อุปกรณ์ในคลังสินค้า ที่จำเป็นต้องมี ควรมีอะไรบ้าง?
เจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการต่าง ๆ เมื่อได้ สร้างโกดัง โรงงาน คลังสินค้า แล้วนั้น สิ่งที่ต้องมีนั่นคือ อุปกรณ์ในคลังสินค้า ที่จำเป็นต้องมีในโกดัง เพื่อใช้ในการดำเนินการ และบริหารจัดการงานต่าง ๆ ในโกดัง โรงงาน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลาย ๆ อย่าง
บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ อุปกรณ์ในคลังสินค้า ว่าจะมีอะไรบ้าง แต่ละชิ้นใช้งานอย่างไร ไปดูพร้อม ๆ กันเลย
อุปกรณ์ในคลังสินค้า มีอะไรบ้าง?
ตามไปดูอุปกรณ์ สำหรับใช้ในคลังสินค้า โกดัง โรงงานต่าง ๆ ที่ควรมี มีดังนี้
อุปกรณ์เซฟตี้
อุปกรณ์เซฟตี้ เป็นไอเทมชิ้นสำคัญที่ทุก ๆ คลังสินค้าต้องมี เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ให้กับพนักงาน ให้ทำงานได้อย่างราบรื่น และปลอดภัย
- หมวกนิรภัย สำหรับป้องกันศีรษะจากสิ่งของที่อาจจะหล่นลงมา ช่วยป้องกันศีรษะกระแทกจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ด้วย
- ถุงมือถัก ที่ถักทอมาจากเส้นใย มีความหนาและยืดหยุ่น จะช่วยปกป้องมือจากของมีคม ลดอาการบาดเจ็บจากการยกของ ทั้งยังช่วยให้หยิบจับสิ่งของได้ถนัดมือ ไม่ลื่นหลุด ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้
- ที่ครอบหู ช่วยลดเสียงจากเครื่องจักรต่าง ๆ ในโกดัง และคลังสินค้า ช่วยลดอันตราย ช่วยบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับหูของพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่เสียงดังต่อเนื่องกันนานหลายชั่วโมง
- รองเท้านิรภัย เป็นอุปกรณ์นิรภัยพื้นฐานที่ควรมี ในทุก ๆ คลังสินค้า เพื่อปกป้องเท้าจากของมีคม ของมีน้ำหนัก น้ำมัน สารเคมี หรือไฟฟ้า และควรเลือกไซส์รองเท้าให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล จะได้สวมใส่อย่างคล่องตัว และทำงานได้คล่องแคล่วด้วย
- หน้ากากกรองคู่ ช่วยป้องกันฝุ่นละออง สารเคมี สารอันตรายอื่น ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศภายในโกดัง คลังสินค้าได้อีกด้วย ควรเลือกหน้ากากกรองคู่ ที่ผ่านมาตรฐาน NIOSH เพราะนอกจากจะช่วยกรองสารอันตรายในอากาศได้แล้ว ยังมีช่องช่วยระบายความร้อน ความชื้น ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น เหมาะกับการสวมใส่ทำงานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ ได้
อ่านบทความ: อุปกรณ์เซฟตี้ หรือ PPE ในงานก่อสร้างเป็นแบบไหนกัน?
รถโฟคลิฟท์ยกสินค้า
รถยก (Forklift) รถที่ใช้สำหรับยกและขนย้ายสินค้า เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นในคลังสินค้ามาก ๆ ช่วยลดเวลาการทำงาน รวมทั้งช่วยทุ่นแรงพนักงานในการยก และเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ที่อาจเกิดการบาดเจ็บ หริอเกิดอันตรายได้ โดยรวมแล้ว โฟล์คลิฟท์ทั่วไปที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 ประเภท คือ
- รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift) เหมาะกับทำงานในที่ร่ม ทำงานไม่หนักถึงขนาด 24 ชั่วโมง และต้องมีพนักงานคอยดูแลเรื่องการชาร์ตไฟในทุก ๆ วันหลังใช้งาน
- รถโฟล์คลิฟท์ดีเซล เหมาะสำหรับการทำงานในทุกสภาพการทำงาน ยกเว้นแต่เป็นสถานที่ ๆ ต้องการความสะอาด หรือรักษาสภาพแวดล้อมเป็นพิเศษจะไม่เหมาะ เนื่องจากโฟล์คลิฟท์ดีเซลมีเสียงดัง และเขม่าควันมาก
- รถโฟล์คลิฟท์แก๊ส LPG เหมาะการทำงานหนัก ๆ และต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนเชื้อเพลิง แต่ควรจะมีช่างซ่อมบำรุงไว้แก้ไขปัญหาจุกจิกที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งด้วย
อ่านบทความ: รถยก คืออะไร? มีกี่ประเภท? นิยมใช้งานแบบไหน?
สะพานลำเลียงสินค้า
อีกหนึ่งเครื่องทุ่นแรง สำหรับเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ มักใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง ในการเคลื่อนย้าย ขนย้านสินค้า แบ่งได้ตามวัสดุที่ใช้ทำสายพานลำเลียง 6 ประเภท คือ
- สายพาน PU เหมาะสำหรับลำเลียงทั่วไปในแนวราบ แนวเอียง และลำเลียงอาหาร ทนสภาพเปียกชื้นตลอดเวลา ปราศจากสารปนเปื้อน
- สายพาน PVC ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป ทนความร้อนได้ไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส ทนสารเคมีได้พอสมควร ราคาถูก ใช้สำหรับลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา นิยมนำมาใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร
- สายพานลำเลียงโวลต้า มีผิวลื่น ทำความสะอาดได้ง่าย ป้องกันแบคทีเรีย มีความหนาตั้งแต่ 0.3-0.6 มิลลิเมตร ใช้ลำเลียงวัสดุที่เปียก เช่น อาหารทะเล เป็นต้น
- สายพานลำเลียงยางดำ เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมหนัก ๆ ประเภทโรงโม่หิน โรงหลอมโลหะ และอุตสาหกรรมกระจก
- สายพานตะแกรง เหมาะสำหรับลำเลียงวัตถุที่มีอุณหภูมิสูง และใช้เป็นตะแกรงแบบที่เป็นสแตนเลสจะสามารถใช้ลำเลียงอาหารได้ด้วย โดยจะลำเลียงผ่านความร้อน เข้าเตาอบ หรือออกจากเตาทอด เพื่อคัดเลือกสินค้า สามารถทนความร้อน-ความเย็น และน้ำมัน ได้ดี
- สายพานโมดูล่า มีความแข็งแรงสูง ทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อการเสียดสี ทนต่ออุณหภูมิที่ไม่ปกติได้ตั้งแต่ -60 ถึง +180 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ ใช้ลำเลียงอาหาร หรือวัตถุอื่น ๆ ตามความเหมาะสม จุดเด่น คือ สามารถวิ่งในแนวโค้งได้ โดยใช้สายพานแค่เส้นเดียว
อ่านบทความ: “สายพานลำเลียง” คืออะไร ประเภทและการใช้งานเป็นอย่างไร?
เครนยกของ หรือบรรทุกสินค้า
เครื่องจักรกลที่ใช้ยกสิ่งของหนัก ขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ แล้วเคลื่อนที่ไปมาโดยรอบ หรือตามทิศทางที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปในอุตสาหกรรม จะใช้รูปแบบของเครน เป็นตัวแบ่งประเภทของเครนตามลักษณะของเครนที่รับน้ำหนัก ดังนี้
เครนชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Cranes) ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง เช่น
- รถเครนล้อยาง
- รถเครนตีนตะขาบ
- รถเครน 4 ล้อ
- เครนติดรถบรรทุก
เครนชนิดอยู่กับที่ (Stationary Cranes) ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน เช่น
- เครนหอสูง หรือปั้นจั่นหอสูง
- เครนราง
- เครนติดผนัง
อ่านบทความ: ประเภทของ “เครน” เลือกใช้งานให้เหมาะสม!
ชั้นวางสินค้าต่าง ๆ
ไอเทมที่ขาดไม่ได้ในคลังสินค้า ช่วยประหยัดพื้นที่ภายในคลังสินค้า และที่สำคัญชั้นเก็บของ ชั้นวางสินค้านั้น ควรทำมาจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ ผลิตแบบได้มาตรฐาน รองรับน้ำหนักของสินค้า และพัสดุจำนวนมาก แบ่งได้หลายประเภท ดังนี้
ชั้นวางสินค้าขนาดเล็ก-กลาง แบ่งได้ตามการใช้งานได้ 3 แบบ คือ
- ชั้นวาง Micro Rack เหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าทั่วไปที่มีขนาดเล็กถึงกลาง โครงสร้างแบบ Knock-Down ประกอบง่าย ไม่ใช้น็อต ง่ายต่อการติดตั้ง เคลื่อนย้าย ปรับระดับชั้นวางให้สูง-ต่ำ ให้เหมาะสมกับขนาดสินค้าได้
- ชั้นวาง Medium Shelving นิยมใช้วางโชว์ขายสินค้า จัดเก็บสินค้าทั่วไป และสต็อกสินค้าในโรงงาน โกดัง คลังสินค้าต่าง ๆ
- ชั้นวาง Multi-Tier Shelving เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่แนวสูง มีการเชื่อมโยงตะแกรงโดยรอบและระหว่างชั้น มีราวกันตก ชานชาลา และบันไดสำหรับขึ้นลง
ชั้นวางสินค้าขนาดใหญ่ แบ่งได้ตามการใช้งานได้ 7 แบบ คือ
- ชั้นวาง Selective Rack นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงานและคลังสินค้าขนาดใหญ่ โครงสร้างแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ปรับระยะห่างระหว่างชั้นได้
- ชั้นวาง Mobile Rack เป็นชั้นวางสินค้าแบบ Pallet Rack ชั้นวางตั้งอยู่บนฐานทั้งชุด ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนให้ชั้นวางเลื่อนไปมาบนราง รองรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 500- 1,000 กก.นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสารเคมี อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สี ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า อุตสหกรรมห้องเก็บความเย็น
- ชั้นวาง Cantilever Rack ออกแบบมาเพื่อจัดเก็บสินค้าที่มีลักษณะเรียวยาว ท่อน หรือมีลักษณะเป็นวงแหวน
- ชั้นวาง Drive-In / Drive Through Rack มีลักษณะคล้ายอุโมงค์ ออกแบบให้วางสินค้าในแนวลึก เหมาะสำหรับ จัดเก็บสินค้าชนิดเดียวกัน แต่มีปริมาณมาก
- ชั้นวาง FIFO Flow Rack เป็นชั้นวางที่มีลูกกลิ้งอยู่ใต้พาเลท เหมาะสำหรับจัดเก็บสินค้าที่มีอายุในการเก็บรักษา หรือสินค้าที่ต้องมีการหมุนเวียน
- ชั้นวาง Push Back Rack เป็นชั้นวางขนาดใหญ่และมีช่วงลึก สามารถเก็บสินค้าได้เป็นจำนวนมาก สินค้าที่มาใหม่จะถูกจัดเก็บไว้ด้านหน้า สินค้าที่จัดเก็บก่อนจะถูกดันไปด้านหลัง เหมาะกับสินค้าที่ไม่มีปัญหาการตกรุ่น หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ
- ชั้นวาง Mezzanine Floor Rack เป็นชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โครงสร้างแบบ Knock-Down สามารถต่อเติม รื้อถอนได้สะดวก มีบันไดขึ้น-ลง ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับพื้นที่เดิมที่มีอยู่ โดยไม่ต้องต่อเติมอาคาร เหมาะสำหรับ โกดัง คลังสินค้า ที่มีพื้นที่จำกัด
อ่านบทความ: ประเภทของ “Rack วางสินค้า” ในโกดัง คลังสินค้า มีอะไรบ้าง?
พาเลทวางสินค้า
คือ อุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องสินค้า และพัสดุจากน้ำ หรือความชื้นที่อยู่บนพื้นภายในคลังสินค้า มักใช้คู่กับรถยกแฮนด์พาเลท รถโฟคลิฟท์ ช่วยให้เคลื่อนย้ายสินค้าลงจากรถขนส่งได้ง่ายกว่าการยกพัสดุขึ้นจากพื้นอีกด้วย
สามารถแบ่งประเภท พาเลท ได้ดังนี้
- พาเลทพลาสติก ใช้วางสินค้า จัดระเบียบสินค้า และขนส่งสินค้าที่น้ำหนักไม่มากจนเกินไป
- พาเลทไม้ นิยมนำมาใช้งานมากที่สุด เพราะหาได้ง่าย ทนทาน สามารถรับน้ำหนักของได้เยอะ
- พาเลทโฟม ใช้สำหรับรอง หรือคั่นระหว่างสินค้าแต่ละชั้น
- พาเลทกระดาษ ใช้ในการรองรับสินค้าไม่ให้สัมผัสกับสินค้าโดยตรง ใช้งานสำหรับครั้งเดียว
- พาเลทเหล็ก ใช้สำหรับวางสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ๆ ไม่เหมาะสำหรับใช้ในการขนส่ง
อ่านบทความ: ไม้พาเลท คืออะไร? ประโยชน์ที่มากกว่าการใช้เป็นลัง
รถยกแฮนด์พาเลท
เป็นอุปกรณ์เพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายพัสดุ เหมาะสำหรับใช้ในการขนส่งสินค้า หรือเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง มีการควบคุมโดยใช้แรงคน และระบบไฟฟ้า มักจะใช้ในโกดัง คลังสินค้า หรือโรงงาน ที่ต้องขนย้ายสินค้าหลาย ๆ ชิ้นที่มีน้ำหนักมาก แต่ไม่เหมาะกับสินค้าที่ใหญ่เกินกว่าที่รถยกแฮนด์พาเลท จะรับน้ำหนักได้
ประเภทรถยกแฮนด์พาเลทมีหลากหลายแบบมาก ๆ ยกตัวอย่าง และแบ่งได้ตามการใช้งาน ดังนี้
- รถลากพาเลท แบบแมนนวล ใช้แรงคนในการโยกปั๊ม ทั้งการเคลื่อนย้าย เดินหน้า-ถอยหลัง รับน้ำหนักได้มาก ราคาที่ถูก สามารถใช้งานได้กับพาเลทแบบมาตรฐานทั่วไป ใช้ได้กับพื้นหลากหลายรูปแบบ
- รถลากพาเลท แบบยกม้วนโรล ใช้ในการขนย้ายสินค้าที่เป็นม้วนกระดาษ ม้วนพลาสติก ม้วนพรม และอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นม้วนกลม
- รถลากพาเลท สแตนเลส เคลือบกัลวาไนซ์ ป้องกันสนิม เหมาะกับการใช้งานในที่เปียกชื้น ในห้องเย็น
- รถลากพาเลท ติดตาชั่ง ออกเเบบพิเศษ และติดตั้งเครื่องชั่งน้ำหนักลงไปกับตัวรถ เพื่อใช้งานกับสินค้าที่ต้องคำนวณน้ำหนัก
- รถลากพาเลท แบบยกสูง ออกแบบให้เป็นทั้งรถลาก และรถยกสูงในตัวเดียว สามารถทำได้ทั้งเคลื่อนย้ายของ และยกของขึ้นที่สูง
บันได
สำหรับคลังสินค้า ควรเลือกใช้บันไดที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม และมีมอก. บันไดต้องแข็งแรงทนทาน มีน้ำหนักเบา สำหรับยกไปใช้งานได้สะดวก
ขาบันไดควรมียางรองกันลื่น เพื่อการทำงานที่ปลอดภัย และควรเลือกความสูงของบันไดให้สอดคล้องกับชั้นวางของในคลังสินค้าของเรา เพื่อพนักงานจะได้ทำงานอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ แบ่งตามการใช้งาน ดังนี้
- บันไดทรง A ใช้งานได้หลากหลายมากในอุตสาหกรรม
- บันไดยืด มีอยู่ ด้วยกัน 2 ข้อ คือ ฐานบันได ที่ต้องใช้ในการวางบนพื้น และปลายบันได ต้องมีตัวพิง มีเชือกรัด หรือตะขอเกี่ยว เพื่อฟ้องกันการเคลื่อน
- บันไดที่มีชั้นวางของ มีทางขึ้นได้ทางเดียว แต่ชั้นบนสุด จะมีชั้นให้วางมือต่าง ๆ
- บันได 4 ท่อน หรือบันไดยืดหดได้ ใช้งานได้หลากหลาย
อ่านบทความ: “บันได” อะลูมิเนียมที่เราใช้งาน มีกี่ประเภทกันนะ?
พัดลมอุตสาหกรรม
เป็นพัดลมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าพัดลมธรรมดาที่ใช้ตามบ้าน มีใบพัดที่ใหญ่ แข็งแรง มอเตอร์พลังสูง ช่วยระบายอากาศ ลดความชื้น และให้ลมเย็นในพื้นที่โกดัง โรงงาน และคลังสินค้าได้ดี ช่วยลดความอบอ้าว และให้กระแสลมเย็น เพื่อการทำงานของพนักงาน ทำงานได้สบายมากยิ่งด้วย
ซึ่ง พัดลมอุตสาหกรรมนั้น แบ่งได้ 3 แบบ ดังนี้
- พัดลมอุตสาหกรรมทั่วไป นิยมนำไปใช้ในโรงงาน โรงอาหาร โกดัง พื้นที่กว้าง ๆ
- พัดลมท่อดูดอากาศ ลักษณะเป็นถังกลม ใช้ระบายอากาศ ถ่ายเทความร้อน กลิ่นควัน ดูดอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม
- พัดลมระบายอากาศ นิยมติดตั้งในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง หรือเป็นห้องที่ปิดมิด สามารถช่วยลดความร้อนได้
เครื่องชั่งน้ำหนัก
สำหรับชั่งน้ำหนักของสินค้า และพัสดุ เป็นอีกอุปกรณ์สำหรับขั้นตอนการจัดเก็บพัสดุในชั้นวาง รวมไปถึงการขนส่ง ใช้วัดน้ำหนักของพัสดุ ช่วยให้พนักงานสามารถจัดเก็บพัสดุขึ้นชั้นวางได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุจากการรับน้ำหนักเกินจนชั้นวางถล่มลงมานั่นเอง
โดยเครื่องชั่งน้ำหนักในปัจจุบันนั้น มีหลากหลายประเภท หลากหลายแบบตามการใช้งาน อย่าลืมศึกษาหาข้อมูล แล้วเลือกมาใช้งานให้ถูกประเภทด้วย
ถังดับเพลิง
อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยพื้นฐาน ที่ควรมีอยู่ทุกที่ สำหรับคลังสินค้า โกดังต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือเกิดพลิงไหม้เล็ก ๆ สามารถใช้งานได้ทันที แนะนำให้ใช้เป็นถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ที่สามารถดับเพลิงไหม้ได้หลายชนิด
โดยถังดับเพลิง แบ่งได้ดังนี้
- ถังชนิดผงเคมีแห้ง ถังสีแดงที่เห็นได้ทั่วไป สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A, B, C ยกเว้น K มีราคาไม่แพง หาซื้อง่าย
- ถังชนิดผงเคมีสูตรน้ำ (Halotron) ถังสีเขียว สามารถดับไฟได้ทุกประเภท A, B, C มีราคาสูง เหมาะกับการใช้งานในห้องที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ถังชนิดที่บรรจุสารฮาโลตรอน ถังสีฟ้า ใช้ดับไฟได้ดี ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า สามารถดับไฟได้ทุกประเภท A, B, C หรือ K ราคาจะสูงกว่าถังชนิดผงเคมีแห้ง เหมาะกับใช้งานในบ้าน
- ถังชนิดบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ สามารถดับไฟประเภท B, C ได้ เหมาะกับห้องที่มีเครื่องจักรกลต่าง ๆ
- ถังชนิดบรรจุโฟม ถังสีเงิน สามารถดับไฟประเภท A, B แต่ไม่สามารถดับไฟประเภท C ได้ เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ใช้ดับเชื้อเพลิงพวกทินเนอร์ และสารละเหยติดไฟ
อ่านบทความ: ถังดับเพลิง อุปกรณ์ฉุกเฉิน เลือกแบบไหนดี?
กล้องวงจรปิด
อีกหนึ่ง อุปกรณ์ที่ใช้ในคลังสินค้า โกดัง นอกจากจะช่วยระวังมิจฉาชีพแล้ว ยังช่วยให้บริหารจัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยตรวจดูความเรียบร้อยของพนักงานขณะปฏิบัติ ดูแลความปลอดภัย ตรวจดูอุบัติเหตุ ป้องกันเรื่องทุจริต หรือการลักขโมยภายในคลังสินค้าได้อีกด้วย
โดยกล้องวงจรปิด มีด้วยกันหลายประเภท ควรเลือกให้เหมาะกับการนำไปใช้งานด้วย คือ
- กล้องวงจรปิด แบบมาตรฐาน คือ สามารถติดตั้งได้ในทุก ๆ สถานที่ เพื่อป้องกันเหตุร้าย และตรวจสอบดูเหตุการณ์
- กล้องวงจรปิดแบบโดม นิยมในการนำมาติดตั้งภายในอาคาร สำนักงาน ภายในลิฟต์ หรือภายในโรงแรม เป็นต้น
- กล้องวงจรปิดอินฟาเรด ออกแบบมาให้ใช้งานในเวลากลางคืน ผ่านหลอด LED อินฟาเรด เวลากลางวัน จะแสดงภาพเป็นสีปกติ ส่วนเวลากลางคืน จะแสดงเป็นภาพขาวดำอัตโนมัติ เหมาะกับสถานที่ที่มืดสนิทในเวลากลางคืน เช่น โกดังเก็บของ ในห้องทึบ เป็นต้น
- กล้องวงจรปิดแบบ Bullet สามารถใช้ได้ในที่ร่ม และภายนอกอาคาร มักจะพบเห็นตามอาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว
- กล้องวงจรปิดแบบซูมและหมุนได้ นิยมนำมาติดตั้งภายในบ้าน หรือคอนโด เนื่องจากสามารถซูม และหมุนได้รอบทิศทาง ผ่านทางคันบังคับ หรือควบคุมผ่านอินเตอร์เน็ต
- กล้องวงจรปิดแบบแอบซ่อน มักติดตั้งในสถานที่ ๆ ต้องการความปลอดภัย แต่ไม่อยากให้ใครเห็นกล้อง
อ่านบทความ: ติดตั้งกล้องวงจรปิด ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไรบ้าง?
ความสำคัญของ อุปกรณ์ในคลังสินค้า
เรียกได้ว่า เป็นอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในคลังสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการคลังสินค้าราบรื่น และมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของอุปกรณ์ในคลังสินค้า มีดังนี้
- เป็นเครื่องทุ่นแรง ให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานในคลังสินค้า
- ช่วยให้การบริหารจัดการคลังสินค้า มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ช่วยให้การทำงานในคลังสินค้า สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ช่วยลดการใช้คน ช่วยประหยัดต้นทุนในการจ้างแรงงาน
- ช่วยทำให้ธุรกิจมีภาพลักษณ์ที่ดี
จบไปแล้ว อุปกรณ์คลังสินค้า ที่ควรมี ซึ่งบอกเลยว่า มีหลากหลายมาก ๆ อาจจะมีมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม เลือกไปใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทงานด้วย เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของทุก ๆ ฝ่ายด้วย บทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ น่าสนใจมาฝากอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รวมเทคนิคจัดระเบียบ “คลังสินค้า” ให้มีประสิทธิภาพทำได้ไม่ยาก
- รู้จักกับ คลังสินค้ามีกี่ประเภท แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้อย่างไรบ้าง?
- คลังสินค้าออนไลน์ คือ ? ช่วยให้ขายของออนไลน์ง่ายขึ้นอย่างไร
- 5ส ในโรงงาน มีอะไรบ้าง ปรับใช้ในโกดังสินค้า โรงงาน อย่างไร
- ประเภทของ เครื่องจักรอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th