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า เพราะการคิดอัตราค่าใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์-ชั่วโมง จะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า คือ ยิ่งมีการใช้ไฟฟ้ามาก จะยิ่งเสียค่าไฟฟ้ามาก ดังนั้น การกระจายการใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วน ทำให้การใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วน หรือแต่ละเฟสน้อยลง ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงนั่นเอง
เรียกได้ว่า ระบบไฟฟ้าทั้ง 2 แบบ สามารถนำมาใช้งานภายในบ้านได้เหมือนกัน โดยระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาว นิยมติดตั้งกับบ้าน หรืออาคารที่มีขนาดใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุด และปริมาณมากถึงจะคุ้มกว่า สำหรับบ้าน หรืออาคารที่มีขนาดเล็ก และใช้ไฟฟ้าไม่มาก ควรติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะคุ้มค่ากว่า
สีสายไฟ มีอะไรบ้าง?
ปัจจุบัน สีของสายไฟได้เปลี่ยนแปลงไปตามผลบังคับใช้ มอก.11-2553 ซึ่งต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดัน และชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐาน IEC code ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และร่วมถึงประเทศที่อยู่นี้กลุ่ม AEC ด้วย ให้เป็นในแนวทางเดียวกัน สร้างความเข้าใจให้ง่ายมากขึ้น ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- สีดำ (เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล) คือ ลวดความร้อน หรือลวดที่มีกระแสไฟฟ้า และนำพลังงานไปสู่วงจรทั้งหมด ส่วนใหญ่จะจ่ายไฟไปยังเต้าเสียบ หรือสวิตซ์ไฟฟ้า
- สีแดง (เปลี่ยนเป็นสีดำ) คือ ลวดความร้อนสายที่สอง สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น แอร์, เตาอบ, โทรทัศน์ เป็นต้น
- สีน้ำเงิน และสีเหลือง (เปลี่ยนเป็นสีเทา) คือ ลวดความร้อน ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเคลื่อนที่ ที่ใช้ปลั๊กทั่วไป เช่นพัดลม, โคมไฟ, เครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น
- สีขาว หรือสีเทา (เปลี่ยนเป็นสีฟ้า) คือ สายกลางที่จำเป็น สำหรับความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า
- สีเขียว คือ สายดิน ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าช็อตได้ ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟไหม้
สีสายไฟ ตามมาตรฐานของประเทศไทย
การทำงานของช่างไฟฟ้า และความปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก. 11-2553 และมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 (มาตรฐาน วสท. 022001-22) ได้กำหนดมาตรฐานสีของสายไฟฟ้า ในระบบ 1 เฟส 2 สาย และ ระบบ 3 เฟส 4 สาย ได้ดังนี้
โดยมาตรฐานฉบับใหม่กำหนดให้
- สายเส้นจ่ายไฟ (L) ใช้สีน้ำตาล สีดำ และสีเทา ตามลำดับ
- สายดิน เป็นสีเขียวแถบเหลือง (G)
- สายนิวทรัลเป็นสีฟ้า (N)
- สายแกนเดี่ยว ไม่กำหนดสี
- สาย 2 แกน สีฟ้า และน้ำตาล
- สาย 3 แกน สีเขียวแถบเหลือง สีฟ้า สีน้ำตาล หรือ สีน้ำตาล สีดำ สีเทา
- สาย 4 แกน สีเขียวแถบเหลือง สีน้ำตาล สีดำ สีเทา หรือ สีฟ้า สีน้ำตาล สีดำ สีเทา
- สาย 5 แกน สีเขียวแถบเหลือง สีฟ้า สีน้ำตาล สีดำ สีเทา
ซึ่งระบบ 1 เฟส และ 3 เฟส จะมีสีสายไฟ แตกต่างกันตามนี้
ระบบ 1 เฟส (220 V)
- สายเฟส (L) ฉนวนเป็น สีน้ำตาล
- สายนิวทรัล (N) ฉนวนเป็น สีฟ้า
- สายดิน (G) ฉนวนเป็น สีเขียวแถบเหลือง
ระบบ 3 เฟส (380 V)
- สายเฟส (L1) ฉนวนเป็น สีน้ำตาล
- สายเฟส (L2) ฉนวนเป็น สีดำ
- สายเฟส(L3) ฉนวนเป็น สีเทา
- สายนิวทรัล (N) ฉนวนเป็น สีฟ้า
- สายดิน (G) ฉนวนเป็น สีเขียวแถบเหลือง
จะเห็นได้ว่าสายไฟ มีคุณลักษณะหลากหลายประเภท การจะจำแนกแยะแยะสายไฟแต่ละประเภท ไม่วาจะเป็น สาย THW / สาย VCT / สาย CV หรือสายอื่น ๆ จะแยกเป็นสี เพื่อทำให้ง่ายต่อการทำงาน และมีความปลอดภัยสูงยิ่งกว่าการทำสัญลักษณ์ในรูปแบบอื่น ๆ หากต้องการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ควรให้ช่างหรือผู้เชี่ยวชาญระบบไฟฟ้าช่วยดูแลจะปลอดภัยมากกว่าทำเอง
เป็นอย่างไรกันบ้าง สีสายไฟฟ้าแต่ละสี ที่ใช้กันปัจจุบัน คงทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจสีสายไฟกันมากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยน ซ่อมแซม สายไฟ เลือกซื้อสายไฟ ด้วยตนเอง อาจทำให้เกิดอันตรายได้หากไม่มีความรู้ แนะนำให้ศึกษาหาข้อมูลติดตัวไว้ด้วย และให้ช่างผู้เชียวชาญเปลี่ยนให้ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- ทำความรู้จัก ท่อร้อยสายไฟ ดีอย่างไร? เดินท่อแบบไหนดีกว่ากัน
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน
- รู้จักกับ เครื่องปั่นไฟ ประโยชน์และการทำงานเป็นอย่างไร?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th